Lifestyle

คมเลนส์ส่องพระ 22 ก.ค. 2560

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คมเลนส์ส่องพระ โดยแล่ม จันท์พิศาโล วันเสาร์ที่ 22 ก.ค. 2560

คมเลนส์ส่องพระ 22 ก.ค. 2560 *** มาตามนัด วันพรุ่งนี้ งานประกวดพระ งานใหญ่จัดโดย คณะนักเรียนนายร้อย จปรรุ่นที่ ๒๗ ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ โดยมี พล..ชัยชาญ ช้างมงคล เป็นประธานจัดงาน พล..เฉลิมชัย สิทธิสาท เป็นประธานที่ปรึกษาพล..เชวงศักดิ์ ทองสลวย เป็นประธานดำเนินงาน และ ชัยนฤทธิ์ เพชรพันธุ์ทอง เป็นประธานประสานงาน โดยได้รับการสนับสนุนจาก สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย พระที่จัดประกวด ๒,๗๕๙ รายการ ค่าส่งพระองค์ละ ๔๐๐ บาททุกรายการ รางวัลชนะเลิศแต่ละรายการ หนังสือ “มรดกล้ำค่าเมืองใต้” ฉบับสมบูรณ์ เรียบเรียงโดย ชัยนฤทธิ์ เพชรพันธุ์ทอง รวมภาพพระเครื่องของภาคใต้ ครบทั้ง ๑๔ จังหวัด คมเลนส์ส่องพระ วันนี้เป็นภาพจากหนังสือเล่มนี้เกือบทั้งหมด เริ่มด้วย พระปิดตาหลวงพ่อครน วัดบางแซะ รัฐกลันตัน มาเลเซีย ซึ่งสมัยก่อนเป็นดินแดนของไทยมาก่อน เราได้เสียดินแดนแห่งนี้ให้แก่อังกฤษ เมื่อปี ๒๔๕๒ แต่คนไทยที่เกิดที่นั่นก็ยังอยู่ในแผ่นดินนั้นจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ของไทยมาตลอด โดยเฉพาะการนับถือศาสนาพุทธ มีวัดมีพระสงฆ์ รวมทั้งการเรียนหนังสือไทย พูดภาษาไทย (สำเนียงปักษ์ใต้) และที่สำคัญมีพระเกจิอาจารย์ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง คือ หลวงพ่อครน วัดบางแซะ ท่านเป็นชาวบ้านบางแซะ เกิดเมื่อ พ..๒๔๑๙ อุปสมบทที่วัดบางแซะ ต่อมาท่านได้มาศึกษาเล่าเรียนที่ จ.สงขลา โดยเฉพาะวิชาคาถาอาคมจากพระเกจิอาจารย์ดังๆ ในสมัยนั้น อาทิ หลวงพ่อปาน วัดโคกสมานคุณ หาดใหญ่ หลวงพ่ออินทร์ .ตากใบ สำนักเขาอ้อ .พัทลุง ท่านมรณภาพเมื่อ พ..๒๕๐๕ สิริอายุ ๘๘ ปี พรรษา ๖๗ วัตถุมงคลของท่านที่โด่งดังมาก คือ พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก ซึ่งมีพิมพ์ทรงเป็นของท่านโดยเฉพาะ ขนาดองค์พระค่อนข้างใหญ่ เข่ากว้าง พระทุกองค์ท่านได้ลงอักขระขอมขณะที่เนื้อพระยังหมาดๆ ด้วยลายมือ ตรงจุดนี้บ่งชี้ได้อย่างชัดเจนระหว่าง พระแท้ กับ พระปลอม ซึ่งระบาดมานานแล้ว องค์ในภาพนี้ คือ พระปิดตาหลวงพ่อครน พิมพ์ปั้น เนื้อผงผสมว่านจุ่มรัก ..๒๔๗๐ นับอายุความเก่าถึงปีนี้ครบ ๙๐ ปีพอดี 

คมเลนส์ส่องพระ 22 ก.ค. 2560

คมเลนส์ส่องพระ 22 ก.ค. 2560

          ** องค์ที่ ๒ พระพุทธชินราช เนื้อดินเผา หลวงปู่เฟื่อง วัดคงคาเลียบ .หาดใหญ่ จ.สงขลา พระเครื่องรุ่นนี้สมัยที่ผู้เขียนเป็น บก.บห.นิตยสารพระเครื่อง ลานโพธิ์ ยุคแรกๆ ได้นำประวัติของ หลวงปู่เฟื่อง มาลงหลายตอนจบ (นับเป็นฉบับที่ ๒ ที่ลงเรื่อง หลวงปู่เฟื่อง ฉบับแรกที่ลง คือ นิตยสาร “ปริทรรศพระเครื่อง” ตอนเดียวจบ) ทำให้ พระพุทธชินราช หลวงปู่เฟื่อง เป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น แต่เดิมรู้จักกันเฉพาะชาวหาดใหญ่เท่านั้น พระพุทธชินราช เป็นพระเนื้อดินเผา สร้างเมื่อ พ..๒๔๙๘ จำนวนสร้าง ๒๕,๐๐๐ องค์ พิมพ์ทรงห้าเหลี่ยม ด้านหลังมีตัว "(หมายถึง เฟื่อง”) จารลงบนเนื้อพระขณะหมาดๆ มี ๒ ลายมือ คือ ฟ” ลึก จารด้วยตะปู ฟ” ตื้น จารด้วยก้านไม้ขีดไฟ ทั้ง ๒ พิมพ์นี้ถือเป็น พระรุ่นแรก ที่หายากขึ้นในทุกวันนี้ (ข้อมูลนี้ได้จากคนที่จารตัว ฟ” โดยตรงพระพุทธชินราช หลวงปู่เฟื่อง ในภาพนี้เป็นพิมพ์ ฟ” ลึก สภาพเดิมๆ เป็นพระเก็บเก่าของลูกหลานคนหาดใหญ่ที่คุณพ่อไปรับมาจากมือ หลวงปู่เฟื่อง โดยตรง คือ ทิวากร วงศ์หล่อ ปัจจุบันทำธุรกิจที่ จ.ภูเก็ต

คมเลนส์ส่องพระ 22 ก.ค. 2560

          ** ต่อไปเป็น เหรียญพระครูพินิตยติการ (หนู) รุ่นแรก เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง วัดเขาต่อ จ.กระบี่ พ..๒๔๗๖ จัดเป็นเหรียญดังยอดนิยมของภาคใต้อีกเหรียญหนึ่ง จะหารายละเอียดมาเสนอในโอกาสหน้า

คมเลนส์ส่องพระ 22 ก.ค. 2560

          ** เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง จ.ภูเก็ต พิมพ์ยันต์วรรค เนื้อทองแดงรมดำ พ..๒๔๘๖ เป็นเหรียญยอดนิยมสูงสุดของ จ.ภูเก็ต เหรียญสวยๆ เช่าหากันถึงหลักล้าน...เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ทุกรุ่นล้วนสร้างขึ้นหลังจากท่านมรณภาพแล้ว ปลุกเสกโดย หลวงพ่อช่วง ศิษย์เอกของ หลวงพ่อแช่ม รุ่นนี้มีหลายพิมพ์ ที่นิยมสูงสด คือพิมพ์ยันต์วรรค (ยันต์เว้นวรรค) ที่เห็นในภาพนี้...หลวงพ่อแช่ม เป็นชาว อ.ทับปุด จ.พังงา เกิดเมื่อปี ๒๓๗๐ ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ มรณภาพปี ๒๔๕๑ ชื่อเสียงของท่านปรากฏชัดเจนในคราวที่กลุ่มโจรอั้งยี่ได้ก่อเหตุวุ่นวาย ถึงขนาดจะเข้ายึดการปกครองของจังหวัดเมื่อปี ๒๔๑๙ หลวงพ่อจึงได้ทำ ผ้าประเจียด ให้ชาวบ้านโพกศีรษะ ต่อสู้กับอั้งยี่จนได้รับชัยชนะ คณะกรรมการเมืองภูเก็ตได้ทำรายงานกราบทูลไปยัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นิมนต์ หลวงพ่อแช่ม เข้าเฝ้าที่กรุงเทพฯ และได้พระราชทานสมณศักดิ์ให้ หลวงพ่อแช่ม เป็น พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญานมุนี มีตำแหน่งเป็นสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต อันเป็นตำแหน่งสูงสุดที่ฝ่ายบรรพชิตจักพึงมีในสมัยนั้น

คมเลนส์ส่องพระ 22 ก.ค. 2560

          ** หลังจาก หลวงพ่อช่วง มรณภาพแล้ว หลวงพ่อเกลื้อม ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน ท่านได้สร้างวัตถุมงคลขึ้นมาในปี ๒๔๙๗ ประกอบด้วย พระบูชาหลวงพ่อแช่ม, เหรียญรูปไข่ (เนื้อเงินลงยาสีเขียว สีแดง และเนื้อทองแดง), เหรียญพิมพ์สี่เหลี่ยม, แหวนรูปเหมือน และเหรียญเม็ดแตง ที่นิยมสุดในรุ่นนี้คือ เหรียญหลวงพ่อแช่ม หลังหลวงพ่อช่วง วัดฉลอง เนื้อเงินลงยา ปี ๒๔๙๗ พิมพ์ “ช” ชิด 

คมเลนส์ส่องพระ 22 ก.ค. 2560

          ** พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในอดีตของ .ตรัง มีมากมาย อาทิ พ่อท่านเอียด ธัมมปาโล (พระครูวุฒิโสภณ) วัดหนองช้างแล่น อ.ห้วยยอด เหรียญรุ่นแรก สร้างปี ๒๔๙๑ ในงานทำบุญอายุครบ ๘๐ ปี จำนวนสร้าง ๑,๐๐๐ เหรียญ โด่งดังด้านคงกระพันชาตรีและมหาอุด ในเหรียญไม่ได้ลงชื่อวัดและปีที่ออก แต่คนในท้องถิ่นจำได้แม่นว่า ท่านเกิดเมื่อปี ๒๔๑๒ บวชเรียนมาตั้งแต่เป็นสามเณร หลังจากอุปสมบทแล้วได้ไปศึกษาวิชาอาคมที่สำนักไสยศาสตร์ วัดเขาอ้อ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง กับ พระอาจารย์ทองเฒ่า นานถึง ๑๖ พรรษา ท่านมรณภาพในปี ๒๕๐๒ เหรียญพ่อท่านเอียด สวยๆ แดงๆ สนนราคา ๒ แสนขึ้น

คมเลนส์ส่องพระ 22 ก.ค. 2560

          ** ส่งท้ายวันนี้ด้วย เหรียญเสมาพิมพ์วัดหนัง หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก .กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี ๒๕๓๕ สร้างถวายโดยอาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ เป็นเหรียญทรงเสมา ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อนั่งสมาธิเต็มองค์ ด้านหลังประทับด้วยยันต์ครู เหรียญนี้ออกแบบได้งดงามมาก เป็นเหรียญหลักรุ่นหนึ่งของสายนี้ ในภาพนี้เป็น เนื้อทองคำ สร้างประมาณ ๑๐๐ เหรียญ ของ เล็ก หลักสี่ อู่แท็กซี่รายใหญ่ ผู้เก็บสะสมพระเครื่องหลากหลายประเภท

          ** พบกับ คมเลนส์ส่องพระ ได้ใหม่ในวันพรุ่งนี้ ขอขอบพระคุณ ทุกท่านที่ได้ติดตามอ่านคอลัมน์นี้มาตลอด...นะมัสเต ***

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ