Lifestyle

'วันแม่' ชวนชม 'ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์' ด้วยตาเปล่า 100 ดวง/ชม. เช็กเวลาชม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'เดือนสิงหาคม2566' เช็กปรากฎการณ์ ท้องฟ้า ชม 'ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์' หรือ ฝนดาวตกวันแม่ ใน วันแม่แห่งชาติ 100 ดวงต่อชั่วโมง

NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เชิญชม ปรากฎการณ์เหนือท้องฟ้า “เดือนสิงหาคม 2566” ตลอดทั้งเดือน โดยเฉพาะ “วันแม่แห่งชาติ” คนไทยจะได้มีโอกาสชม “ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์” หรือที่เรียกกันว่า ฝนดาวตกวันแม่ ได้ด้วยตาเปล่า

 

 

 

 

 

นอกจากนั้น ท้องฟ้า “เดือน ส.ค. 2566” ยังมีปรากฎการณ์ที่น่าสนใจเกิดขึ้นอีกหลายอย่าง มีอะไรน่าสนใจบ้างไปดูกัน

 

              ปรากฎการณ์ท้องฟ้า เดือนสิงหาคม 2566

วันที่ 12 ส.ค. 2566

 

 

ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ (ฝนดาวตกวันแม่) คืนวันที่ 12 ส.ค. – เช้า 13 ส.ค. 2566 หรือ วันแม่แห่งชาติ จะได้ชม “ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์” หรือ ฝนดาวตกวันแม่ ศูนย์กลางการกระจายตัวอยู่ในกลุ่มดาวเพอร์เซอิดส์ อัตราการตกสูงสุด 100 ดวงต่อชั่วโมง สังเกตการณ์ได้ทั่วท้องฟ้า เวลาประมาณ 23.00 น. วันที่ 12 ส.ค. จนถึงเช้าวันที่ 13 ส.ค. 2566

 

 

 

 

 

“ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์” (Perseids Meteor Shower) ซึ่งมักรู้จักกันในชื่อ ฝนดาวตกวันแม่ เป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างเป็นอันดับสอง รองจาก “ฝนดาวตกลีโอนิดส์” สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงระหว่างวันที่ 17 ก.ค. - 24 ส.ค.ของทุกปี มีสีสันสวยงาม เกิดจากเศษฝุ่นละอองที่ดาวหางสวิฟท์-ทัตเทิล (109P/Swift-Tuttle) เหลือทิ้งไว้ในวงโคจร เมื่อโลกโคจรตัดผ่านเข้าไปในบริเวณที่มีเศษฝุ่นดังกล่าว จะดึงดูดเศษฝุ่นเหล่านี้เข้ามาในชั้นบรรยากาศ เกิดการลุกไหม้เป็นแสงสว่างวาบบนท้องฟ้า 

 

               ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์

วันที่ 16 ส.ค. 2566

 

 

 

ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ ครั้งที่ 2 เวลา 12.22 น. ขณะเกิดดวงอาทิตย์ตั้งฉาก เงาจะตกอยู่ใต้วัตถุพอดี ไม่เฉียงไปด้านใดด้านหนึ่ง โดยดวงอาทิตย์ตั้งฉากครั้งแรกของปี 2566 เมื่อวันที่ 27 เม.ย.

 

              ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพมหานคร

 

 

27 ส.ค. 2566

 

 

ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี ดาวเสาร์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ส่งผลให้ดาวเสาร์อยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี

 

 

 

ดาวเสาร์ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวเสาร์สว่างจะปรากฎทางทิศตะวันออก สังเกตได้ด้วยตาเปล่ายาวนานตลอดคืน จนถึงรุ่งเช้า หากดูดาวเสาร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ เส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 4 นิ้ว หรือมีกำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไป จะเห็นวงแหวนหลักของดาวเสาร์ และช่องว่างแคสสินี

 

               ดาวเสาร์ใกล้โลก

 

30 ส.ค. 2566

 

 

Super Blue Moon เริ่มตั้งแต่คืนวันที่ 30 ส.ค. ถึง เช้า 31 ส.ค. 2566  ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี และเต็มดวงครั้งที่สองของเดือน

 

              ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกมากที่สุด

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ