Lifestyle

สพฐ.ชงสูตรอาหารกลางวันเพิ่ม"3-16บาท"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สพฐ.เผยผลวิเคราะห์ค่าอาหารกลางวัน รร.ระดับประถมทั่วประเทศ 27,108 แห่ง นักเรียน 3.97 ล้านคน ควรเพิ่ม 3-16 บาท คาดใช้งบเพิ่ม 2.7 พันล้าน เล็่งเสนอ"รมว.ศธ."

 

 

 

          วานนี้ (14 ส.ค.2562) ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานวิเคราะห์การบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของนักเรียน โรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 27,108 แห่ง มีนักเรียน 3,979,636 คน ว่า ที่ประชุมได้หารือร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง อาทิ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รวมถึงผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กและใหญ่ ตามข้อสั่งการของนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ที่เป็นห่วงเรื่องการบริหารจัดการอาหารกลางวันของเด็ก ต้องมีคุณภาพและถูกต้องตามหลักโภชนาการ 

 

 

          ในการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พบว่ามีปัญหาหลายส่วน โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณที่ได้รับในอัตราหัวละ 20 บาทต่อวัน จำนวน 200 วัน ที่ถือว่ายังไม่ได้มีการพิจารณาปรับปรุงมาเป็นเวลา 5 ปีแล้ว


          ดร.สุเทพ  ระบุว่า ที่ประชุมได้วิเคราะห์งบอาหารกลางวันที่ได้รับตามอัตรารายหัวว่า แต่ละวันเด็กควรจะได้รับการอุดหนุนในอัตราหัวละจำนวนเท่าใดถึงจะเหมาะสม ซึ่งได้วิเคราะห์จากค่าแรง แม่ครัว ค่าวัสดุประกอบอาหาร ค่าแก๊ส และตามสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน จากนั้นนำมาหารด้วยจำนวนนักเรียน จึงประมวลออกมาเป็นอัตราเงินอุดหนุนรายหัว ค่าอาหารกลางวันเด็ก 


          โดยแบ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีจำนวนนักเรียน 1-20 คน มีจำนวนโรงเรียน 817 แห่ง เสนอให้ปรับขึ้นจากเดิม 20 บาท เป็น 36 บาท โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 21-23 คน จำนวนโรงเรียน 246แห่ง เสนอให้ปรับขึ้นจากเดิม 20 บาท เป็น 34 บาท โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 24-25 คน จำนวนโรงเรียน 196 แห่ง เสนอให้ปรับขึ้นจากเดิม 20 บาท เป็น 33 บาท โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 26-27 คน จำนวนโรงเรียน 194 แห่ง เสนอให้ปรับขึ้นจากเดิม 20 บาท เป็น 32บาท

 

          ขณะที่ โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 28-30 คน จำนวนโรงเรียน 317แห่ง เสนอให้ปรับขึ้นจากเดิม 20 บาท เป็น 31บาท โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 31-33คน จำนวนโรงเรียน 355 แห่ง เสนอให้ปรับขึ้นจากเดิม 20 บาท เป็น 30 บาท โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 34-37 คน จำนวนโรงเรียน 515 แห่ง เสนอให้ปรับขึ้นจากเดิม 20 บาท เป็น 29 บาท 


 


          โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 38-42 คน จำนวน 780 แห่ง เสนอให้ปรับขึ้นจากเดิม 20 บาท เป็น 28 บาท โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 43-50คน จำนวนโรงเรียน 1,484 แห่ง เสนอให้ปรับขึ้นจากเดิม 20 บาท เป็น 27 บาท โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 51-60 คน จำนวนโรงเรียน 1,741 แห่ง เสนอให้ปรับขึ้นจากเดิม 20 บาท เป็น 26 บาท โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 61-75 คน จำนวนโรงเรียน 2,911 แห่ง เสนอให้ปรับขึ้นจากเดิม 20 บาท เป็น 25บาท


          นอกจากนั้น โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 76-100 คน จำนวนโรงเรียน 3,982แห่ง เสนอให้ปรับขึ้นจากเดิม 20 บาท เป็น 24บาท โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 101-120 คน จำนวนโรงเรียน 2,643แห่ง เสนอให้ปรับขึ้นจากเดิม 20 บาท เป็น 23บาท โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 121-200 คน จำนวนโรงเรียน 6,625 แห่ง เสนอให้ปรับขึ้นจากเดิม 20 บาท เป็น 23 บาท 


          โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 201 คนขึ้นไป จำนวนโรงเรียน 4,302 แห่ง เสนอให้ปรับขึ้นจากเดิม 20 บาท เป็น 23 บาท โดยขณะนี้ได้รับงบประมาณ 200 วัน (20บาทต่อคนต่อวัน)จำนวน 15,918,544,000 บาท ซึ่งงบประมาณที่ต้องเสนอขอ 18,708,439,000 บาท ดังนั้นจะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น 2,789,895,000 บาท


          ดร.สุเทพ กล่าวอีกว่า สำหรับตัวเลขที่ปรับขึ้นนั้น ยังไม่ถือเป็นข้อสรุป แต่เป็นเพียงการวิเคราะห์จาก สพฐ.เท่านั้น เพราะต้องนำข้อมูลเหล่านี้ไปให้สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พิจารณาถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้อีกครั้ง ต่อจากนั้นจะเสนอให้ รมว.ศึกษาธิการ นำข้อมูลดังกล่าวเสนอรัฐบาลเพื่อนำประกอบการพิจารณาค่าอาหารกลางวันของนักเรียนต่อไป


          ด้าน นายกิตติ สรณเจริญพงศ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันของนักเรียน เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่การแก้ปัญหาระยะยาวอยากเสนอให้ สพฐ.จัดให้มีครูโภชนาการประจำโรงเรียน เพื่อดูแลเรื่องอาหารของนักเรียนโดยเฉพาะ เพราะการมีครูเฉพาะทางนอกจากช่วยให้เด็กได้รับสารอาหารครบถ้วนแล้วยังเป็นการป้องกันปัญหาการทุจริตเงินอาหารกลางวันได้อีกทางหนึ่งด้วย เนื่องจากมีผู้รับผิดชอบโดยตรง

 

............................................

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ