ข่าว

ชมสด"ศาลรธน." อ่านคำวินิจฉัย รุ้ง-ไมค์-อานนท์ ปมปราศรัยล้มล้างการปกครองฯ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รับชมสด ศาลรธน. อ่านคำวินิจฉัย "รุ้ง-ไมค์-อานนท์" ปมปราศรัยล้มล้างการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เข้าข่ายตามมาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญหรือไม่

 

ติดตามรับชมการถ่ายทอดสด ศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัย ศาลรธน. กรณีผู้ยื่นคำร้องให้วินิจฉัย รุ้ง-ไมค์-อานนท์ ชุมนุม "ม็อบ 10 สิงหา" ปราศรัยล้มล้างการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เข้าข่ายรัฐธรรมนูญมาตรา 49 หรือไม่ 

 

ทั้งนี้เวลา 15.00 น.ของวันที่ 10 พ.ย.64  "ศาลรธน."  นัดอ่านคำวินิจฉัย"ศาลรัฐธรรมนูญ" ในคดีที่ นายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่าการกระทำของ  รุ้ง -ไมค์ - อานนท์  น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (รุ้ง) นายภาณุพงศ์ จาดนอก (ไมค์) และนายอานนท์ นำภา  ชุมนุมปราศรัยเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 63  "ม็อบ10สิงหา"  เพื่อเสนอข้อเรียกร้องเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่งหรือไม่ 

 

 

สำหรับแนวทางคำวินิจฉัยต่อกรณีนี้ รศ.ดร.เจษฎ์ โทณวณิก ประธานคณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย วิเคราะห์ให้เห็นได้ 2 แนวทาง

 

ชมสด\"ศาลรธน.\" อ่านคำวินิจฉัย รุ้ง-ไมค์-อานนท์ ปมปราศรัยล้มล้างการปกครองฯ

 

แนวทางที่ 1.ตีตก ยกคำร้อง  หรือแนวทางที่สอง การรับพิจารณาและวินิจฉัยหากเป็นแบบแรกคือตีตกยกคำร้อง จะประกอบด้วย 3 ลักษณะด้วยกันคือ 1.การกระทำไม่เข้าข่าย  2.การกระทำเข้าข่าย แต่ยุติไปแล้ว และ 3.การดำเนินการที่เข้าข่าย แต่การกระทำจบแล้ว ต้องรอให้มีการกระทำอีกครั้งถึงจะทำอะไรได้ 


แต่หากศาลรับพิจารณาคำร้องว่าเข้าข่ายมีความผิด  ศาลรัฐธรรมนูญสั่งห้ามไม่ให้ปราศรัยในลักษณะดังกล่าวนั้นอีก เพราะเข้าข่ายล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะมีผลคำวินิจฉัยใน 3 ลักษณะเช่นกัน คือ 

 

1.สั่งให้คนที่ทำไม่ให้ทำอีก นั่นคือผูกพันผู้ถูกร้อง นายอานนท์ นำภา นายภาณุพงศ์ จาดนอก และ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (ผู้ถูกร้องที่ 1-3)

 

2.ไม่ให้ใครทำแบบนี้อีกเลย ในบรรดาของคนที่เคยทำมาก่อน คือผูกพันกับกลุ่มคนที่เคยกระทำการในลักษณะเดียวกัน ไม่ให้ทำอีกต่อไป

 

และ 3.ห้ามไม่ให้ใครทำแบบนี้อีกเลย โดยให้ยึดเป็นบรรทัดฐาน สำหรับบุคคลทั่วไป ห้ามไม่ให้กระทำในลักษณะดังกล่าวอีก 

 

 

อย่างไรก็ตาม การจะมีคำวินิจฉัยความผิดโดยอาศัย มาตรา 49 ของ รธน.60 นั้น ทำได้ยากเพราะมาตรา 49 มีจุดอ่อน คือถ้าจะยื่นเรื่องต่อศาลรธน.ให้วินิจฉัยความผิดให้เลิกกระทำ ก็ต้องยื่นเรื่องร้องไปที่อัยการสูงสุดก่อน จากนั้นอัยการสูงสุดจะยื่นร้องต่อศาลรธน.ภายใน 15 วัน แต่หากใน 15 วันนี้อัยการสูงสุดยังไม่ยื่นเรื่องร้องต่อศาลรธน. ผู้ร้องก็สามารถยื่นเรื่องร้องตรงต่อศาลรธน.ได้ 

 

แต่จุดที่น่าสังเกตคือ ถ้ามีการกระทำความผิดวันนี้ แล้วไปยื่นเรื่องในวันพรุ่งนี้กับอัยการสูงสุด แต่ในช่วงเวลานี้กว่าจะถึง 15 วัน อาจจะทำอะไรไม่ได้แล้วเพราะได้ยุติการกระทำก่อนแล้ว นี่จึงเป็น  "จุดอ่อน"  ของมาตรา 49 เว้นแต่จะกระทำความผิดมากกว่า 15 วัน และหากอัยการสูงสุดไม่ยื่นเรื่องต่อศาล รธน. บุคคลผู้กล่าวหาก็สามารถยื่นเรื่องต่อศาลรธน.ได้เองเลย  แต่ในความเป็นจริง ผู้กระทำความผิด คงไม่ทำผิดไปจนถึง 15 วัน 

 

นอกจากนี้ มาตรา 49 ยังไม่เกี่ยวข้องกับประมวลความผิดกฎหมายอาญา ม.112, ม.113 และ ม.116  เพราะผู้เขียนตัวบทกฎหมายไม่ต้องการให้มีบทลงโทษที่รุนแรง ต้องการเพียงให้ศาลรธน.สั่งให้เลิกกระทำเท่านั้น แต่ในอนาคตศาล รธน.อาจจะมีคำสั่งหรือคำวินิจฉัยที่เป็นบรรทัดฐานความผิดในรูปแบบใหม่ออกมาก็ได้ ต้องติดตามดูคำวินิจฉัยในวันที่ 10 พ.ย.นี้ว่าจะออกมาเป็นไปในรูปแบบใด 

 

โดยสามารถติดตามรับชม การถ่ายทอดสด การอ่านคำวินิจฉัย "คำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิฉัยรัฐธรรมนูญตามมาตรา 49 " ได้ที่นี่....

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ