ข่าว

ส่ง โภคิน ชิงปธ.กมธ.ศึกษาแก้รธน.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ส่ง "โภคิน" ชิงปธ.กมธ.ศึกษาแก้รธน. พท. เตรียมลงมติเคาะ พรุ่งนี้ "ชลน่าน" ยอมรับข้อเสนอกมธ.ฝ่ายค้าน ไม่สุดโต่ง เพราะต้องหาแนวร่วม พื่อขับเคลื่อนเรื่องแก้รธน.

 

 

                รัฐสภา- 25 พ.ย.2562-ส่ง "โภคิน" ชิงปธ.กมธ.ศึกษาแก้รธน. พท. เตรียมลงมติเคาะ พรุ่งนี้ "ชลน่าน" ยอมรับข้อเสนอกมธ.ฝ่ายค้าน ไม่สุดโต่ง เพราะต้องหาแนวร่วม เพื่อขับเคลื่อนเรื่องแก้รธน.ต่อในรัฐสภา แพลม แก้ประเด็น ใช้เสียงส.ว. หนุนตอนโหวต-ปลดล็อคประชามติ


             

 

 

 

ส่ง โภคิน ชิงปธ.กมธ.ศึกษาแก้รธน.

 

                 นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ฐานะคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) เปิดเผยว่า วิปฝ่ายค้าน เตรียมพิจารณาและมีมติส่งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณาและลงมติในที่ประชุมสภาฯ ช่วงวันที่ 27 - 28 พฤศจิกายน โดยสัดส่วนของพรรคเพื่อไทย คาดว่าาจะได้รับโควต้า 10 คน โดยแบ่งเป็น ส.ส.​ที่มาจากสัดส่วนภาค 7 คนและคนนอก  3 คน ทั้งนี้ในส่วนของคนนอกนั้น เตรียมเสนอนายโภคิน พลกุล แกนนำของพรรคฐานะคณะทำงานด้านกฎหมายของพรรคเข้าร่วม ทั้งนี้คาดว่าอาจจะมีมติส่งชื่อนายโภคิน ให้ชิงตำแหน่งประธานกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางแก้รัฐธรรมนูญด้วย     

 

               "ผมมองว่าาหากประธานกมธ. เป็นคนของฝ่ายค้าน หรือคนที่มีความเป็นกลาง จะทำให้การขับเคลื่อนไปสู่การหาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญสำเร็จได้ เพราะประธานกมธ.ฯ หากมีเจตนาที่จะแก้ไข และเห็นว่ารัฐธรรมนูญมีปัญหาจะเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนการประชุมไปสู่แนวทางที่เป็นทางออกร่วมกัน อย่างไรก็ตามการผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผมมองว่าข้อเสนอของพรรคฝ่ายค้านอาจไม่สุดโต่งจนไม่ฟังเสียงส.ส.พรรครัฐบาลหรือบุคคลภายนอก เพราะหากกมธ.ฯ​ไม่สามารถหาแนวร่วมได้ การลงมติเสียงของฝั่งรัฐบาลคือเสียงข้างมาก และไม่อาจนำผลการศึกษาไปขับเคลื่อนต่อในที่ประชุมรัฐสภาได้" นพ.ชลน่าน กล่าว 

 

 

 

ส่ง โภคิน ชิงปธ.กมธ.ศึกษาแก้รธน.

                นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า สำหรับข้อเสนอของพรรคฝ่ายค้านที่มีเป้าหมายคือการแก้ไขมาตรา 256 โดยให้ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) นั้นอาจมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม โดยส่วนตัวมองว่าอาจมีเป็น 3 แนวทางคือ แก้ไขมาตรา 256 เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญทำได้ง่ายขึ้น เช่น การยกเลิกการใช้เสียงของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จำนวน 1 ใน 3 ที่ต้องลงมติเห็นชอบ หรือเงื่อนไขการทำประชามติ, การแก้ไขในแนวาทางกลางๆ อาทิ แก้ไขมาตราที่เป็นปัญหา และ การแก้ไขมาตรา 256 เพื่อให้ตั้งส.ส.ร. ยกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ทั้งนี้การหารือดังกล่าวต้องให้ที่ประชุมกมธ.ที่จะตั้งขึ้นเป็นผู้พิจารณา แต่ส่วนตัวมองว่าต้องทำให้เกิดเป็นแนวร่วมเพื่อให้ผลการศึกษาขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติในขั้นตอนต่อไปคือการเสนอญัตติต่อรัฐสภา ขณะที่ระยะเวลาที่จะศึกษานั้นตนมองว่าอยู่ระหว่าง 60 -90 วัน

 

 

                ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่กมธ.ศึกษาแก้รัฐธรรมนูญโควต้าของรัฐบาลมีชื่อของอดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เข้าร่วมด้วย นพ.ชลน่าน กล่าวว่าหามองในแง่ดี คือ จะอาจนำประเด็นที่เห็นปัญหาของรัฐธรรมนูญหลังจากบังคับใช้เสนอแนะ และมองว่าเจตนารมณ์การยกร่าง กับการปฏิบัติใช้มีประเด็นใดที่ควรแก้ไขหรือปรับปรุง แต่หากมองในแง่ลบ คือ อาจเข้ามาขัดขวางการทำงานได้ เพราะหากเข้ามาในโควต้าของรัฐบาลอาจเข้ามาเป็นเสียงที่ลงมติคัดค้านในประเด็นทต่างๆ ที่กมธ.นำเสนอได้. 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ