ข่าว

“สามแยกไฟฉาย” กลายสภาพเป็น “สี่แยกไฟฉาย” (มีคลิป)

“สามแยกไฟฉาย” กลายสภาพเป็น “สี่แยกไฟฉาย” (มีคลิป)

03 เม.ย. 2560

เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นกับชื่อ “สามแยกไฟฉาย” ถนนจรัญสนิทวงศ์ แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิม จากการพัฒนาของตัวเมืองและมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

      เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นกับชื่อ “สามแยกไฟฉาย” ถนนจรัญสนิทวงศ์ แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิม จากการพัฒนาของตัวเมืองและมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
 

                       

      แยกไฟฉายแต่เดิมมีสภาพเป็นสามแยก เกิดขึ้นภายหลังการต่อขยายถนนพรานนก ซึ่งเป็นถนนลาดยางจากสามแยกปากถนนพรานนกตัดถนนอิสรภาพ (สี่แยกพรานนก) เข้ามาบรรจบกับถนนลูกรังในโครงการทางหลวงสายบางซ่อน-สะพานพระราม 6-บางกอกน้อย (ถนนจรัญสนิทวงศ์ในปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. 2484
      ปัจจุบันสามแยกไฟฉาย กลายสภาพเป็นสี่แยกไปแล้ว เนื่องจากโครงการถนนพรานนกตัดใหม่แล้วเสร็จ ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2558 จึงเกิดสภาพเป็นสี่แยก โดยเชื่อมถนนจรัญสนิทวงศ์ ไปยัง ถนนราชพฤกษ์ ถนนพุทธมณฑลสาย1 และ ถนนกาญจนาภิเษก อีกทั้งยังถนนจรัญสนิทวงศ์ยังเป็นเส้นทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ อีกด้วย

“สามแยกไฟฉาย” กลายสภาพเป็น “สี่แยกไฟฉาย” (มีคลิป)


“สามแยกไฟฉาย” กลายสภาพเป็น “สี่แยกไฟฉาย” (มีคลิป)

      ข้อมูลจากวิกิพีเดียบอกว่า ชื่อสามแยกไฟฉายเกิดขึ้นในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งไทยเข้าร่วมสงครามกับญี่ปุ่น ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีทางอากาศด้วยการทิ้งระเบิด เพื่อทำลายจุดยุทธศาสตร์และตัดขาดการคมนาคมของกองทัพญี่ปุ่น สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้มีการติดตั้งไฟฉายขนาดใหญ่หลายจุด เพื่อช่วยค้นหาให้หน่วยปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานสกัดกั้นเครื่องบินทิ้งระเบิด ซึ่งสามแยกไฟฉายเป็นอีกหนึ่งจุด ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับจุดยุทธศาสตร์สำคัญคือ สถานีรถไฟบางกอกน้อย กรมอู่ทหารเรือ แะพระบรมมหาราชวัง และพื้นที่พระนครชั้นใน จึงเป็นที่มาของสามแยกไฟฉาย / ภาพ ธัชดล ปัญญาพานิชกุล NationPhoto

“สามแยกไฟฉาย” กลายสภาพเป็น “สี่แยกไฟฉาย” (มีคลิป)


“สามแยกไฟฉาย” กลายสภาพเป็น “สี่แยกไฟฉาย” (มีคลิป)


“สามแยกไฟฉาย” กลายสภาพเป็น “สี่แยกไฟฉาย” (มีคลิป)