Lifestyle

ยืดอายุสุขภาพด้วยดัชนีการมีอายุยืนยาว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ถ้าเราพบว่ามีความเจ็บป่วยรออยู่และเราสามารถทำบางอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงนั้นได้

ยืดอายุสุขภาพด้วยดัชนีการมีอายุยืนยาว

          ครั้งหนึ่งเราต่างมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข จนกระทั่งมีอันต้องล้มป่วยลง จากนั้นเราจึงต้องไปพบแพทย์ แน่นอนว่าแพทย์ก็จะให้การรักษาอย่างเต็มที่ ทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการที่ทำให้รู้สึกว่า จริง ๆ แล้วเราไม่อาจทำอะไรกับความเจ็บป่วยได้เลย แต่ถ้าลองสมมติว่าเราสามารถมองเห็นอนาคต และพบว่ามีความเจ็บป่วยรออยู่ โดยที่เราสามารถทำอะไรบางอย่างที่จำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บป่วยดังกล่าวนั้นได้ ชีวิตจะเป็นอย่างไร?

ยืดอายุสุขภาพด้วยดัชนีการมีอายุยืนยาว

  ผศ.นพ.พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์

        ผศ.นพ.พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์ แพทย์ทางด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย สูตินรีเวช/ แบรนด์แอมบาสเดอร์ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ และผู้อำนวยการศูนย์สูติ-นรีเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า เทคโนโลยีสมัยใหม่กำลังเปลี่ยนชีวิตเราไปในหลาย ๆ ทาง และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในวงการแพทย์ เราสามารถตรวจดูลักษณะทางพันธุกรรมของร่างกาย และทำนายถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ เมื่อเห็นชัดเจนว่าการดำเนินชีวิตของเราในปัจจุบันจะนำไปสู่อะไร เราก็สามารถวางแผนรับมือที่เหมาะสมสำหรับอนาคตได้ ด้วยการตรวจง่าย ๆ ที่ทำได้กับผู้คนทุกช่วงวัยช่วยให้เราสามารถเตรียมการรับมืออย่างรอบด้านด้วยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นจากเวชศาสตร์สี่สาขาอันได้แก่ เวชศาสตร์ด้านการทำนายสุขภาพ เวชศาสตร์การป้องกัน เวชศาสตร์การคืนความแข็งแรง และเวชศาสตร์การฟื้นฟูร่างกาย การตรวจดังกล่าวเรียกว่า Vitallife Vitality Index™ หรือ ดัชนีการมีอายุยืนยาวของไวทัลไลฟ์ นั่นเอง

ยืดอายุสุขภาพด้วยดัชนีการมีอายุยืนยาว

         ดัชนีการมีอายุยืนยาว (Vitality IndexTM) ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อช่วยในการจัดโปรแกรมเพื่อความยืนยาวของชีวิตแบบองค์รวม ซึ่งเป็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่ในด้านการทำนายสุขภาพ การป้องกัน การคืนความแข็งแรงและฟื้นฟูร่างกาย โดยจะพิจารณาองค์ประกอบที่จำเป็นต่อการมีสุขภาพดี ดังต่อไปนี้
         1. ตัวชี้วัดด้านฮอร์โมน (Hormone Index) การทำความเข้าใจถึงบทบาทของฮอร์โมนที่มีต่อร่างกายจึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี การมีฮอร์โมนในระดับที่สมดุลมีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพและคงความอ่อนเยาว์ไว้ตลอดช่วงชีวิต โดยตัวชี้วัดด้านฮอร์โมนซึ่งเป็นองค์ประกอบย่อยของดัชนีวัดความยั่งยืน จะบอกคุณได้ว่าร่างกายรับมือกับกระบวนการแก่ชราได้ดีเพียงใดเมื่อพิจารณาจากฮอร์โมน
         2. ตัวชี้วัดจากความดันโลหิต (Blood Pressure Index) การอ่านค่าความดันโลหิตนั้นทำได้โดยง่ายด้วยเครื่องวัดความดันธรรมดาๆ ซึ่งมีอยู่ในท้องตลาดและเราสามารถซื้อหามาใช้ที่บ้านได้ ผู้คนส่วนมากมีค่าความดันโลหิตสูงเกินกว่าค่าที่แนะนำ และจำนวนไม่น้อยทีเดียวที่มีค่าความดันโลหิตสูงในระดับที่เป็นอันตราย ไวทัลไลฟ์ใช้ดัชนีตัวชี้วัดความดันเลือดเพื่อช่วยคุณลดความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง และช่วยให้คุณสามารถควบคุมความดันโลหิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         3. ตัวชี้วัดด้านคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate Index) ตัวชี้วัดด้านคาร์โบไฮเดรตเป็นการประเมินว่าร่างกายรับมือกับอาหารกลุ่มนี้ได้มากน้อยเพียงใดจากกระบวนการเคมีในร่างกายที่เรียกว่า กลัยเคชั่น (glycation) ซึ่งคือการที่โมเลกุลของกลูโคสหรือน้ำตาลไปเกาะติดอยู่กับโมเลกุลของโปรตีนหรือไขมัน ภาวะกลัยเคชั่น (glycation) ที่มากเกินไปเป็นเหตุให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ต้อกระจก มีไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือด และความเสื่อมชราของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ภายในร่างกาย ประโยชน์จากตัวชี้วัดด้านคาร์โบไฮเดรต คือ คุณจะสามารถลดน้ำหนักลงได้ เซลล์ที่ผลิตอินซูลินมีโอกาสได้พัก และคุณสามารถลดน้ำตาลและความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ปกติได้
         4. ตัวชี้วัดด้านความเครียด (Stress Index) ตัวชี้วัดด้านความเครียดจะวัดว่าคุณมีความเครียดมากน้อยเพียงใด และคุณรับมือกับความเครียดนั้นๆ ได้อย่างไร การที่มีคะแนนในส่วนของตัวชี้วัดด้านความเครียดสูง เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณจำเป็นต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อลดความเครียดในชีวิตลง และพยายามรับมือกับความเครียดด้วยเทคนิคการผ่อนคลายความเครียด
         5. ตัวชี้วัดด้านการดำเนินชีวิต (Lifestyle Index) การสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์เป็นทางเลือกในการใช้ชีวิตที่ส่งผลอย่างมากต่อความยืนยาวของชีวิต การสูบบุหรี่แม้เพียงเล็กน้อยก็เป็นอันตรายมากพอและควรต้องเลิก ส่วนการดื่มแอลกอฮอล์นั้นตรงกันข้าม เพราะอาจมีประโยชน์อยู่บ้างหากดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ ตัวชี้วัดด้านการดำเนินชีวิตบอกเราได้มากถึงขนาดที่ว่าสิ่งที่เราทำขณะนี้ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรทั้งในปัจจุบันและอนาคต
         6. ตัวชี้วัดด้านคอเลสเตอรอล (Cholesterol Index) ตัวชี้วัดด้านคอเลสเตอรอลจะช่วยประเมินสัดส่วนของคอเลสเตอรอล HDL ที่เป็นประโยชน์ และ LDL ที่เป็นอันตรายภายในร่างกาย เนื่องจากคอเลสเตอรอลที่มีอยู่สูงในกระแสเลือดเป็นปัจจัยเสี่ยงให้ไขมันเกาะที่ผนังหลอดเลือดซึ่งเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ร้ายแรง อาทิ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง การรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากคอเลสเตอรอลถึงร้อยละ 75 ถูกสร้างจากภายในร่างกายเองโดยตับเป็นส่วนใหญ่ คอเลสเตอรอลส่วนเกินถูกผลิตขึ้นเมื่อเรารับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อแดงติดมัน ผลิตภัณฑ์นมเต็มไขมัน และเนย ขณะที่ความเครียดก็เป็นปัจจัยให้คอเลสเตอรอลสูงขึ้นเนื่องจากฮอร์โมนเครียด หรือคอร์ติซอลเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายผลิตคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นเพื่อใช้เป็นปัจจัยการผลิต ส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มนั่นเอง
         7. ตัวชี้วัดด้านสมรรถภาพของร่างกาย (Fitness Index) ยุคปัจจุบัน ในโลกที่เต็มไปด้วยความเครียด การรออกกำลังกายและดำรงสมรรถภาพของร่างกายต้องอาศัยการกระตุ้นแบบปลอมๆ ด้วยความพยายามของเราเอง และเช่นกัน ความพยายามดังกล่าวจะให้ผลลัพธ์ที่ดีในแง่ของสุขภาพและสุขภาวะที่ดี การออกกำลังกายไม่จำเป็นต้องหมายถึงการไปฟิตเนส แต่อาจทำได้ง่ายๆ เช่นการเดิน ตัวชี้วัดด้านสมรรถภาพของร่างกายทำให้ได้ทราบถึงระดับสมรรถภาพของร่างกายในปัจจุบันอย่างละเอียด โดยพิจารณาถึงความสามารถในเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ความสมดุล ความแข็งแกร่ง ปฏิกิริยาตอบสนอง และตัววัดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพของร่างกาย
         8. ตัวชี้วัดด้านองค์ประกอบของร่างกาย (Body Composition Index) องค์ประกอบของร่างกายเป็นการวัดว่าร่างกายของเราประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อที่เป็นไขมันเท่าไร และไม่ใช่ไขมัน หรือส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อ กระดูก และเลือดเท่าไร ไขมันในร่างกายอาจแบ่งได้เป็นสองชนิด ได้แก่ ไขมันที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและสืบพันธุ์ และไขมันสะสมซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำรอง เช่นเดียวกัน มรดกจากบรรพบุรุษไม่ได้เอื้อกับเราสักเท่าไรนัก พันธุกรรมอาจบอกเราให้สำรองพลังงานไว้ให้มากที่สุดซึ่งเป็นประโยชน์เมื่อหลายพันปีก่อน แต่ไม่ใช่ในยุคปัจจุบัน ผู้ชายต้องการไขมันในร่างกายมากที่สุดเพียงร้อยละ 12 ถึง 20 ขณะที่ผู้หญิงต้องการเพียงร้อยละ 20 ถึง 26 เท่านั้น
          9. ตัวชี้วัดด้านการอักเสบ (Inflammation Index) ซอฟต์แวร์ทางชีวภาพ มีการพัฒนาขึ้นตั้งแต่จุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการและยังคงได้รับการปรับปรุงอยู่เรื่อยมา ปัจจุบันเรามีวิศวกรทางเทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีระดับนาโนที่กำลังพยายามปรับปรุงร่างกายของเราให้ดีขึ้น แต่คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าที่ร่างกายมนุษย์เวอร์ชั่น 2.0 จะเสร็จสมบูรณ์ ดังนั้น สิ่งที่ทำได้ในตอนนี้ คือการพยายามเข้าใจกระบวนการต่างๆ ของร่างกายให้ได้มากที่สุด ตัวชี้วัดด้านการอักเสบจึงเป็นประโยชน์ในการสร้างโปรแกรมใหม่ให้กับชีวเคมีของร่างกาย

ยืดอายุสุขภาพด้วยดัชนีการมีอายุยืนยาว

         การอักเสบเรื้อรังนั้นแตกต่างออกไป โดยเกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป สะสมภายในร่างกายอยู่หลายปีโดยที่คุณไม่รู้ตัวเลย จากนั้นภาวะอักเสบเรื้อรังนี้จะแสดงตัวในรูปของโรคร้ายแรง อาทิ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน อัลไซเมอร์ และโรคร้ายแรงอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
         กระบวนการเมธิลเลชั่น (methylation) ที่ไม่สมบูรณ์เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น มองง่าย ๆ คือ กระบวนการเมธิลเลชั่น (methylation) เป็นกลไกการเปิดปิดให้โมเลกุลของคาร์บอนและไฮโดรเจน หรือที่เรียกรวมกันว่ากลุ่มเมธิล (methyl group) สามารถมาเกาะกับเซลล์ของร่างกายได้ กลไกดังกล่าวมีผลต่อการเพิ่มหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง และโรคอื่น ๆ
          ตัวชี้วัดด้านการอักเสบนี้จะประเมินภาวะการอักเสบเรื้อรังและกระบวนการเมธิลเลชั่น (methylation) เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ