Lifestyle

เริงใจในดินแดนดอกลำดวน (ตอนที่ 1)

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ข้อได้เปรียบของศรีสะเกษเรื่องการท่องเที่ยวอยู่ที่มีประวัติศาสตร์ขอมโบราณ และชน 4 เผ่ารากเหง้าวัฒนธรรม

       เอาตรงๆ เรารู้จัก “ศรีสะเกษ” ก็เพราะ "กระเทียม" และ  “ปราสาทเขาพระวิหาร” แต่พอหลังจากมีปัญหาข้อพิพาทจนต้องปิดพรมแดนไทย-กัมพูชา บริเวณทางขึ้นปราสาทใกล้ๆ ผามออีแดงเป็นการถาวร พลอยทำให้ความสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนแห่งนี้ลดน้อยถอยลงไปด้วย... 

เริงใจในดินแดนดอกลำดวน (ตอนที่ 1)

การแสดงรากเหง้าวัฒนธรรมศรีสะเกษ

     เชื่อว่าไม่มีใครอยากให้สถาการณ์เป็นแบบนี้ ทั้งคนในจังหวัดศรีสะเกษเอง นักเดินทาง รวมถึงหน่วยงานที่ดูแลการท่องเที่ยวโดยตรงอย่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พยายามจัดกิจกรรมชูของดีของเด่นเมืองดอกลำดวนอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเดินทางหรือแวะเที่ยวใช่เพียงทางผ่านไปเมืองหลัก ของเด่นดังไม่ว่าจะเป็นหอม กระเทียม ผ้าไหม ธรรมชาติ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชนเผ่า ไล่ไปจนถึงทุเรียนปลูกดินภูเขาไฟ ถูกนำมาพูดถึงในวงกว้างจนคนที่เคยมองผ่านเมืองรองแห่งนี้อยากเดินทางไปสัมผัสสักครั้งในชีวิต

เริงใจในดินแดนดอกลำดวน (ตอนที่ 1)

วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี 

     นกเหล็กของ “ไทยสมายล์” ดูจะเป็นการซื้อเวลาเดินทางได้อย่างคุ้มค่า เที่ยวบินเช้าตรู่ประมาณ 7 โมงเช้าใช้เวลาอยู่บนท้องฟ้าแค่ 50 กว่านาที ก็พา “คนชอบเที่ยว” มาถึงสนามบินนานาชาติอุบลราชธานี ก่อนจะเปลี่ยนโหมดพาหนะการเดินทางเป็นรถตู้แล้วมุ่งสู่จังหวัดศรีสะเกษด้วยความตื่นเต้นในฐานะแขกหน้าใหม่ ณ ดินแดนอารยธรรมขอมโบราณ “เมืองขุขันธ์” ชื่อเดิมก่อนจะเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน ซึ่งในความเป็นศรีสะเกษคนที่เล่าได้ดีที่สุดเห็นจะเป็นท่านผู้นี้ วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี พ่อเมืองคนล่าสุดที่แม้จะเพิ่งมารับตำแหน่งได้ราว 4 เดือนเศษ แต่ถามอะไรตอบได้ 

เริงใจในดินแดนดอกลำดวน (ตอนที่ 1)

ชาวบ้านร้อยดอกลำดวนขายหน้างานประจำปีภายในสวนสมเด็จย่า

เริงใจในดินแดนดอกลำดวน (ตอนที่ 1)

วัฒนธรรมการแต่งกายสไตล์ชนเผ่ากุย หรือ "ส่วย"

      ท่านผู้ว่าฯ คนขยัน เผยว่า ข้อได้เปรียบของศรีสะเกษเรื่องการท่องเที่ยวที่ต้องดึงออกมาให้ได้นั้น เป็นที่รู้กันดีว่ามีประวัติศาสตร์ขอมโบราณยุคกษัตริย์ "สุริยวรมัน” นอกจากนี้ยังมีชนเผ่า 4 เผ่า ได้แก่ กุย (ส่วย) เขมร ลาว และเยอ เป็นรากวัฒนธรรมของศรีสะเกษ มีตำแหน่ง “กมรเตง” หรืออำมาตย์ผู้ครองเมืองตามหัวเมืองย่อย เชื่อว่าเรื่องนี้ยังไม่ได้รับการเผยแพร่เท่าที่ควร ไม่เหมือนทุเรียน ผามออีแดง ปราสาทพระวิหาร ฯลฯ จุดขายในด้านท่องเที่ยวดังกล่าวถ้าทำได้ก็จะสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ แต่ไม่ใช่เชิงยัดเยียด ชาวบ้านต้องมีใจด้วยถึงจะยั่งยืน นับจากนี้จะมีการแบ่งเส้นทางท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นวิถีชนเผ่าต่างๆ ในแต่ละชุมชน, เส้นทางสายไหม, เส้นทางผลไม้ดินภูเขาไฟ, เส้นทางธรรมชาติ, เส้นทางพระพุทธศาสนา วัดวาอาราม และเส้นทางวิถีเกษตร

เริงใจในดินแดนดอกลำดวน (ตอนที่ 1)

เริงใจในดินแดนดอกลำดวน (ตอนที่ 1)

เริงใจในดินแดนดอกลำดวน (ตอนที่ 1)

เริงใจในดินแดนดอกลำดวน (ตอนที่ 1)

การแสดงแสงสีเสียง “อารยธรรมแห่งศรัทธา มนตรา ศรีพฤทเธศวร”

     เริ่มรื่นรมย์กับงานประจำปีที่จัดขึ้นช่วงฤดูร้อนราวเดือนมีนาคม “เทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่า” ภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ หรือที่เรียกติดปากว่า “สวนสมเด็จย่า”  แน่นอนว่ามีดงดอกลำดวนธรรมชาติถึง 5 หมื่นต้น แข่งกันออกดอกส่งกลิ่นหอมไปทั่ว ปีนี้เขาจัดแสดงแสง สี เสียง ในแนวคิดอารยธรรมแห่งศรัทธา มนตรา ศรีพฤทเธศวร เล่าเรื่องอารยธรรมขอมโบราณรากเหง้าของชาวศรีสะเกษผ่านสัญลักษณ์สำคัญของจังหวัดอย่าง “ปราสาทสระกำแพงใหญ่” ได้อย่างสวยงามน่าตื่นเต้น นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจำลองวัฒนธรรม 4 เผ่าตามที่กล่าวมา รวมถึงนิทรรศการศิลปะของศิลปินดังให้ผู้มาเยือนได้บันเทิงเริงใจ

      เริงใจในดินแดนดอกลำดวน (ตอนที่ 1)

ปราสาทสระกำแพงใหญ่

เริงใจในดินแดนดอกลำดวน (ตอนที่ 1)

จารึกปราสาทสระกำแพงใหญ่

เริงใจในดินแดนดอกลำดวน (ตอนที่ 1)

พระครูสมุห์บุญเชิด รัตนเมธี 

     พูดถึงปราสาทสระกำแพงใหญ่ ถ้าอยากไปดูของจริงต้องไปที่วัดสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย ที่นี่ พระครูสมุห์บุญเชิด รัตนเมธี ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสระกำแพงใหญ่ เล่าว่าปราสาทนี้เดิมชื่อ “ศรีพฤทเธศวร” สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16 สมัย “สุริยวรมันที่ 1” เป็นเทวาลััยตามศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย ศิลปะแบบบาปวน สันนิษฐานว่าสร้างหลังปราสาทเขาพระวิหารราว 400 ปี โดยนายช่างใหญ่ชื่อ “ศรีสุกรรมมากำเตงงิ” หนึ่งในหลายนายช่างใหญ่ที่คุมงานก่อสร้างปราสาทเขาพระวิหาร โดยศรีสุกรรมมาฯ ให้ช่างเข้ามาสำรวจที่บ้านมะขาม มาเจอเนินดินเลยเริ่มสร้างขึ้น โดยขนศิลาแลงและอิฐมาสร้างเป็นฐาน กรอบประตู เสา ผนัง จนมาถึงยุคกษัตริย์ “ชัยวรมันที่ 7” เปลี่ยนศาสนามานับถือพุทธเลยแปรปราสาทมาเป็นวัดแล้วเปลี่ยนรูปเคารพจากศิวลึงค์เป็นพระพุทธรูป โดยเอาศิวลึงค์ลงแล้วเชิญพระพุทธรูปปางนาคปรกศิลปะขอมประดิษฐานแทน

เริงใจในดินแดนดอกลำดวน (ตอนที่ 1)

พระพุทธรูปศิลปะขอมปางนาคปรกอายุกว่า 1000 ปี

      ต่อมากษัตริย์ยุคต่อมามีการเปลี่ยนศาสนากลับไปเป็นพราหมณ์อี ก จึงนำพระพุทธรูปไปฝังดินแล้วเอาศิวลึงค์ขึ้นตั้งแทน จากนั้นขอมเข้าสู่ยุคเสื่อมอำนาจราว พ.ศ 1750 จนถึง พ.ศ. 2368 สมัยรัชกาลที่ 3 มีพระธุดงค์มาสร้างวัดบริเวณนี้ ต่อมาปี 2490 หลวงปู่เครื่อง เจ้าอาวาสคนที่ 7 ฝันเห็นพระพุทธรูปฝังดิน จึงให้ชาวบ้านไปขุดขึ้นมาแล้วประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรกองค์นี้ไว้ในมณฑปที่สร้างขึ้นมาใหม่จนถึงปัจจุบัน ทุกวันขึ้น 2 ค่ำเดือน 5 ทางวัดจะมีการจัดงานไลท์ แอนด์ ซาวนด์ ที่ตัวปราสาทด้วย

เริงใจในดินแดนดอกลำดวน (ตอนที่ 1)

ศาลตายาย หรือ "ศาลโดนตา"

เริงใจในดินแดนดอกลำดวน (ตอนที่ 1)

บายศรีสู่ขวัญแบบเขมร

      ตามเส้นทางประเพณีและวัฒนธรรมชาวไทยเชื้อสายเขมร นอกจากปราสาทหิน วัดวาอารามต่างๆ ยังมีที่น่าสนใจอย่าง “บ้านตะกวน” (บ้านผักบุ้ง) ต.พึงพวย อ.ศรีรัตนะ เป็นหมู่บ้านที่ยังคงวิถีชีวิตตามความเชื่อบรรบุรุษโดยมีศูนย์รวมจิตใจอยู่ที่ “ศาลตายาย” ข้างๆ มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าดื่มกินแล้วช่วยให้หายไข้ได้ป่วย หรือขอคู่ครอง ขอโชคลาภก็ได้ดังหวัง

เริงใจในดินแดนดอกลำดวน (ตอนที่ 1)

ของกินบ้านตะกวน

      เมื่อมีผู้มาเยือนชาวบ้านจะจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญแบบเขมรให้ ในพานบายศรีจะมีข้าวต้ม ผลไม้ ไข่ ขนม และมะพร้าว หลังเสร็จพิธีจะให้กินไข่และน้ำมะพร้าวบริสุทธิ์เพื่อความเป็นสิริมงคล ของฝากขึ้นชื่อก็อย่างผ้าไหมลูกแก้ว ขนมรัญจวนหรือขนมมีส่วนผสมของรากตดหมา การเลี้ยงจิ้งหรีด งานหัตถกรรม รวมถึงชิมอาหารพื้นบ้าน  เช่น แกงกล้วยใส่ไก่, ต้มยำไก่บ้าน, ผัดผักบุ้ง และจิ้งหรีดทอด ของดีประจำหมู่บ้าน

เริงใจในดินแดนดอกลำดวน (ตอนที่ 1)

สาธิตการย้อมผ้าไหมลูกแก้วเป็นสีดำจากมะเกลือ

เริงใจในดินแดนดอกลำดวน (ตอนที่ 1)

เริงใจในดินแดนดอกลำดวน (ตอนที่ 1)

เสื้อที่เพิ่มมูลค่าจากการ "แซว" หัตถกรรมพื้นบ้าน

      เช่นเดียวกับวัฒนธรรมการทอผ้าที่หมู่บ้านเขมร “บ้านเมืองหลวง” อ.ห้วยทับทัน ที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อทอผ้าไหมลายลูกแก้วหรือ “ผ้าไหมเก็บ” แล้วเพิ่มมูลค่าด้วยการย้อมสีดำสนิทจากมะเกลือถึง 60 แดด 300 จุ่ม ก่อนจะตัดเป็นเสื้อทรงต่างๆ แล้วเก็บตะเข็บให้สวยงามหรือ “การแซว” กลายเป็นหัตถกรรมท้องถิ่นเอกลักษณ์ขึ้นชื่อของชาวศรีสะเกษ มีตั้งแต่ลายตีนไก่ ตะขาบ ดอกมือเขือ เชิงเทียน ขัดตะแล๋ว หรือฟันปลา เป็นต้น ได้รางวัลโอท็อป 3 ดาว ด้วยนะ ราคามีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลายพันบาทสร้างรายได้เสริมให้ชาวบ้านเป็นกอบเป็นกำ

เริงใจในดินแดนดอกลำดวน (ตอนที่ 1)

   นี่แค่จุดเริ่มต้นความเริงใจในเมืองดอกลำดวน ฉบับหน้าจะพาไปเที่ยวแนวธรรมชาติและวิถีชีวิตที่เข้มข้นขึ้น...รับรองว่า “สุดจัด” ชนิดที่ปลัดไม่ต้องบอกแน่นอน !!     

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ