โควิด-19

"โอไมครอน" BA.4/BA.5  กรมวิทย์ฯ ยืนยัน รุนแรงที่สุด แพร่เร็ว ทำติดเชื้อซ้ำสูง

"โอไมครอน" BA.4/BA.5 กรมวิทย์ฯ ยืนยัน รุนแรงที่สุด แพร่เร็ว ทำติดเชื้อซ้ำสูง

11 ก.ค. 2565

"โอไมครอน" BA.4/BA.5 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยข้อมูลพบก่อโรครุนแรงมากกว่าสายพันธุ์อื่น แพร่เร็ว คนเคยติดเชื้อมาแล้วยังมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้สูง

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุถึงสถานการณ์การเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 ในประเทศไทย ว่า ในช่วง4 สัปดาห์ผ่านมา "โอไมครอน"  สายพันธุ์ BA.4 และ สายพันธุ์ BA.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยพบในเขตกรุงเทพมหานครมากที่สุด โดยสูงกว่าในส่วนภูมิภาคที่ พบการระบาด ร้อยละ30 โดยสายพันธุ์ดังกล่าวเริ่มครองพื้นที่การระบาดเพิ่มขึ้น  ส่วนความรุนแรงของสายพันธุ์  "โอไมครอน"  สายพันธุ์ BA.4 และ สายพันธุ์ BA.5 พบว่า ในกทม.คนที่ป่วยไม่รุนแรง จะพบสัดส่วน BA.4 / BA.5 ร้อยละ 72   ส่วนกลุ่มผู้ป่วย ที่รุนแรงที่มีภาวะปอดอักเสบ และใส่ท่อช่วยหายใจ หรือเสียชีวิต ในจำนวนนี้มี 13 ราย พบ  BA.4/BA.5 ร้อยละ 77  
ส่วนจำนวนผู้ป่วยอาการรุนแรง ใน ภูมิภาคที่ได้มีการส่งตรวจเข้ามายังส่วนกลาง จำนวน 45 ราย   พบมีอาการรุนแรงมากกว่าคนที่ไม่มีอาการ

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า การระบาดของ "โอไมครอน"  ส่งผลให้ภาพรวมการระบาดของโควิดในประเทศ สายพันธุ์ BA.4 และ สายพันธุ์ BA.5 น่าจะมีความรุนแรงมากกว่า สายพันธุ์ก่อนหน้านี้ แต่ความรุนแรงที่มากกว่านั้นอาจจะไม่มากไปกว่าเดิมเท่าไหร่ โดยช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการส่งตรวจสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ประมาณ 500 กว่าตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 
1. กลุ่มผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย 37 ราย พบ BA.2  จำนวน 8 ราย และพบ BA.4 /BA.5  29 ราย  
2.กลุ่มอื่นๆภายในประเทศ 533 ราย  พบ BA.2  จำนวน  275 ราย // BA.4 /BA.5  จำนวน 251 ราย 

ขณะที่ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ในส่วนของความรุนแรงของ "โอมิครอน" สายพันธุ์ BA.4 และ สายพันธุ์ BA.5 ยังมีไม่มากพอ แต่ข้อมูลอีกด้านหลายที่ ในหลายประเทศยืนยันตรงกันว่าสายพันธุ BA.4/BA.5  แพร่เร็วกว่า สอดคล้องกับข้อมูลธ ระบาดวิทยาในประเทศอังกฤษ ซึ่งระบุว่า สายพันธุ์BA.4/BA.5  แพร่เร็วกว่า และพบการหลบภูมิได้ดี ด้านข้อมูลในประเทศญี่ปุ่น พบว่า หากติดเชื้อBA.2 แล้วพึ่งหาย สามารถติดเชื้อซ้ำได้อีกสายพันธุในระยะเวลาอันสั้น  ทั้งนี้โดยการฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้น ยังคงมีความจำเป็นต่อการแพร่ระบาดในขณะนี้   ซึ่งสัปดาห์หน้า จะมีการนำข้อมูลการตรวจหาภูมิคุ้มกันหลังรับวัคซีนโควิด-19 ในการสู้กับสายพันธุ์ BA.4/BA.5 โดยจะมาชี้แจงรายละเอียดต่อไป.