ข่าว

อัยการ ถามคดี "ณิชา" ค้านประกันตัว เพราะแบบฟอร์มหรือ?

อัยการ ถามคดี "ณิชา" ค้านประกันตัว เพราะแบบฟอร์มหรือ?

10 ม.ค. 2561

อัยการตั้งคำถามคดี "ณิชา" ถูกค้านประกันตัว ปัญหาอยู่ที่ไหน ค้านตามแบบฟอร์มหรือไม่ จี้พนักงานสอบสวนใช้ดุลพินิจ ชี้ทำงานกับเสรีภาพต้องใช้ปัญญา

จากกรณีที่  น.ส. ณิชา เกียรติธนะไพบูลย์  ออกมาระบุว่าถูกล้วงกระเป๋า และต่อมาได้แจ้งอายัดบัตรประชาชนที่หายไปแต่กลับถูกนำไปใช้เพื่อเปิดบัญชีของแก๊งค์คอลล์เซ็นเตอร์  ล่าสุด นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม รองอธิบดีอัยการสำนักงานชี้ขาดคดี สำนักงานอัยการสูงสุดได้ ออกมาโพสต์เฟซบุ๊ค ในหัวข้อว่า   กระบวนการยุติธรรมกับน้องนิชา "เหยื่อ" หรือ "ผู้ต้องหา" 

    โดยมีเนื้อหาระบุว่า    จากกรณีน้องนิชาถูคนร้ายล้วงกระเป๋า แล้วมีการนำบัตรประชาชนไปขอเปิดบัญชีธนาคารหลายแห่งหลายบัญชี เมื่อน้องทราบว่าถูกออกหมายจับก็ไปมอบตัวแล้วถูกขังเพราะประกันตัวไม่ได้ ปัญหามันอยู่ตรงไหน นอกจากเรื่องของการเปิดบัญชีกับธนาคาร เรื่องข้อมูลในบัตรประชาชนที่ใครบ้างสามารถใช้ได้ ผมว่าเราหลงทางกันพสมควร ปัญหาเรื่องนี้ ในกระบวนการยุติธรรมก็มีข้อบกพร่องเพราะตัวบุคคลและข้อปฎิบัติอยู่ไม่น้อย ซึ่งฝ่ายที่เกี่ยงข้องต้องนำไปแก้ไขเสียใหม่
 
    เรื่องแรกคือ การที่ส่งหมายไปยังน้องนิชานั้น ปรากฎว่าหมายไม่ถึงตัวน้อง ไม่ถึงครอบครัวน้อง ไปฝากใครก็ไม่รู้ ตร.เขาวางระเบียบว่าถ้าส่งโดยทางไปรษณีย์ไม่ได้สองครั้ง ให้ขอศาลออกหมายจับ โดยใช้เหตุผลว่า "ผู้ถูกออกหมายเรียกหลบหนี" ตาม ป.วิอาญา มาตรา ๖๖(๒) ซึ่งบางครั้งส่งผิดบ้านก็มี ทำไมไม่ให้ตำรวจในท้องที่ไปตรวจสอบให้แน่ว่าชัดก่อนว่าเขาหลบหนีจริงหรือ เพราะหากเขามีข้อแก้ตัวอันสมควร ก็ไม่อาจออกหมายจับได้ พนักงานสอบสวนไม่ควรใช้แต่เพียงข้อสันนิฐานตามระเบียบ ตร.เท่านั้น ซึ่งต่อไปหากเป็นไปได้ศาลก็ควรจะไต่สวนพนักงานสอบสวนก่อนออกหมายจับให้ได้ความชัดเจนด้วยเช่นกัน มิใช่ขอมาด้วยกระดาษใบเดียวแล้วออกให้เลย เพราะเราไม่สามารถคุ้มครองสิทธิของประาชนได้เลย 

    ประการที่สอง การออกหมายจับก็เพื่อเอาตัวมาดำเนินคดี ไม่ใช่จับมาแล้วต้องเอาไปฝากขังศาลทุกกรณี เพราะ ป.วิอาญา ม.๖๔ ระบุแต่เพียงว่า ถ้ามีการจับบุคคลตามหมายจับหรือสิ่งของที่มีหมายให้ค้นได้ค้นพบแล้ว ถ้าสามารถจะทำได้ก็ให้ส่งบุคคลหรือสิ่งของนั้นโดยด่วนไปยังศาลซึ่งออกหมาย หรือเจ้าพนักงานตามที่กำหนดไว้ในหมายแล้วแต่กรณี เว้นแต่จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ซึีงในทางปฏิบัติในหมายก็จะระบุให้ส่งไปที่สถานีตำรวจชอง่พนักงานสอบสวนผู้่ขอหมายจับเท่านั้น อย่าไปอ้างว่าต้องส่งศาลเพียงอย่างเดียว ตาม ป.วิอาญา ม ๘๔/๑ ดังนั้น ถ้าในหมายไม่ระบุว่าต้องส่งตัวผู้ถูกจับไปศาล เมื่อพนักงานสอบสวนซึ่งรับตัวผู้ถูกจับไว้ จะปล่อยผู้ถูกจับชั่วคราวหรือควบคุมผู้ถูกจับไว้ก็ได้ ยิ่งถ้าปรากฎว่าน้องนิชาเขาเข้าพบเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบเอง ก็แสดงว่าเขาไม่ได้หลบหนี ก็ให้ประกันเองก็ได้ หรือ "ไม่ควรคัดค้าน" การขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลว่า "เกรงจะกลบหนี" ที่คัดค้านเพราะแบบฟอร์มขอฝากขังมันเขียนไว้อย่างนั้นใช่มั๊ย เลยไม่ต้องใช้สมองไตร่ตรองว่าควรจะปฏิบัติกับผู้ต้องหาแต่ละรายอย่างไร อีกเมื่อสอบสวนเบื้องต้นแล้วน้องเขาเตรียมเอกสารมาแสดงพอสมควรก็ควรสอบสวนให้ได้ความในระดับหนึ่งว่าเขาน่าจะเป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่ก่อนที่จะฝากขัง ประการที่สาม เราควรเลิกการกำหนดวงเงินประกันตามความเสียหายในคดีอาญาเสียที่ ปกติเขาจะบอกว่าต้องใช้หลักทรัพย์หรือวงเงินร้อยละ ๓๐ ของความเสียหาย ยิ่งในกรณีน้องนิชานี้ชัดเจน ถ้าเขามิได้กระทำความผิดเลย ความเสียหายก็มิได้เกิดจากตัวน้อง แล้วมันจะยุติธรรมกับคนที่ถูกจับหรือไม่ ม้นเป็นบทเรียนของคนในกระบวนการยุติต้องมาขบคิดกันอีกครั้ง การทำงานกับเสรีภาพของคนต้องใช่สติปัญญา ความละเอียดรอบคอบมากกว่าปกติครับ อย่าให้เกิดเหตุการณ์แบบน้องนิชาอีกเลยครับ เราทำได้ ถ้าเราจะใช้เหตุผลในการรับฟังความอย่างรอบด้านโดยเฉพาะพนักงานสอบสวนซึ่งเป็น "ต้นธารแห่งความยุติธรรม"
--------