"บัตรทอง"ทำระบบโรคชาติผิดเพี้ยน
การปรับบัตรทองจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฟังเสียงสะท้อนจากบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานจริงในการรักษาพยาบาล ซึ่งเปรียบเสมือน “พลทหารด่านหน้า"
ในห้วงเวลาที่การแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หริือ 30 บาทรักษาทุกโรค หรือบัตรทองงวดเข้ามาทุกขณะ และ “คมชัดลึก”ได้นำเสนอเสียงสะท้อนจากผู้รับบริการรักษาพยาบาลในสิทธิบัตรทองไปแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฟังเสียงสะท้อนจากบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานจริงในหน่วยบริการสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาพยาบาล ซึ่งเปรียบเสมือน “พลทหารด่านหน้า”ในระบบบสาธารณสุขด้วยเช่นกัน การปรับปรุงจะทำให้ระบบเกิดความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดฉากว่า ส่วนหนึ่งของปัญหาระบบสาธารณสุขเกิดจากการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลคนไข้ หน่วยงานที่กำกับดูแลกองทุนฯ มีหลักเกณฑ์ว่า กลุ่มโรคแบบนี้จะต้องตรวจอะไร จะต้องหาอะไร และจะต้องรักษาอะไรบ้าง ด้วยเงินเท่านี้ มิหนำซ้ำเมื่อวินิจฉัยและแพทย์ให้การรักษาแล้ว ตกหล่อนว่าไม่มีตัวชี้วัดว่าคนไข้ควรได้รับการรักษาแบบนั้น
เช่น คนไข้เป็นโรคปอดบวมมาก หายใจไม่ได้ จะต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด แต่่ในรพ.ต่างจังหวัด แพทยฺ์เห็นคนไข้อาการหนักก็ใส่เครื่องช่วยหายใจ ไม่มีเวลามาเจาะเลือดหาออกซิเจน ก็รักษาจนหาย แต่พอจะขอเบิกเงิน กลับโดนระบุว่าไม่มีตัวบ่งชี้ในการใส่เครื่องช่วยหายใจ ก็ไม่ได้เงิน กรณีแบบนี้หากรพ.รักษาไป 100 บาท อาจได้เงินคืนมา 40-50 บาท
"โรคอะไรที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มโรคที่กำหนดให้สามารรถเบิกเงินได้ จะเกิดปรากฎการณ์ว่า คนไข้เป็นเรื่องนี้ แต่เโรคนี้เบิกเงินได้น้อย ก็ต้องบอกว่าเป็นอีกโรคแทน แต่รพ.รู้นะว่าเป็นโรคไหน แต่ว่าจะรายงานเพื่อเบิกเงินก็จะเลือกโรคที่เบิกเงินได้มากที่สุด เพื่อความอยู่รอดของรพ. แบบนี้ก็ำให้ในสถิติโรคแห่งชาติมันผิดเพี้ยนไปหมด ส่วนหนึ่งเพราะคนที่คิดตัวเลขการรักษา ไม่ใช่คนที่ยืนต่อหน้าคนไข้ ขณะที่เจ้าหน้าที่ที่เป็นพลทหารด่านหน้าต้องทำทุกอย่างเพื่อช่วยคนไข้ แต่คนวางระบบทำทุกอย่างเพื่อไม่ต้องจ่ายเงิน เป็นระบบปลายปิด จึงเป็นข้อที่ขัดแย้งกัน ต้องแก้ไขว่าทำอย่างไรด้วยเงินน้อยที่สุด ต้องใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด คุ้มค่ามากที่สุด" ศ.นพ.ธีระวัฒน์ สะท้อน
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ บอกด้วยว่า เหล่านี้เป็นความจริงที่ประชาชนและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ต้องรับทราบปัญหาว่าพลทหารด่านหน้าจะตายอย่างไร จะตายแค่ไหน และจะปล่อยให้ตายไม่ได้ เมื่อผลการรักษาไม่เป็นที่พึงพอใจ ก็ฟ้องแพทย์ แต่ไม่นึกว่าแพทย์คนนั้นขณะที่เกิดเรื่องนั้นขึ้น เขากำลังดูแลคนไข้อื่นที่อาการหนักเหมือนกันหมดอยู่ ก็เป็นวงจรการฟ้อง ทำให้บุคลากรดีๆต้องออกจากระบบ ซึ่งมีจำนวนมากเพราะไม่ต้องรับผิดชอบ ไม่ต้องกลัวถูกฟ้อง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้ คนไทยเลิกเอาแต่ได้เห็นแก่ตัว คนที่มีฐานะดีไม่ควรใช้สิทธิบัตรทอง และเพิ่มการทำงานเชิงรุกในการป้องกันโรคให้ถึงระดับชุมชนหฒูาบ้านมากขึ้น
ขณะที่ศ.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร กรรมการแพทยสภา สะท้อนภาพว่าระบบสาธารณสุขพังแล้วว่า ไม่ใช่เกิดจากสปสช.อย่างเดียว แต่สปสช.มีปัญหาที่จะต้องแก้ไข เนื่องจากเป็นระบบหนึ่งที่ความฟรีทำลายสุขภาพคนไทย โดยการที่คนเข้ารพ.มากขึ้นจากที่เห็นว่าการรักษาพยาบาลเป็นของฟรี และสปสช.คิดว่าเป็นผลงานที่ทำให้คนเข้าถึงบริการมากขึ้น ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผิด เพราะควรมองภาพรวมของประเทศว่าคนมีความจำเป็นต้องเข้ารพ.ยิ่งน้อยยิ่งดี ต้องส่งเสริมให้คนไทยดูแลป้องกันสุขภาพตนเองมากขึ้น อย่างเช่น ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี บังเอิญเผลอไม่ได้ป้องกัน แต่สามารถไปขอยาฟรีที่รพ.ได้ ก็อาจจะทำให้เกิดการหละหลวมในการป้องกันตนเอง เป็นต้น
"ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากขึ้น มันไม่มีทางที่จะหนีพ้นว่ามันไม่ใช่ของฟรี ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนทั้งหมดไม่ได้ จำเป็นต้องเดินสายกลาง ส่วนหนึ่งที่ไม่ใช่สายกลาง คือ ทุกอย่างเหมือนกันหมด เป็นระบบแบบคอมมิวนิสต์ แต่ถ้าเป็นสายกลาง คือต้องเป็นระบบแบบพอเพียง คนมีเงินพอจะจ่ายได้ก็จ่าย คนไม่มีพอจ่ายก็ไม่ต้องจ่าย แต่เมื่อพูดเรื่อง กลับโดนต่อว่าจากเอ็นจีโอเป็นการดูถูกคนจน มีการแปลความเป็นแบบนี้ไปได้อย่างไร" ศ.นพ.อภิวัฒน์ ตัดพ้อ
ศ.นพ.อภิวัฒน์ มองว่า ปัญหาตอนนี้อยู่ที่ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงบประมาณ กรณีที่ให้เงินผู้ป่วยนอกเท่ากันหมดทุกพื้นที่ตามจำนวนประชากรตามสำเนาทะเบียนบ้าน ก็เป็นการสะท้อนการใช้เงินไม่เป็น เพราะฉะนั้นการบริหารจัดการตรงนี้ของสปสช.ควรปรับปรุง นอกจากนี้ เมื่อเงินไม่พอก็เข้าไปควบคุมการรักษา เป็นแบบเหมาโหล ซื้อยาล็อตเดียวกัน เช่น คนไข้ไตวายก็ให้ล้างไตอย่างเดียวด้วยเหตุผลว่าคนไข้ต้องเดินทางมารพ.เสียเวลา ถือเป็นการละเมิดสิทธิ เพราะคนไข้ไตวายมีสิทธิเลือกว่าจะฟอกเลือดหรือล้างผ่านช่องท้องสมมติคนไข้อยู่สามย่านแต่มารักษาที่รพ.จุฬาฯ ถามว่าเสียเวลาในการเดินทางหรือไม่
สิ่งที่ต้องดำเนินการปรับปรุง ศ.นพ.อภิวัฒน์ บอกว่า 1.จัดลำดับความสำคัญของคนไข้นอนเตียง ถ้าเงินส่วนนี้ที่รักษาคนไข้นอนเตียงยังไม่พอ ไม่ควรนำเงินไปขัดเป็นกองทุนย่อย ซึ่งกองทุนย่อยทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาระยะเวลาสั้น 2.รับฟังความเห็นผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ3.มีวิธีในการให้สิทธิทุกคนเท่ากันอย่างแท้จริง เช่น ผู้ป่วยนอกอาจจะให้ติดเครดิตที่บัตรประชาชน โดยระบุว่าในแต่ละปีมีสิทธิเข้ารักษาผู้ป่วยนอกได้กี่ครั้ง และจะเข้ารักษาที่รพ.ไหนก็ได์ แต่ต้องไม่ใช่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จะทำให้คนไข้ตระหนักในการใช้สิทธิเมื่อยามจำเป็นและพยายามดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้นตรงนี้นำมาแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ว่ามีมากใช้มาก มีน้อยใช้น้อยและทุกคนต้องดูแลตนเองเป็น
"สปสช.ควรจะทำหน้าที่ของตนเอง เหมือนประกันสังคม คือ ประกันสุขภาพ ประกันค่ารักษา แต่หน้าที่ในการรักษาโรค ควรต้องเป็นของแพทย์ ไม่ใช่ทำให้วิธีการรักษาโรคผิดเพี้ยน เพราะหน่วยบริการจำเป็นต้องให้กลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งมาเขียนรายงานการรักษาว่าต้องเขียนอย่างไรจึงเบิกเงินสปสช.ได้ ต้องเขียนรายงานแบบศรีธนญชัยจึงจะเบิกได้ และถ้าไม่ทำแบบนี้ก็เบิกไม่ได้ เป็นการบีบแบบไม่มีทางออก จึงไม่ใช่การเดินสายกลางที่ดี" ศ.นพ.อภิวัฒน์กล่าว
โดยสรุป ศ.นพ.อภิวัฒน์ มองว่า ควรแก้ไขที่ระบบบริหารจัดการให้เกิดความพอดีกับทุกคน ไม่ใช่ให้ทุกคนได้เหมือนกันหมด การปรับปรุงจึงจะสามารถทำให้ระบบเกิดความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
ติดตามซีรีส์บัตรทอง ตอน 3(จบ) แนวทางปรับปรุงบัตรทอง
0 พวงชมพู ประเสริฐ 0