ข่าว

3 บก.วิเคราะห์ ฝ่ายค้านท้ารบ "ลุงตู่" เมื่อไม่มีอำนาจพิเศษ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

3 บก.เรียกแขก จองที่นั่ง ชมเกมในสภาฯ ฝ่ายค้านท้ารบ "ลุงตู่" เมื่อไม่มีอำนาจพิเศษ สัปดาห์เปิดฉากตรวจสอบรัฐบาลผ่านการแถลงนโยบาย     

     

       

                 

  เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 62 นายสมชาย มีเสน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Nation Group นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษร บรรณาธิการบริหาร หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และนายบากบั่น บุญเลิศ บรรณาธิการอำนวยการ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ จัดรายการวิเคราะห์การเมืองออกอากาศทางเนชั่น ทีวีช่อง 22 ในหัวข้อ  “ฝ่ายค้านท้ารบ “ลุงตู่” เมื่อไม่มีอำนาจพิเศษ”  

      โดยเบรกแรกเป็นการปูพื้นทางการเมืองว่า ในสัปดาห์หน้า หรือในวันที่ ‪25 -26 ก.ค. นี้ จะถือเป็นปฐมบทของฝ่ายค้านที่จะได้ทำหน้าที่ในสภาฯ หลังเว้นวรรคมานาน ‬7-8 ปี  โดยกระบวนการแรกฝ่ายค้านจะตรวจสอบการบริหารประเทศของรัฐบาล ผ่านการแถลงนโยบายของรัฐบาล

        "นานาชาติตอบรับรัฐบาลจากการเลือกตั้ง"

       สำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา ซึ่งเป็นนายกฯมา 5 ปี แต่มาด้วยสถานการณ์พิเศษ หลังนำคณะรัฐมนตรีเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณ พล.อ.ประยุทธ์ ออกอาการดีใจที่ได้เป็นนายกฯครั้งที่ 2 และเป็นนายกฯจากการเลือกตั้งครั้งแรก

        แต่ในการแถลงนโยบายรัฐบาลจะเป็นครั้งแรกที่ พล.อ.ประยุทธ์ ต้องถูกซักฟอกและต้องนั่งฟังเขาด่า  ซึ่งถือเป็นการทดสอบอารมณ์ของ"บิ๊กตู่" แม้รัฐบาลจะถูกเดินสายโจมตีว่ายังไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ในทัศนะของนานาชาติมองตรงข้าม  โดยนายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งสารแสดงความยินดี ถึงรัฐบาลไทย ว่า “พันธมิตรระหว่างสหรัฐและประเทศไทยแข็งแกร่งเหมือนเช่นที่เคยเป็นมาไม่เปลี่ยนแปลง และเรายังคงสนับสนุนประเทศไทยในฐานะผู้นำของภูมิภาค ซึ่งรวมถึงการเป็นประธานอาเซียนในปีนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างเราจะแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น 

 3 บก.วิเคราะห์ ฝ่ายค้านท้ารบ "ลุงตู่" เมื่อไม่มีอำนาจพิเศษ

         โดย‪ในวันที่‬ ‪2 ส.ค.นี้ สหรัฐฯจะเข้าร่วมการประชุมอาเซียนซัมมิทในประเทศไทยด้วย พร้อมกันนี้ยังได้แต่งตั้ง‬เอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยคนใหม่ หลังจากนี้ทุนและการเมืองของสหรัฐจะเข้ามายังประเทศไทยมหาศาล  เพื่อชิงการนำในภูมิภาค ไม่ปล่อยให้จีนและญี่ปุ่นเข้ามาช่วงชิงฝ่ายเดียว และคาดว่าสหภาพยุโรปกำลังจะตามเข้ามา เนื่องจากในสมัยรัฐบาลคสช.หลายประเทศไม่ให้การต้อนรับรัฐบาลจากการรัฐประหาร

      ลุ้น "ลุงตู่" ขาดอำนาจพิเศษ  ไปต่ออย่างไร ?

    นับจากวันที่  16 ก.ค.ที่ผ่านมา ถือว่าอำนาจพิเศษ คสช.ที่ พล.อ.ประยุทธ์เคยมีได้หายไป ไม่มีอำนาจเรียกใครมาปรับทัศนคติได้อีกต่อไป  

 3 บก.วิเคราะห์ ฝ่ายค้านท้ารบ "ลุงตู่" เมื่อไม่มีอำนาจพิเศษ

      โดย 5 ปีที่ผ่านมา คสช.เรียกบุคคลเข้าไปปรับทัศนคติมากถึง 1,349 คน   รวมถึงเหล่าคนดัง อาทิ นายจาตุรนต์ ฉายแสง นายวัฒนา เมืองสุข นายสมบัติ บุญงามอนงค์ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ และนายพิชัย นริพทะพันธุ์

 3 บก.วิเคราะห์ ฝ่ายค้านท้ารบ "ลุงตู่" เมื่อไม่มีอำนาจพิเศษ

   

     และยังใช้อำนาจ คสช.ออกกฎระเบียบพิเศษ 456 ฉบับ แบ่งเป็นประกาศ คสช. 132 คำสั่ง คสช.166 ฉบับ  และ ใช้อำนาจ ม.44 อีก 158 ฉบับ  จนถึงขณะนี้คำสั่งและประกาศคสช. 65 ฉบับ ยังมีผลบังคับใช้ เพราะมีสถานะเป็นกฎหมาย  การจะยกเลิกหรือแก้ไขต้องทำเป็นพระราชบัญญัติ

 3 บก.วิเคราะห์ ฝ่ายค้านท้ารบ "ลุงตู่" เมื่อไม่มีอำนาจพิเศษ

     เมื่อนับรวมกับการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ผ่านกฎหมาย 456 ฉบับ รวม 5 ปี  สนช.และคสช. ออกกฎหมาย 912 ฉบับ หลังจากไม่มีอำนาจพิเศษ รัฐบาลจึงถูกท้าทายโดยฝ่ายค้าน ซึ่งสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้โดยไม่ต้องถูกเรียกปรับทัศนคติ

       3 บก.วิเคราะห์ ฝ่ายค้านท้ารบ "ลุงตู่" เมื่อไม่มีอำนาจพิเศษ

       ฝ่ายค้านซุ่มลับฝีปาก 50 ขุนพล รุมถล่ม รมต.มีแผล

      ในช่วงเบรกที่ 2 เป็นการวิเคราะห์ถึงพรรคฝ่ายค้านเตรียมทีม ส.ส. 50 คนถล่ม"ลุงตู่"  เพราะที่ผ่านมาปฏิกริยาของประยุทธ์ จะตอบโต้สิ่งเร้าทันที "บิ๊กตู่"ที่บอกว่าจะใจเย็นจึงถูกจับจ้องว่า จะใจเย็นมากได้แค่ไหน อย่างไร โดยในช่วงสุดสัปดาห์นี้พรรคฝ่ายค้านจะเปิดติว ซ้อมซักฟอกรัฐบาล ผู้ที่จะผ่านการคัดเลือกต้องผ่านการทดสอบ ดาวเด่นของฝ่ายค้านสอบตกหมด รัฐบาลทำนโยบาย 16 กลุ่ม แต่ฝ่ายค้านจัดทีมอภิปราย 6 หมวด ได้แก่ เศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง สังคม การศึกษา และการกระจายอำนาจ 

     3 บก.วิเคราะห์ ฝ่ายค้านท้ารบ "ลุงตู่" เมื่อไม่มีอำนาจพิเศษ

     "3 ป." เป้าถล่ม ปมสืบทอดอำนาจ

    เป้าในการอภิปรายกำหนดตัวรัฐมนตรีอยู่ในข่ายต้องถูกอภิปราย 4 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็น "กลุ่ม 3 ป. " พล.อ.ประยุทธ์ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ประเด็นสืบทอดอำนาจ ต่อเนื่องมาจากคสช. พ่วงด้วยประเด็นการขายที่ดินนายกฯ ,นาฬิกา และการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ซึ่งกลุ่ม 3 ป. ถือเป็นหัวใจรัฐบาล จึงเป็นเป้าหลักของการอภิปราย และเชื่อได้ว่าฝ่ายรัฐบาลจะต้องจัดทีมองครักษ์พิทักษ์ 3 ป. 

       กลุ่มที่ 2 เป็นรัฐมนตรีที่มีคดีค้าง นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง คดีทุจริตอนุมัติเงินกู้ของธนาคารกรุงไทยให้กับเครือกฤษดามหานคร, ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ กับคดีที่เคยถูกจำคุกในประเทศออสเตรเลีย  นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม กรณีเครื่องยนต์โรลล์-รอยซ์ นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล หรือกำนันป้อ รมช.พาณิชย์ ในเรื่องเอกสารสิทธิ์ที่ดินสปก. น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ กับโครงการบ่อบำบัดน้ำเสีย จ.อุทัยธานี และนายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย กรณีงบอุดหนุดสมาคมกีฬา จ.สงขลา

    กลุ่มที่ 3 รัฐมนตรีที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีกบฏ กปปส. หรือการชุมนุมขับไล่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกอบด้วย นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์  รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกลุ่มที่ 4 รัฐมนตรีถือครองหุ้นสื่อ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รมว.แรงงาน นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายเทวัญ ลิปตพัลลภ ซึ่งกระบวนการอยู่ในชั้นศาลรัฐธรรมนูญ

    จับตาเวทีปั้นดาวสภาฯ -ทีมองครักษ์พิทักษ์"ลุง"

   หลัง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง สอบตกไม่ได้เป็นส.ส. ดาวเด่นที่ฝ่านค้านปั้นให้มาเป็นดาวสภาฯดวงใหม่ ทีมเพื่อไทย นำโดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว จองกฐินอภิปรายนายอุตตม นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ นายขจิตร ชัยนิคม นายชวลิต วิชยสุทธิ์ และนายสงวน พงษ์มณี ขณะที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน มีพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย แม้ข้อมูลอภิปรายอาจไม่มากเท่าไรแต่คำพูดแรง ซึ่งส่วนตัวของพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ก็มีเรื่องติดตัวอยู่จำนวนมาก คาดว่าเมื่อลุกขึ้นอภิปรายจะถูกแฉกลับ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ

       3 บก.วิเคราะห์ ฝ่ายค้านท้ารบ "ลุงตู่" เมื่อไม่มีอำนาจพิเศษ

       ส่วนพรรคอนาคตใหม่ นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรค  นายชำนาญ จันทร์เรือง น.ส.พรรณิการ์ วานิช คาดว่าจองอภิปรายประเด็นสืบทอดอำนาจ  

 3 บก.วิเคราะห์ ฝ่ายค้านท้ารบ "ลุงตู่" เมื่อไม่มีอำนาจพิเศษ

      สำหรับกุนซือนอกสภาฯ ประกอบด้วย นายจาตุรนต์  ฉายแสง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และนายอดิศร เพียงเกษ อดีตดาวอภิปรายทีมเก๋าทั้งข้อมูลและลีลา     

 3 บก.วิเคราะห์ ฝ่ายค้านท้ารบ "ลุงตู่" เมื่อไม่มีอำนาจพิเศษ

     อย่างไรก็ตาม การอภิปรายนโยบายรัฐบาลไม่มีผลกระทบต่อรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดว่าในการแถลงนโยบายรัฐบาลไม่ต้องลงมติ หลังการแถลงนโยบาย นายกฯและรัฐมนตรีสามารถไปประชุม ครม.ได้เลย  ไม่ต้องนั่งรับฟังหรือไม่ต้องตอบข้อซักถามใดๆ ก็ได้ สิ่งที่ฝ่ายค้านทำได้คือทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไปเรื่อยๆ  ส่วนผลจะออกมาอย่างไรขึ้นอยู่กับการตอบและข้อมูลสวนกลับของรัฐบาล เพราะการเปิดให้พูดกันในสภาฯ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน ใครพูดไม่ดีก็ดับได้ และเชื่อได้ว่าเป้าโจมตีของฝ่ายค้านจะพุ่งไปที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) 

    " เพื่อไทย"จับมือ"ธนาธร" ตีโอบโค่น"ลุงตู่" 

      ในช่วงเบรก ที่ 3 เป็นการวิเคราะห์ว่า รัฐบาล"ลุงตู่"จะอยู่สั้นหรืออยู่ยาว ขึ้นอยู่กับบทบาทของ 2 พรรคฝ่ายค้าน
เพื่อไทย-อนาคตใหม่  ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า พรรคเพื่อไทยสืบทอดมาจากไทยรักไทยและพลังประชาชน  ล่าสุดพรรคเพื่อไทยเริ่มเดินเกมปรับกระบวนทัพรองรับการทำงานในสภาฯ ส่วนพรรคอนาคตใหม่ จะเน้นการเมืองบนถนน โดยโครงสร้างปัจจุบันของพรรคเพื่อไทย มีตัวแทนจาก 2 กลุ่ม และ 1 ซีก กลุ่มแรกเป็นของ "เจ๊หน่อย "คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ุ กลุ่มที่ 2 วังบัวบาน ของ"เจ๊แดง "นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ และซีกที่ 3 นายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งประกาศยุติท่อไปแล้ว 

    "พท."ใต้ปีก "2  เจ๊"ไม่แน่นแฟ้น ท่อน้ำเลี้ยงกระปิดกระปอย

    สำหรับนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ก่อนหน้านี้ได้รับการวางตัวจากยุทธการแตกแบงค์พัน ของนายทักษิณให้เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อธรรม แม้แถลงข่าวเปิดตัวพรรคไปแล้ว แต่สุดท้ายนายสมพงษ์มาสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนล่าสุด  แม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะเป็นคู่ขัดแย้งกับรัฐบาล  แต่นายสมพงษ์ซึ่งเคยเป็นหัวหน้ากลุ่ม 16 มีสายสัมพันธ์อันดีกับนายเนวิน ชิดชอบ และนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาฯ มาก่อน และที่สำคัญนายสมพงษ์สามารถต่อสายตรงคุยกับพล.อ.ประยุทธ์ได้ 

      3 บก.วิเคราะห์ ฝ่ายค้านท้ารบ "ลุงตู่" เมื่อไม่มีอำนาจพิเศษ

     ส่วนเหตุผลที่คุณหญิงสุดารัตน์ไม่รับเป็นหัวหน้าพรรค เสียเองนั้น อาจเป็นผลจากหากเกิดเหตุพลาดพลั้งพรรคถูกยุบ กรรมการบริหารพรรคจะถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ที่ผ่านมาคุณหญิงสุดารัตน์จึงรับการเสนอชื่อเป็นเพียงประธานพรรคแล้วส่ง นอ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ มือขวามาเป็นเลขาธิการพรรค ทั้งนี้เมื่อเจาะเข้าไปดูโครงสร้างกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย จะพบว่ารายชื่อกรรมการบริหารพรรคเป็นมือกฎหมาย ส.ส.เขต และผู้สมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ แต่ด้วยเหตุที่พรรคถูกคุมด้วย 2 เจ๊  กรรมการบริหารพรรคจึงแบ่งเป็น 2 ขั้ว ไม่แน่นแฟ้นเหมือนในอดีต ท่อน้ำเลี้ยงกระปิดกระปรอย ไม่เต็มสูบ ส.ส.ที่พรรคเพื่อไทยวางตัวดาวสภาฯ มีบทบาทน้อยกว่ากรรมการบริหารพรรค 

"คนเดือนตุลาแกนหลักขับเคลื่อน อนค."

     สำหรับพรรคที่มีสีสันในทางการเมือง คือ พรรคอนาคตใหม่ ซึ่งจดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ ‪15 มี.ค.‬61 แต่ก่อนหน้านั้น มีการรวมตัวของกลุ่มคนฝ่ายซ้ายที่เคยทำงานให้กับนายทักษิณ โดยแกนนำหลักที่ไม่ถูกเปิดเผยเป็นคนเดือนตุลา ส่งให้นายอำนาจ สถาวรฤทธิ์ อดีตคนเดือนตุลา มาเป็นที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค ฝ่ายการเมือง  และมีนายพิชัย พืชมงคล ที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดการบริษัทธรรมนิติ จำกัด (มหาชน) น้องชายของนายไพศาล พืชมงคล กับนายพลากร จิรโสภณ เจ้าของธุรกิจตุ๊กตาหมี เป็นผู้สนับสนุน นอกจากนี้ยังมีกระแสว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย  อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ เจ้าของฉายาหูกระต่าย และเครือข่ายคนเดือนตุลาอีกเป็นแผง จะย้ายมารวมกลุ่มเพื่อขับเคลื่อนพรรคอนาคตใหม่ด้วย

 3 บก.วิเคราะห์ ฝ่ายค้านท้ารบ "ลุงตู่" เมื่อไม่มีอำนาจพิเศษ


    "พท.-อนค."เปิดยุทธการป่าล้อมเมือง ชิงที่นั่งท้องถิ่น

     เกมการเมืองที่พรรคเพื่อไทยจับมือกับพรรคอนาคตใหม่ เน้นติดอาวุธเปลี่ยนความคิดของคนรุ่นใหม่ เปิดยุทธการป่าล้อมเมือง ยึดหัวเมืองหลักและการเมืองท้องถิ่น ซึ่งพรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคตใหม่ จะต้องส่งผู้สมัครชิงที่นั่งในสนามกทม. และชิงที่นั่งสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เพื่อสร้างพลังในขอนแก่น เชียงใหม่ ชลบุรี ปทุมธานี สงขลา และนครราชสีมา

     3 บก.วิเคราะห์ ฝ่ายค้านท้ารบ "ลุงตู่" เมื่อไม่มีอำนาจพิเศษ

   โดยนายธนาธร เชื่อว่าภายใน ปี 2562 นี้ จะยังไม่มีการเลือกตั้งผู้ว่ากทม. พรรคอนาคตใหม่จะมุ่งหน้าเรื่องการเมืองท้องถิ่นอย่างเดียว ขณะที่พรรคพลังประชารัฐ ก็รู้ว่ามีนายธนาธรและพรรคเพื่อไทยเป็นคู่ต่อสู้หลัก  ในพื้นที่ภาคเหนือจึงมอบให้ร.อ.ธรรมนัส เป็นผู้ดูแลสนามการเลือกตั้งในภาคเหนือ


 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ