ลำไส้รั่ว คือ อะไร???
ชอบกินหวานจัด...ดื่มกาแฟและแอลกอฮอล์ จัดว่าเป็นขาประจำ และการงานทำให้เครียดจัดอยู่บ่อยๆ แต่รู้มั้ยว่าลำไส้ของเราคงไม่ชอบไลฟ์สไตล์แบบนี้เป็นนิตย์แน่นอน
คุณผู้อ่านเป็นคนที่มีไลฟ์สไตล์จัดหนักมั้ยคะ...เช่น ชอบกินหวานจัด...ดื่มกาแฟและแอลกอฮอล์ จัดว่าเป็นขาประจำ และการงานทำให้เครียดจัดอยู่บ่อยๆ แต่รู้มั้ยว่าลำไส้ของเราคงไม่ชอบไลฟ์สไตล์แบบนี้เป็นนิตย์แน่นอน...หากมีไลฟ์สไตล์จัดหนักบ่อยๆ ระวังลำไส้จะรั่วประท้วงเรานะคะ...
ลำไส้รั่ว คือ อะไร???
ลำไส้รั่วในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงลำไส้ทะลุนะคะ แต่เรียกให้ถูกคือ ลำไส้รั่วซึม เกิดจากลำไส้ทำงานผิดพลาด ไม่สามารถแยกแยะการดูดซึมหรือคัดกรองสารอาหารหรือสารพิษต่างๆ เข้าสู่ร่างกายได้ จึงเกิดปัญหาตามมา ซึ่งเราเรียกภาวะความผิดปกติแบบนี้ว่า “Leaky Gut syndrome” หรือ “ลำไส้รั่วซึม” นั่นเอง
ภาวะลำไส้รั่วซึมนี้ เซลล์จะยอมให้อาหารที่ย่อยไม่สมบูรณ์ สารพิษ แบคทีเรีย หลุดผ่านผนังลำไส้และเข้าสู่กระแสเลือดได้
ของเสียเมื่อเข้าสู่กระแสเลือดก็เปรียบเหมือนเป็นสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ร่างกายก็จะปฏิเสธและต่อต้าน ด้วยการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานหนักขึ้น เพื่อมาต่อต้าน ผลที่ตามมาก็คือ อาการอันไม่พึงประสงค์ ส่งผลเสียต่อร่างกาย ตัวอย่างเช่น
-เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
-ไวต่อการเกิดปฏิกิริยากับอาหาร แพ้อาหารหลายชนิด
-อักเสบเรื้อรัง ปวดข้อ ข้ออักเสบ
-ปวดท้อง ท้องผูก ท้องเสีย
-ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย
-ผื่นแพ้ไม่ทราบสาเหตุ สิวเรื้อรัง ผิวหนังอักเสบ
-หงุดหงิด ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน
-สมาธิสั้น ความจำไม่ดี
-หายใจเร็วตื้น หายใจไม่อิ่ม
-เหนื่อยง่าย ออกกำลังกายไม่ทน
-ระบบภูมิคุ้มกันแปรปรวน โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง
การมีสุขภาพลำไส้ที่ดี ก็จะเป็นพื้นฐานของการมีสุขภาพที่ดี มาดูแนวทางการรักษาภาวะลำไส้รั่ว ด้วย 4R ดังนี้
1.Remove : คือ การหลีกเลี่ยงหรือกำจัดต้นเหตุที่ทำลายลำไส้
เป็นสิ่งแรกที่ควรปฏิบัติ กำจัดทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้เกิดภาวะลำไส้รั่ว เช่น แอลกอฮอล์ กลูเตน(สำหรับผู้ที่แพ้โปรตีนข้าวสาลี) ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์(NSAID) และอาหารที่แพ้ ซึ่งเราจะทราบได้จากการไปตรวจเลือด เพื่อจะได้ทราบว่าอาหารชนิดใดบ้างที่รับประทานได้ ชนิดใดบ้างที่ควรงดและหลีกเลี่ยง
2.Replace : แทนที่ด้วยอาหารที่ช่วยซ่อมลำไส้
เพิ่มอาหารหรือสารที่ทำให้เกิดกระบวนการย่อยอาหารได้อย่างสมบูรณ์ โดย
-ดื่มน้ำให้เพียงพอ และเพิ่มการรับประทานกากใยอาหาร เพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายของเสียทำงานอย่างเป็นปกติ เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง คีนัว ไซเลียมฮัสก์(Psyllium Husk) ผักผลไม้ชนิดต่างๆ
-เอนไซม์ช่วยย่อย เช่น กรดไฮโดรคลอริก บีเทน (Betain เอนไซม์ช่วยย่อยจากสับปะรด) หรือสมุนไพรที่ช่วยการทำงานของลำไส้
3.Repopulate : เสริมสร้างแบคทีเรียชนิดดี และอาหารของมัน เพื่อปรับสมดุลของลำไส้ เช่น การรับประทานอินนูลิน
-อินนูลิน เป็นเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ ปกติร่างกายจะย่อยและดูดซึมไม่ได้ แต่เหมาะสำหรับเป็นแหล่งอาหารของแบคทีเรียชนิดดี
-อินนูลินพบได้ในพืชหลายชนิด เช่น ชีคโอะริ (Chicory), หัวหอม, หน่อไม้ฝรั่ง, แก่นตะวัน (Jerusalem artichoke)
4.Repair : ซ่อมแซมด้วยอาหารเสริม
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย เป็นการให้สารอาหารหลากหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการซ่อมแซม และฟื้นฟูผนังลำไส้ให้กลับคืนสภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรงดังเดิม ดังนี้
-วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเค วิตามินซี วิตามินอี เบต้าแคโรทีน กรดโฟลิค
-สารแอนติออกซิแดนท์ เช่น เซเลเนียม แคโรทีนอยด์ กลูตามีน แกมมาออริซานอล ซิงค์ กรดไขมันจำเป็น เช่น โอเมก้า 3
พอรู้แบบนี้แล้วเรายิ่งต้องดูแลลำไส้ของเราให้ดีนะคะ อาทิตย์หน้ามาทำความรู้จักกับ โพรไบโอติคส์ เชื้อจุลินทรีย์ที่ดีต่อลำไส้กันบ้าง
มาคุยเรื่องสุขภาพกับนกได้ที่แฟนเพจ FB:Health Society by Nok Chalida นะคะ พบกันใหม่อาทิตย์หน้าค่ะ
"นก" ชลิดา ตันติพิภพ
หากชอบเรื่องสุขภาพแนวที่นกนำเสนอนี้ สามารถคลิกดูเฟซบุ๊กแฟนเพจของนกที่ Health Society by Nok Chalida ได้นะคะ หรือติดตามรายการ Health Society สุขภาพดีเข้าเส้น ได้ทุกวันเสาร์สิบโมงเช้า ทางช่อง 13 ค่ะ
**พบกันใหม่อาทิตย์หน้าค่ะ**