Road mapปฏิรูปการศึกษา &พัฒนาศึกษานิเทศก์"สูตรเสธเอี่ยว"
หลังจากที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ได้ใช้ ม.44 ปฏิรูปการศึกษา ภายใต้การนำำของ “พล.เอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ” รมว.ศึกษาฯได้เปลี่ยนการบริหารระดับภูมิภาค
หลังจากที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ได้ใช้ ม.44 ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 การปฏิรูปการศึกษา โดยการนำของ “พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) ได้ขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ มีการปรับเปลี่ยนการบริหารงานบุคคลในระดับภูมิภาค โดยได้ยุบบอร์ด อ.ก.ค.ศ. และกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา และมีคำสั่งแต่งตั้งบอร์ดการบริหารจัดการใหม่ คือ กศจ. เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายส่งผลต่อตัวผู้เรียน ให้เป็นคน เก่ง ดี มีสุข อยู่ในสังคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี และก้าวทันโลกในศตวรรษที่ 21
พล.ต.ณัฐพงษ์ เพราะแก้ว
ในการขับเคลื่อนในการดำเนินงานตามนโยบายครั้งนี้ “รมว.ศธ.” ได้มอบหมายให้ "เสธเอี่ยว-พลตรีณัฐพงษ์ เพราแก้ว” เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ “เป็นแม่ทัพภาคสนามเพื่อขับเคลื่อนการจัดการศึกษา ตาม 11 Road map” ที่สำคัญอาทิ 1.ให้เด็กทุกคนได้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกันโรงเรียนมีคุณภาพเดียวกัน คนยากจน คนรวย เข้าถึงการศึกษาได้ทุกระดับเหมือนกัน โดยใช้วิธีพัฒนาการเรียน การสอนแบบสะเต็มศึกษา(STEM) 2.ส่งเสริมให้ครูใช้ศักยภาพเต็มที่ เช่นมีครูสอนตรงตามกลุ่มสาระ มีสื่อในการจัดการเรียน การสอน 3.เกลี่ยครูให้ครบเกณฑ์ ทุกโรงเรียน ครบชั้นเรียน และมีอินเตอร์เน็ตครบทุกห้องและใช้สื่อ DLTV
4.ส่งเสริมให้เด็กท่องจำน้อยลง เน้นฝึกการคิดวิเคราะห์ เช่น ห้องเรียนThinking skills 5.ส่งเสริมให้มีการเรียนการสอน STEM ศึกษาครบทุกโรงเรียนโดยใช้ศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) 6.ยกระดับภาษาอังกฤษให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ 7.ปรับระบบการสอบ O-NET ให้เป็นที่ยอมรับและสะท้อนถึงคุณภาพของการจัดการศึกษา มีTest blue print และเฉลยข้อสอบหลังจากการสอบ เพื่อให้เกิดความกระจ่างให้กับนักเรียนและสังคม
8.ผลิตกำลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ เช่นการสร้างค่านิยมในการเรียนอาชีวะ ระบบทวิภาคีโครงการประชารัฐ และการขอร่วมมือกับต่างประเทศในการพัฒนาผู้เรียน นิสิต นักศึกษา 9.ผลิตคนดีออกสู่สังคม โดยกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี รักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม 10. ซ่อมแซมบ้านพักครูให้แล้วเสร็จเพื่อใช้เป็นที่พักอาศรัย ช่วยครูประหยัดเวลา และเงินในการเดินทาง 11.การแก้ปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบ เช่น การแก้ปัญหาหนี้สินครู เป็นต้น
จาก Road map ที่“เลขานุการ รมว.ศธ.” ได้นำเสนอที่ประชุมศึกษานิเทศก์ ทั้ง 4 ภูมิภาค ได้รับการตอบรับจากศึกษานิเทศก์ทั่วประเทศเป็นอย่างดียิ่ง เมื่อ“รมว.ศธ.”ได้ให้ความสำคัญกับศึกษานิเทศในการที่จะขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จตามความต้องการของสังคม ซึ่งศึกษานิเทศก์เปรียบเสมือน“ทหารเอกในภาคสนามที่จะรับภารกิจประสานนโยบายเบื้องบนสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาทุกระดับ”ให้ลุล่วงด้วยดี นโยบายที่ดำเนินงานที่ผ่านมาสำเร็จตามวัตถุประสงค์เป้าหมายด้วยดี อาทิ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้,สื่อDLTV,โครงการประชารัฐ,การคิดเลขในใจ,STEMศึกษา เป็นต้น ในการดำเนินงานได้รับการสนับสนุนจาก รมว.ศธ.และเลาขานุการ รมว.ศธ.เป็นอย่างดี
ในช่วงเปลี่ยนผ่านการปฏิรูปการศึกษา ทั้งทางด้านโครงสร้างและด้านวิชาการ ด้านบุคคล มีประเด็นปัญหาหลายอย่างที่ต้องนำเสนอ สังคมและศธ.เพื่อโปรดพิจารณา เพื่อให้การปฏิบัติงานในพื้นที่ส่งผลต่อการปฏิรูปการศึกษา และสร้างขวัญกำลังใจให้ผู้ที่ทำงานในพื้นที่ มีขวัญ กำลังใจ และทิศทางที่ดีในการทำงาน โดย“สมาพันธ์ศึกษานิเทศก์แห่งประเทศไทยและสมาคมศึกษานิเทศก์ภาคอีสาน” ได้นำเรียนต่อ“รมว.ศธ.” ดังนี้
1.ประเด็นปัญหา ตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลกรทางการศึกษา พศ.2547และแก้ไขเพิ่มเติม ในมาตรา 38 ค(1)(2) ซึ่ง(1)หมายถึงศึกษานิเทศก์(2)หมายถึงบุคลากรอื่นทางการศึกษา เห็นควรจะต้องมีการแก้กฎหมายนี้เพราะทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความเสมอภาค หลายด้าน เช่น การเลือกผู้แทน ใน ก.ค.ศ. การเสนอขอรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย และเงินค่าวิทยฐานะ 2.เพื่อให้เกิดความเสมอภาคของบุคลากรทุกฝ่าย ในด้านความก้าวหน้าและสวัสดิการ จึงเสนอให้มีการแก้ พ.ร.บ.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พศ.2547 และแก้ไขเพิ่มเติมใน มาตรา 38 ค แยกดังนี้ มาตรา38 ก (ครู) มาตรา 38 ข(ผู้บริหาร) มาตรา 38 ค(ศึกษานิเทศก์) มาตรา38 ง(บุคลากรอื่นทางการศึกษา)
3.กำหนดมาตรฐานวิชาชีพศึกษานิเทศก์ ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พศ.2556 ข้อ 9 (ข) (1) กำหนดให้ศึกษานิเทศก์ต้องมีประสบการณ์ 10 ปี โดยกำหนดให้เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ไม่ระบุวิชาเอก ส่วนเขตมัธยมศึกษา ระบุวิชาเอก ทั้งนี้ให้คณะกรรมการกศจ.เป็นผู้สรรหาคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่ง เพื่อให้ตรงกับความต้องการของแต่ละท้องถิ่น
4.ความก้าวหน้าและความเป็นเอกภาพของศึกษานิเทศก์ สามารถสอบ ย้าย โอน สู่ตำแหน่งใหม่ได้ เช่น ผอ.โรงเรียน รอง ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา ฯลฯ 5.โครงสร้างศึกษานิเทศก์ ปัจจุบันในส่วนกลางไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ทำให้ ไม่มีหัว มีแต่ ตัว แขน ส่วนขา มีไว้สำหรับเดินตามคำสั่งของสำนักต่างๆ ใน สพฐ.ให้ศึกษานิเทศก์ต้องออกไปประเมิน KPI ที่โรงเรียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการนำเอาครูออกห้องเรียน เพราะต้องมารอรับและเตรียมการประเมิน ทำให้ศึกษานิเทศก์ไม่สามารถทำหน้าที่นิเทศช่วยเหลือข้าราชการครูและบุคลกรทางการศึกษาได้เต็ม ความรู้ ความสามารถ
จาก Road map ของศธ. โดย “รมว.ศธ.” ได้กำหนดแนวทางในขับเคลื่อนผ่านหน่วยงานองค์กรต่างๆ รวมทั้ง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหาร และ ศึกษานิเทศก์ ในการที่จะพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความเสมอภาค ด้านการเข้าถึงการศึกษา ด้านคุณภาพ ด้านความเท่าเทียม และด้านประสิทธิภาพ “พลตรีณัฐพงษ์ เพราแก้ว” เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้รับบัญชา จาก“รมว.ศธ.”ให้ เป็นแม่ทัพภาคสนามในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาได้เดินเครื่องอย่างเต็มที่ ส่วนผลสำเร็จที่จะเกิดขึ้นตามที่สังคมไทยคาดหวังหรือไม่ อยู่ที่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศที่จะต้องให้ความร่วมมือและรับผิดชอบร่วมกัน
0นายกิตติ ทวยภา0รายงาน 0ศึกษานิเทศก์ สพป.มค.1