Lifestyle

เช็ก 5 สัญญาณ โรคหลงตัวเอง คนแบบนี้เป็นคนมั่นใจ หรือเขากำลังหลงตัวเองอยู่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เช็กอาการ โรคหลงตัวเอง คุณกำลังเผชิญกับสิ่งนี้อยู่หรือไม่ พร้อมแบบทดสอบ สาเหตุ ว่าคุณเป็นคนมั่นใจ หรืออยากให้ตัวเองเป็นศูนย์กลาง

"อย่ามาวิจารณ์ฉันนะ!! เพราะฉันนี่แหล่ะเป็นคนที่ถูกต้อง งามเลิสที่สุดในปฐพีนี้แล้ว" ประโยคนี้อาจทำให้คุณมองเห็นภาพของ นาซิซิส (Narcissist) หรือ คนที่มีบุคลิกภาพแบบ หลงตัวเอง คนที่จะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางในทุกเรื่องจนบางครั้งก็ทำให้คนที่อยู่รอบข้างเกิดความรู้สึกผิดขึ้นมาได้ ทั้งที่ตัวเองไม่ได้ทำอะไรผิด หากคุณอยู่ข้างใครบางคนแล้วกำลังเกิดคำถามกับตัวเองขึ้นมาว่า "เราทำอะไรผิดหรือเปล่า" ทั้งๆ ที่คุณไม่ได้ทำอะไรเลย คุณอาจกำลังอยู่ข้างคนที่ หลงตัวเอง หรืออาจเป็น "โรคหลงตัวเอง" อยู่ก็ได้ 

 

คำว่า นาซิซิส ที่ใช้เรียกแทนคนที่มีบุคลิกภาพหลงตัวเอง มีที่มาจากชื่อของ นาซิสซัส (Narcissus) เป็นในตำนานที่มีสายเลือดมาจาก เทพทั้งฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่ เป็นบุตรของวีนัสเทพีแห่งความงาม กับอพอลโล เทพแห่งการทำนายและการรักษาโรค นาซิสซัสเป็นบุรุษที่มีรูปโฉมงดงามหาใครเทียบเทียม และประจวบกับเทพอพอลโล ที่ถือได้ว่า เป็นเทพที่มีความลุ่มหลงและความมั่นใจในตัวเองสูง ก็ทำให้นาซิสซัสกลายเป็นเทพที่มีนิสัยเช่นนั้นตามไปด้วย นาซิสซัสจึงได้ชื่อว่าเป็นเทพที่มีความงดงามแต่ก็หลงตัวเองเป็นที่สุด เขาไม่สนใจสิ่งอื่นเลยนอกจากตัวเอง

โรคหลงตัวเอง 

 

Narcissistic Personality Disorder หรือ โรคหลงตัวเอง คือ โรคบุคลิกภาพผิดปกติชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีลักษณะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ต้องการการยกยอชื่นชม และขาดความเห็นใจผู้อื่น มักหมกมุ่นอยู่กับการโอ้อวดตัวตนของตัวเอง เช่น ความสำเร็จ รูปร่างหน้าตา หรือฐานะทางการเงิน เชื่อว่าตัวเองนั้นเหนือกว่าผู้อื่น รวมทั้งมักคบค้าสมาคมกับบุคคลที่เห็นว่ามีความพิเศษหรือสำคัญมาก

 

การกระทำดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นและเคารพนับถือตัวเองให้มากขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้มีความนับถือตัวเองต่ำ ไม่สามารถทนการวิพากษ์วิจารณ์ได้ และมักอับอายหรือรู้สึกอ้างว้างเมื่อถูกปฏิเสธหรือได้รับการวิจารณ์ข้อเสียของตัวเอง 
 

โรคหลงตัวเอง อาการ 

 

การวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยโรคหลงตัวเอง หรือไม่นั้น สามารถสังเกตุได้จากสัญญาณหรือพฤติกรรมของโรค 5 ลักษณะ หรือมากกว่านั้น ดังนี้

 

  • ยึดตัวเองเป็นสำคัญ หวังว่าผู้อื่นจะเห็นว่าตัวเองพิเศษหรือเหนือกว่าในด้านต่าง ๆ
  • หมกหมุ่นกับการคิดถึงความสำเร็จ อำนาจ ความร่ำรวย ความงาม หรือความรักในอุดมคติของตัวเอง
  • เชื่อว่าตัวเองเป็นคนพิเศษ และบุคคลที่มีความพิเศษหรือสถานะทางสังคมที่สูงเทียบเท่ากันเท่านั้นถึงจะเข้าใจตน
  • ต้องการความสนใจ การยอมรับ และความชื่นชมจากผู้อื่น
  • คิดว่าสมควรได้รับอภิสิทธิ์ อย่างไม่มีเหตุผล
  • แสวงหาประโยชน์จากผู้อื่น เพื่อให้ตนเองบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
  • ขาดความเห็นใจและนึกถึงผู้อื่น
  • มักริษยาผู้อื่น หรือเชื่อว่าคนรอบข้างอิจฉาตนเอง
  • มีความคิดหรือพฤติกรรมที่เย่อหยิ่ง จองหอง

 

สาเหตุของโรคหลงตัวเอง 

 

สาเหตุของโรคหลงตัวเองยังไม่ปรากฏอย่างชัดเจน เป็นโรคที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่นเดียวกับปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ อาจมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ พันธุกรรม สภาพแวดล้อม และการเลี้ยงดู ซึ่งนำไปสู่ภาวะดังกล่าวเป็นสำคัญ พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกตามใจมากเกินไปหรือละเลยการเอาใจใส่ลูก อาจทำให้เด็กเกิดความคิดและพฤติกรรมที่นำไปสู่โรคหลงตัวเองได้ รวมทั้งอาจเกิดความผิดปกติของสมองที่เกี่ยวเนื่องกับความคิดและพฤติกรรมดังกล่าว

 

โรคหลงตัวเองนับเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้ไม่บ่อยนัก ส่วนใหญ่แล้ว เด็กเล็กและวัยรุ่นอาจแสดงพฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับโรคนี้ แต่ไม่ได้พัฒนากลายเป็นโรคหลงตัวเองเสมอไป เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าวเป็นการแสดงออกตามวัย ทั้งนี้ ผู้ชายมักป่วยเป็นโรคหลงตัวเองมากกว่าผู้หญิง และจะเริ่มเป็นเมื่อเข้าช่วงวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ตอนต้น

 

อ้างอิง 

logoline