ชี้ไทยรับมือการศึกษาเวอร์ชั่น 4.0
เคน เคย์ ชี้ "ไทยแลน์ 4.0" นโยบายนี้ไม่มีวันเป็นจริงได้ ถ้าประเทศไทยไม่มีนักเรียน ไม่มีครู ไม่มีผู้บริหารการศึกษาในเวอร์ชั่น 4.0 แนะรับมือการศึกษาเวอร์ชั่น4.0
มร.เคน เคย์ ผู้คิดค้นแนวคิดการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 คนดังจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเน้นเตรียมความพร้อมให้เด็กทุกคนประสบความสําเร็จ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจโลกใหม่กล่าวบนเวที “โครงการสัมมนาผู้นําทางการศึกษาแห่งประเทศไทย 2559"(หรือTELS 2016)ซึ่ง บมจ.อักษร เอ็ดดูเคชั่นและคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันจัดขึ้นเป็นปีที่ 3 ณ อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานีว่า ประเทศไทยกำลังจะก้าวสู่นโยบายประเทศไทย 4.0 นโยบายนี้จะไม่มีวันเป็นจริงได้ ถ้าประเทศไทยไม่มีนักเรียน ไม่มีครู และไม่มีผู้บริหารการศึกษาในเวอร์ชั่น 4.0
มร.เคน เคย์
“เพราะต้องยอมรับว่าผู้คนในยุคนี้ ได้รับการสั่งสอนจากระบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่19 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนถูกสอนมาให้ทำงานซ้ำ ๆ เป็นงานที่เน้นการลงแรงมากกว่าการใช้ความคิดวิเคราะห์ในเชิงปฏิบัติ เห็นได้จากตัวอย่างการทำงานขององค์กรอย่างกูเกิล ถือเป็นแบบอย่างที่ดีในการสร้างบรรยากาศในการทำงาน ที่ส่งเสริมให้บุคลากรรู้จักที่จะคิด วิเคราะห์ ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ในอนาคตข้างหน้า เด็กที่เรียนจบการศึกษาในระดับมัธยมปลาย หรือ ปริญญาตรีจะไม่มีความแตกต่างกัน อีกต่อไปแล้ว”มร. เคน เคย์ กล่าว
ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ รองอธิการบดีสำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มร.เคน เคย์ กล่าวอีว่า กุญแจที่ผลักดันทักษะการศึกษาศตวรรษที่ 21 เกิดขึ้นในเชิงปฏิบัติได้ มีสองประการ ได้แก่ 1.โรงเรียนหรือกลุ่มสถานศึกษาต้องระบุขีดความสามารถต่างๆ ที่คนรุ่นใหม่ต้องบรรลุผลสำเร็จได้เมื่อจบการศึกษา 2.แนวทางการสอนต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่วิธีการสอนใหม่ๆ จะช่วยให้ผู้เรียนมีความสามารถตามทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้
นายตะวัน เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริษัทอักษรเอ็ดดูเคชั่นจำกัด
"โดยคุณสมบัติจำเป็นซึ่งพลเมืองโลกในอนาคตข้างหน้าอีก 5 ปี พึงมีเพื่อรองรับการทำงานในศตวรรษที่21(ปี2020) ได้แก่ ทักษะในการแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน ทักษะในการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะในการบริหารคนและทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น"มร.เคน เคย์ กล่าวสรุป