ไลฟ์สไตล์

'Gaslighting' พฤติกรรมสุดเนียนปั่นหัวเหยื่อให้สงสัย คลางแคลงใจในตัวเอง

'Gaslighting' พฤติกรรมสุดเนียนปั่นหัวเหยื่อให้สงสัย คลางแคลงใจในตัวเอง

06 ธ.ค. 2566

รู้จักภาวะ 'Gaslighting' พฤติกรรมสุดเนียนใช้ปั่นหัวเหยื่อให้สงสัย คลางแคลงใจในตัวเอง เช็กสัญญาณแบบไหนที่เรากำลังตกอยู่ในภาวะถูกควบคุมทางจิตใจ

ภาวะ Gaslighting เป็นภาวะที่ถูกพูดถึงมากยิ่งขึ้นในช่วงนี้ เพราะหลังจากที่มีคนออกมาแชร์เรื่องราว ไอดอลนักวิทยาศาสตร์  ว่ามีพฤติกรรมการ "Gaslighting" คนอื่นๆในทีม จนส่งผลต่อภาวะจิตใจ ร่างกาย ทำให้ลดทอนความสามารถในการทำงาน เรื่องราวดังกล่าวกลายเป็นเรื่องที่มีคนพูดถึงอย่างมากเพราะ พฤติกรรม "Gaslighting" นับว่าพฤติกรรมการกระทำ ที่ส่งผลต่อคนรอบข้างและเป็นอาการทางจิตอีกหนึ่งประเภทเช่นกัน  

สำหรับ ภาวะ Gaslighting ถูกนำเสนอในภายนต์เรื่อง Gaslight ในปี ค.ศ. 1944  ที่สามีใช้พฤติกรรม "Gaslighting" ควบคุมจิตใจขงภรรยาโดยการหลอกให้เชื่อใจเพื่อหวังจะครอบครองสมบัติของภรรยา โดยวิธีการดังกล่าวเป็นการหลอกให้เชื่อว่าภรรยามีภาวะทางจิต และหลอกให้สงสัยในความคิดของตัวเอง ด้วยการหรี่ไฟในตะเกียงลง และเมื่อภรรยาของเขาถามถึงแสงไฟที่มืดลง และกล่อมว่าทุกอย่างเป็นเพียงสิ่งที่เธอคิดไปเอง การกระทำดังกล่าวจึงกลายเป็นที่มาของคำว่า "Gaslighting" นั้นเอง 

ดังนั้นการ "Gaslighting" จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของการควบคุมทางจิตใจ (psychological manipulation) คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบาย ภาวะ Gaslighting ว่า ความแคลงใจ ความสงสัย และความไม่เชื่อมั่นในตนเองซึ่งพบได้ในทุกรูปแบบความสัมพันธ์ ไม่เพียงแต่เชิงโรแมนติกเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงครอบครัว เพื่อน สังคมการศึกษา และสังคมการทำงาน รวมไปถึง พฤติกรรมการปั่นหัวและการบงการในความสัมพันธ์ ที่ทำให้เหยื่อสงสัยว่าตัวเองเป็นคนผิด เพื่อให้ผู้กระทำสามารถควบคุมเหยื่อได้ 

 

 

  • สังเกตพฤติกรรมกำลังถูก "Gaslighting" หรือไม่จากคคำพูดหรือสัญญาณเหล่านี้ 

-เป็นฝ่ายที่ต้องเอ่ยคำขอโทษตลอดเวลา ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นความผิดของตัวเอง
-เชื่อว่าตนเองไม่สามารถทำสิ่งที่ถูกได้ ทำอะไรก็ผิดเสมอ
-รู้สึกวิตกกังวลตลอดเวลา หวาดกลัวว่าจะทำผิดหรือไม่ถูกใจใคร
-สูญเสียความมั่นใจในตนเอง
-สูญเสียความเป็นตัวตน
-ตั้งคำถามเกี่ยวกับความคิดและการตัดสินใจงตลอดเวลา และไม่กล้าที่จะตัดสินใจ
-รู้สึกโดดเดี่ยวและไร้กำลัง รู้สึกว่าตนไม่เหมือนใคร แตกต่างและแปลกแยก
-ผิดหวังในตนเอง และกลัวผู้อื่นจะผิดหวั
-ผิดหวังในตัวเอง
-บอกว่าตัวเราคิดมากไปเองเมื่อคุณแสดงความต้องการ หรือ สงสัยกังวลเรื่องใด 
-ใช้คำพูดสวยหรูในการทำให้เชื่อว่าหวังดีกับเรา

 

 

ที่มา: https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/gaslighting
https://www.agnoshealth.com/articles/gaslighting