ไลฟ์สไตล์

"อาสาสมัคร"กลไกช่วยพัฒนาเด็กด้อยโอกาส เด็กพิการ

"อาสาสมัคร"กลไกช่วยพัฒนาเด็กด้อยโอกาส เด็กพิการ

25 ธ.ค. 2559

งานวิจัย ย้ำอาสาสมัครเป็นกลไกช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กด้อยโอกาส เด็กพิการได้ดี พร้อมเผยนวัตกรรมทางความคิด จากการจัดการความรู้

           เมื่อเร็วๆ นี้ ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิ ถี กรุงเทพฯ มูลนิธิสุขภาพไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีรายงานผลการดำเนินการ “การจัดการความรู้ (Knowledge Management)  และการพัฒนางานประจำสู่การทำวิจัย (Routine to Research)เพื่อสร้างสุขให้เด็กในสถานสงเคราะห์" ซึ่งประกอบไปด้วยสถานสงเคราะห์ เด็กอ่อนปากเกร็ด สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านเฟื่องฟ้า และสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านนนทภูมิ

          นายสมชาย เจริญอำนวยสุข อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กล่าวว่า พม.รับผิดชอบดูแลเด็กจำนวนมาก ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอาสาสมัครที่เป็นส่วนสำคัญในการเข้ามางานของ พมซึ่งการดำเนินการจัดการความรู้ และการพัฒนางานประจำสู่การทำวิจัย เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของ พม. และอาสาสมัคร ในการพัฒนางานประจำสู่การทำวิจัย ที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้มากมาย  การทำงานหากไม่มีระบบการจัดการดูแลให้ได้องค์ความรู้ และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ ความรู้ที่ได้อาจจะหายไป

        “องค์ความรู้ที่ได้เป็นเรื่องที่ดี และน่าสนใจ สามารถนำไปสู่การเผยแพร่ หรือต่อยอดทางความคิดได้ อยากให้ทุกคน ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสถานสงเคราะห์ต่างๆ นำองค์ความรู้ที่มีอยู่ กระจายให้คนภายนอกได้รับรู้  อย่าทำแล้วจบไปไม่ได้นำไปต่อยอด อีกทั้งการเป็นอาสาสมัครหลายคนมาทำเพราะอยากได้บุญ ซึ่งเป็นสิ่งดี แต่เมื่อมาช่วยกันพัฒนางานที่ทำเป็นองค์ความรู้ และกระจายความรู้ไปสู่ผู้อื่น จะกลายเป็นประโยชน์มากขึ้น ยิ่งองค์ความรู้ที่จะทำให้เด็กในสถานสงเคราะห์มีความสุขมากขึ้นยิ่งต้องเผยแพร่ อยาก ให้วิธีการจัดการองค์ความรู้เป็นประเพณีวัฒนธรรม เป็นหนึ่งในกระบวนงาน คิดอะไรได้ ต้องเผยแพร่  ต้องถอดบทเรียน หรือเขียนเป็นคู่มือ เพื่อให้คนที่มาเห็นเกิดกระบวนการ หรือต่อยอดได้” นายสมชาย กล่าว

\"อาสาสมัคร\"กลไกช่วยพัฒนาเด็กด้อยโอกาส เด็กพิการ           นายวิทัศน์ เตชะบุญ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กล่าวขอบคุณอาสาสมัครทุกคนที่มีส่วนสำคัญในการช่วยดูแลเด็กๆ ซึ่งช่วยให้เด็กพบกับความสุข และการพัฒนางานประจำสู่การทำวิจัยครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นว่า กระบวนการจัดการความรู้ และการทำงานร่วมกันระหว่างอาสาและเจ้าหน้าที่ ผลลัพธ์ที่ได้ช่วยให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้นจริง

            ด้านนายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิสุขภาพไทย กล่าวถึงผลงานการจัดความรู้ สถานสงเคราะห์ทั้ง 5 แห่ง ว่ากระบวนการพัฒนางานประจำสู่ การทำวิจัยนั้น ใช้ระยะเวลา 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งแต่ละสถานสงเคราะห์ต่างได้องค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาของตนเองและสามารถต่อยอด ขยายผลไปสู่สถานสงเคราะห์อื่นๆ   อาทิ สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ด ได้จัดการความรู้ เรื่อง คลินิกเด็กอารมณ์ดี, สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต ได้จัดการความรู้เรื่อง พฤติกรรมของหนู:เมื่อหนูไม่ยอมทานข้าว, สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี “การจัดสภาพแวดล้อมและการจัดการขยะภายในสถานสงเคราะห์, สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านเฟื่องฟ้ากระบวนการอาสากับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กในสถานสงเคราะห์ด้วยพลังอาสาสมัคร  การดำเนินงานอาสาสมัครโดยมูลนิธิสุขภาพไทยนั้นมุ่งเน้นระบบอาสาสมัคร ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากที่ต้องสร้างกลไกรองรับอาสาสมัครเข้ามาทำงานร่วมกับภาครัฐ และระบบการจัดการองค์ความรู้  ในงานวิจัยมีผลลัพธ์ชัดเจนว่า เมื่อมีอาสาสมัครเข้ามาดูแลเด็กพิการ เด็กพิการคุณภาพชีวิตดีขึ้น  การจับคู่อาสาสมัครดูแลเด็ก 1 ต่อ 1 ทำให้เกิดความไว้วางใจที่จะเสริมกระตุ้นให้เด็กเกิดการพัฒนา  หรือกรณีที่เด็กมีสภาพปัญหางอแง ติดพี่เลี้ยง กระบวนการงานวิชาการ  เป็นการคิดร่วมกัน แลกเปลี่ยน เก็บข้อมูล ทำให้ได้เห็นรูปแบบของการพัฒนาดูแลเด็กให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุข 

\"อาสาสมัคร\"กลไกช่วยพัฒนาเด็กด้อยโอกาส เด็กพิการ

           หลังจากนี้ เชื่อว่าผลการวิจัยแม้จะเป็นช่วงระยะเวลาเพียง 1 ปี แต่ก็ทำให้ได้เห็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก ที่สถานสงเคราะห์ทั้ง 5 แห่ง นำไปต่อยอดและขยายผลสู่การดำเนินการอื่นๆ โดยเป็นการนำองค์ความรู้เข้าไปช่วยเสริม รวมถึงก่อให้เกิดการคิด สร้างสรรค์ งานวิจัยที่เกิดจากการพัฒนางานประจำ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมทางความคิด ความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาเด็ก และทำให้อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่ เกิดความภาคภูมิใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขยายผลได้ดียิ่งขึ้น