Lifestyle

ดูตะไลล้าน แวะชมความงามวัดวังคำ สถาปัตยกรรมล้านช้าง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ภาพ-เรื่อง โดย ประเสริฐ เทพศรี

          ช่วงนี้ภาคอีสานมีงานบุญบั้งไฟเพื่อขอฝนในหลายจังหวัด แต่วันนี้เราจะพาไปดู การจุดตะไลล้าน หนึ่งเดียวของไทย ในงานบุญบั้งไฟตะไลล้าน บ้านกุดหว้า กาฬสินธุ์ 2562 ประเพณีวัฒนธรรมผู้ไทบุญบั้งไฟตะไลล้าน (ปลอดเหล้า ปลอดภัย ปลอดการพนัน) ประจำปี 2562 เทศบาลตำบลกุดหว้า อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ แต่ก่อนการจุดตะไลล้านหลังขบวนแห่ยังพอมีเวลาไปเที่ยวชมความงามของวัดกันก่อน

ดูตะไลล้าน แวะชมความงามวัดวังคำ สถาปัตยกรรมล้านช้าง

สิมวัดวังคำ

ดูตะไลล้าน แวะชมความงามวัดวังคำ สถาปัตยกรรมล้านช้าง

ด้านหลังสิมทำเป็นต้นโพธิ์ธรรมประดับกระจกสี

          ซึ่งวันนี้เราจะพาไปที่ “วัดวังคำ” ตั้งอยู่ที่บ้านนาทวี ต.สงเปลือย อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ คนเขาวงส่วนใหญ่แล้วเป็นชาวผู้ไท การสร้างวัดวังคำ จึงมีรูปแบบมีหน้าตาคล้ายกับวัดเชียงทอง ในเมืองหลวงพระบาง สิมหรือโบสถ์หลังใหม่ของวัดสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 จากกุฏิเล็กๆ ศาลาหลังเล็กๆ ก็ต่อเติม ขยับขยายมาเรื่อยจนปัจจุบันมีเนื้อที่ราว 8 ไร่ รวมถึงก่อสร้างสิมใหม่ ซึ่งก็ได้แรงบันดาลใจมาจากวัดเชียงทอง แห่งนครหลวงพระบาง สร้างตามแบบศิลปะล้านช้าง โดยยึดวัดเชียงทองเป็นต้นแบบนั้น เพราะวัดเชียงทองได้ชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมล้านช้างที่งดงามที่สุด อีกเหตุผลหนึ่งคือ ชาวบ้านที่อาศัยใน อ.เขาวง นั้นเป็นชาวผู้ไทที่ผูกพันอยู่กับลาวและศิลปะล้านช้างเป็นเอกลักษณ์ จึงลงตัวในรูปแบบที่เห็น 

ดูตะไลล้าน แวะชมความงามวัดวังคำ สถาปัตยกรรมล้านช้าง

ลวดลายบนผนังของสิม

ดูตะไลล้าน แวะชมความงามวัดวังคำ สถาปัตยกรรมล้านช้าง

ประตูทางเข้ามองเห็นพระประธาน วาดลวดลาย

ดูตะไลล้าน แวะชมความงามวัดวังคำ สถาปัตยกรรมล้านช้าง

นักท่องเที่ยวแต่งชุดผู้ไท

          หากเทียบชื่อวัด “วังคำ” กับ “เชียงทอง” ความหมายก็แทบจะเหมือนกัน ตัวสิมก็คล้ายคลึงกัน จนบางคนออกปากว่าเป็นรูปจำลองของวัดเชียงทองก็ไม่ผิด หากในรายละเอียดมีความแตกต่างกันออกไป โดยที่ด้านหน้าสิมวัดวังคำ มีตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยได้รับพระราชทานเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ.2547 ช่วงกลางสันหลังคาทำเป็นฉัตร 5 ชั้น 9 ยอด บันไดทางขึ้นด้านหน้าวัดวังคำมีสิงห์สีทอง 2 ตัวประดับอยู่ ส่วนด้านหลังสิม ทำเป็นต้นโพธิ์ธรรมประดับกระจกสี ภายในประดิษฐาน หลวงปู่วังคำ พระประธานที่เป็นศิลปะล้านช้างนอกจากสิมหลังใหม่ ที่ได้รับการกล่าวขานถึงความสวยงาม นอกจากนี้ยังมีพระธาตุเจดีย์ที่อยู่ใกล้ๆ กันก็ยังคล้ายกับรูปแบบพระธาตุลำปางหลวง โดยรวมๆ แล้ววัดวังคำสวยงามแปลกตาไปอีกแบบ ก่อนเข้าไปชมความงามของวัด อย่าลืมแต่งชุดผู้ไท เข้าไปด้วยนะครับ ทางวัดจัดไว้บริการสำหรับนักท่องเที่ยวฟรี

ดูตะไลล้าน แวะชมความงามวัดวังคำ สถาปัตยกรรมล้านช้าง  

บรรยากาศตอนจุดตะไลล้าน

ดูตะไลล้าน แวะชมความงามวัดวังคำ สถาปัตยกรรมล้านช้าง

แนวระวังภัย

          เมื่อชมความงามของวัดวังคำแล้ว เราไปตื่นเต้นกับการจุดตะไลล้านของชาวบ้านกุดหว้ากันต่อ ประเพณีบุญบั้งไฟตะไลล้าน ที่บ้านกุดหว้า อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ เป็นประเพณีที่สะท้อนวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวอีสาน เป็นบุญประเพณีการขอฝน เพื่อทำการเกษตร ในการเพาะปลูกข้าวประจำปี การจุดบั้งไฟตะไลล้านบูชาพญาแถน เป็นการสืบสานงานวัฒนธรรมผู้ไท เพื่อสร้างความสมานสามัคคี ความเข้มแข็งของชุมชน และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม มีลักษณะเฉพาะตัวของบั้งไฟเป็นเอกลักษณ์แห่งเดียวของภาคอีสาน คือ ตัวกระบอกของบั้งไฟ ทำด้วยเหล็กบรรจุดินประสิว ยาวตั้งแต่ 3-6 เมตร และชิ้นประกอบอีกส่วนก็คือ ไม้ไผ่สานซึ่งล้อมรอบตัวกระบอกบั้งไฟ อันเป็นเอกลักษณ์ของบั้งไฟตะไลล้าน 

ดูตะไลล้าน แวะชมความงามวัดวังคำ สถาปัตยกรรมล้านช้าง

ตะไลกำลังขึ้น

          บั้งไฟตะไลจะมีการจุดจากกลางลำตัว โดยจะเจาะรูเชื้อเพลิงให้ออกด้านข้างลำตัวของบั้งไฟ ทำให้บั้งไฟหมุนขึ้นท้องฟ้าอย่างรวดเร็ว บ้านกุดหว้า เป็นหมู่บ้านที่มีการผลิตตะไล หมู่บ้านเดียวในประเทศไทย แต่ละปีก็ได้จัดงานประเพณีนี้ขึ้นมา ด้วยทีมช่างทำตะไลยักษ์ที่มีความชำนาญและมีชื่อเสียง เริ่มจากการทำ บั้งไฟตะไลหมื่น เป็น บั้งไฟตะไลแสน และในที่สุดจึงได้มีการสร้างบั้งไฟตะไลขนาดใหญ่หรือ บั้งไฟตะไลล้าน แล้วเพิ่มหน่วยความจุดินประสิวมากขึ้นกลายเป็นตะไลสิบล้าน การแข่งขันตะไลในแต่ละรุ่น จะมีทีมงานเข้าไปติดตั้งที่ฐานจุด ในสนามการแข่งขันที่อยู่กลางทุ่งนา โดยมีกติกาเพื่อความปลอดภัยว่า เมื่อจุดแล้วทุกคนต้องวิ่งเข้ากำแพงดินที่เป็นแนวกำบังเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ หากใครไม่เข้ามาในเขตที่กำหนดไว้ จะถูกปรับให้แพ้ทันที 

ดูตะไลล้าน แวะชมความงามวัดวังคำ สถาปัตยกรรมล้านช้าง

ตะไลกำลังขึ้น

          ในส่วนกติกาการตัดสินว่าของใครขึ้นสูงที่สุด อยู่บนอากาศได้นานที่สุด เมื่อสุดแรงขับดินประสิวแล้ว ร่มชูชีพจะกางลงมาพร้อมกับตะไล คือ ผู้ชนะ ถ้าหากร่มไม่กาง ปรับแพ้ทันที เวลาเข้าไปชมจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลความปลอดภัยไม่ให้คนดูเข้าใกล้รัศมี บอกได้คำเดียวว่าการจุดตะไลที่นี่มีให้ท่านได้ลุ้นระทึกกว่าที่อื่น

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ