ศรัทธาสายมู

เดือนกันยายนมงคล 2 วันบูชา พระพิฆเนศ วันสันคสติจตุรถี และ คเณศจตุรถี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สายมูไม่ควรพลาด 2 วันสำคัญ ในการสักการบูชา พระพิฆเนศ วันสันคสติจตุรถี วันบูชาข้างแรม และ คเณศจตุรถี วันเกิดมหาเทพ


เดือนกันยายนนี้ ถือเป็นวันดี ฤกษ์ดีมีความมงคล เกี่ยวกับการสักการะบูชา องค์พระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ อุปสรรค และ เจ้าแห่งภูตผี ในบางคติความเชื่อ วันนี้ 3 ก.ย. เป็นวันบูชาประจำเดือนดิถีแรม 4 ค่ำ หรือ จตุรถีข้างแรม เรียกว่า วันสันคสติจตุรถี และในวันที่ 19 ก.ย. ที่จะถึงนั้น เป็นวันเกิดของพระองค์ ที่เรียกว่า วันคเณศจตุรถี

พระพิฆเนศ

สำหรับ เทศกาลคเณศจตุรถี เป็นเทศกาลประจำปีเพื่อสักการะบูชาพระพิฆเนศที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งเทศกาลจะมีระยะเวลา 10-11 วันโดยวันเริ่มงานเทศกาลคเณศจตุรถีวันแรกจะตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำ และสิ้นสุดในวันอนันตะจตุรทศีจะตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือนภัทรปท

โดยเดือนภัทรปทจะตรงกับเดือนไทย ระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ซึ่งแต่ละปีไม่ตรงกัน ขึ้นกับปฏิทินจันทรคติในแต่ละรอบปีปฏิทิน  ไม่ควรใช้คำว่าตรงกับ “เดือน 9  และ เดือน 10”  หากใช้คำว่า “และ” ในการเชื่อมคำดังกล่าว ความหมายจะกลายเป็น มีเทศกาลคเณศจตุรถี ถึง 2 ครั้ง

ในปี พ.ศ.2566 นี้ วันแรกเริ่มเทศกาลคเณศจตุรถี หรือวันขึ้น 4 ค่ำในเดือนภัทรปท ตามปฏิทินไทย จะตรงกับวันอังคารที่ 19  กันยายน 2566 และวันสิ้นสุดของงานเทศกาลคเณศจตุรถี จะเกิดขึ้นในวันอนันตะจตุรทศี หรือวันขึ้น 14 ค่ำ เดือนภัทรปท ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2566

พระพิฆเนศ

คเณศจตุรถีนั้น  ในบางตำรา จะกล่าวว่าเป็น “วันเกิด” ของพระคเณศ (ซึ่งมีหลายคัมภีร์ หลายตำรา และไม่ตรงกันเลย)  แต่ผู้เขียนนั้น จะอิงกับ “วันคเณศชยันตี” ที่ถูกระบุว่าเป็นวันเกิดของพระคเณศ “วันศุกลปักษ์ (ข้างขึ้น) สี่ค่ำ เดือนมาฆะ”  เสียมากกว่า เพราะอ้างอิงจาก ชาวฮินดูในรัฐมหาราษฏระ ซึ่งถือว่าเป็นรัฐที่บูชาพระคเณศเป็นใหญ่ และบูชาอย่างเคร่งครัด

พระพิฆเนศ

โดยในเทศกาลคเณศจตรุถีนั้น ถือเป็นการเฉลิมฉลองอันยิ่งใหญ่ขององค์พระคเณศ หรือที่เรียกว่า “คเณศ มโหตฺสว (गणेश महोत्सव – Ganesha Mahotsava)”    โดย  “มห (मह) หมายถึง ยิ่งใหญ่ คำว่า “อุตฺสว (उत्सव)” หมายถึง เทศกาล, การเฉลิมฉลอง  “คเณศ มโหตฺสว” ก็จะหมายถึง เทศกาลการเฉลิมฉลองอันยิ่งใหญ่

โดยเชื่อว่าในช่วงเทศกาลคเณศจตุรถีนี้ เราจะได้ใกล้ชิดกับองค์พระคเณศมากที่สุด เพราะถือว่าเป็นช่วงที่พระองค์นั้น เสด็จลงมายังโลกมนุษย์ในช่วงเวลานี้    ผู้ที่ศรัทธาในพระองค์นั้น จะทำการต้อนรับพระองค์ และทำการบูชาในช่วงเทศกาล คเณศจตุรถี  โดยจะปั้นองค์พระคเณศท่านขึ้นมาจากดิน (ปัจจุบันส่วนมากหันมาใช้องค์ดินปั้นสำเร็จแทนเพราะสวยงาม)  และจะทำการบูชาองค์พระคเณศ ในช่วงเทศกาล ในแต่ละวัน มีการสวดมนต์ ทำพิธี ถวายสิ่งของต่างๆ ทั้งผลไม้ ขนมหวาน ซึ่งขาดไม่ได้เลยคือลาดู และโมทกะ  หญ้าแพรก ดอกชบา รวมถึงใบไม้มงคลหลากหลายชนิด  เมื่อสิ้นสุดการบูชาแล้ว จะทำการส่งเสด็จพระองค์กลับสู่สวรรค์ ด้วยการนำเทวรูปที่ทำการบูชาไปลอยน้ำ โดยจะเรียกพิธีส่งเสด็จนี้ว่า  “คเณศ วิสรฺชน (गणेश विसर्जन – Ganesh Visarjan)”

พระพิฆเนศ

การทำบูชาพระคเณศในเทศกาลคเณศจตุรถี และการส่งเสด็จในพิธี คเณศวิสารชัน นั้น  จะทำกันโดยแบ่ง ได้ ดังต่อไปนี้ 
การทำบูชาแบบเต็มรูปแบบ คือตั้งแต่ต้นจนจบ อย่างปี 2566 นี้ คือ เริ่ม อังคารที่ 19 กันยายน และทำวิสารชันส่งเสด็จในวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 

การทำบูชาแบบเล็กๆ ตามความสะดวก โดยจะเลือกเป็น
การทำบูชาแบบ 1 วัน และทำวิสารชันส่งเสด็จเลย
การทำบูชาแบบ 1 วันครึ่ง  และทำวิสารชันส่งเสด็จเลย
การทำบูชาแบบ 3 วัน และทำวิสารชันส่งเสด็จ
การทำบูชาแบบ 5 วัน และทำวิสารชันส่งเสด็จ
การทำบูชาแบบ 7 วัน และทำวิสารชันส่งเสด็จ

พระพิฆเนศ

ขั้นตอนการวิสารชัน  นั้น คือการนำเทวรูปที่เป็นดินปั้น ที่เราทำบูชาตั้งแต่วันแรกของเทศกาล  (พลังของพระคเณศสถิตอยู่) เมื่อหมดเทศกาลจึงทำการส่งเสด็จวิสารชัน (ส่งพลังของพระองค์กลับ)  

พระพิฆเนศ

สำหรับผู้ที่ไม่ได้ ใช้เทวรูปที่ทำจากดินปั้น คือ ใช้องค์ที่เราบูชาอยู่เป็นประจำทุกๆวัน แล้วนำมาประกอบพิธีคเณศจตุรถี  ไม่ต้องนำเทวรูปนั้น เข้าพิธีวิสารชัน  เพราะนั่น คือการส่งเสด็จท่านกลับ  เทวรูปที่เข้าสู่พิธีวิสารชันนี้ ถ้าตามความเชื่อแล้วคือ คืนพลังองค์พระองค์กลับสู่พระองค์ไปแล้ว  จะไม่นำกลับมาบูชาอีก ดังนั้น ไม่นำเทวรูปที่เราบูชาอยู่ทุกวัน เข้าสู่พิธีวิสารชัน     ถ้าเรานำเทวรูปที่บูชาอยู่ทุกวัน มาทำการบูชาในช่วงคเณศจตุรถี  หลังเสร็จพิธี แค่เชิญเทวรูปกลับขึ้นหิ้งบูชาต่อ นั้นคือจบพิธี 

พระพิฆเนศ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ