ข่าว

เปิดคำพิพากษาอุทธรณ์ "ปลอดประสพ" แกล้ง ขรก.ป่าไม้ขึ้นซี 9 ??

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศาลอุทธรณ์ สั่งชดใช้ 1.4 ล้าน-จำคุกจริง 2 ปี "ปลอดประสพ" ยกเลิกคำสั่งขึ้นซี 9 แกล้ง "วิฑูรย์ อดีต ขรก.ป่าไม้"เสียโอกาสปี 46 แถมเห็นชอบดำรงค์ พิเดช ให้ย้ายลดซี8

          17 เม.ย.61- ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ซ.สีคาม ถ.นครไชยศรี ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีหมายเลขดำ อ.1063/2558 ที่นายวิฑูรย์ ชลายนนาวิน อดีต รองอธ.กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายปลอดประสพ สุรัสวดี อายุ 73 ปี อดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ และ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 

เปิดคำพิพากษาอุทธรณ์ "ปลอดประสพ" แกล้ง ขรก.ป่าไม้ขึ้นซี 9 ??

นายวิฑูรย์ ชลายนนาวิน 

         โดยฟ้องโจทก์ ระบุพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อวันที่ ..46 นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้นมีคำสั่ง399/2546 แต่งตั้งโจทก์ ดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนัก (นักวิชาการป่าไม้ 9) สำนักส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรสหกรณ์ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ..46 แต่จากนั้นมีการตรา พ...โอนป่ากรมป่าไม้ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีผลหลังลงราชกิจจานุเบกษาวันที่ 30 ..46 ซึ่งขณะนั้นโจทก์ ดำรงตำแหน่ง ผอ.กองการอนุญาต กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรฯ

          ต่อมาระหว่างวันที่ 1 ..46-12 ..46 จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ มีอำนาจสั่งการ อนุญาต อนุมัติ ได้ออกคำสั่งกระทรวงทรัพยากรฯที่ 287/2546 เมื่อวันที่ 1 ..46 ให้ระงับการมอบหมายงานในหน้าที่ตามคำสั่ง 399/2546 ซึ่งแต่งตั้งโจทก์ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนัก (นักวิชาการป่าไม้ 9) โดยให้ถือว่าเป็นการยกเลิกคำสั่งดังกล่าวไว้ก่อนอันเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยไม่ชอบเพื่อยังยั้งไม่ให้ โจทก์ได้เลื่อนตำแหน่ง สาเหตุเนื่องจาก โจทก์กับจำเลยมีเรื่องโกรธเคืองในเรื่องส่วนตัวกันมาก่อน

         กระทั่งวันที่ 12 ..46 จำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ ด้วยการให้นายดำรงค์ พิเดช ออกคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 543/2546 ย้ายโจทก์ไปตำแหน่ง “ป่าไม้จังหวัดอำนาจเจริญ” ซึ่งเป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญระดับ 8 เป็นการย้ายให้ปฏิบัติหน้าที่ต่ำกว่าระดับเดิม อีกทั้งก็ไม่ใช่ความจำเป็นที่ต้องรีบดำเนินการ และจำเลยก็ทราบดีว่า นายดำรงค์ ไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์ ดังนั้นคำสั่งย้ายที่จำเลยให้ความเห็นชอบนั้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

       การกระทำของจำเลย จึงเป็นผลให้โจทก์ ได้รับความเสียหายต่อเสียชื่อเสียง และเสียสิทธิไม่ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นระดับ 9 จึงขอให้ชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ด้วย 2 ล้านบาท เหตุเกิดที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. โดยนายปลอดประสพ จำเลย ให้การปฏิเสธต่อสู้คดีโดยตลอด

เปิดคำพิพากษาอุทธรณ์ "ปลอดประสพ" แกล้ง ขรก.ป่าไม้ขึ้นซี 9 ??

        คดีนี้ “ศาลชั้นต้น” มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 29 มี..60 เห็นว่า นายวิฑูรย์ โจทก์ มีคุณสมบัติที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหารได้ แต่การที่จำเลย มีคำสั่งไม่แต่งตั้งโจทก์ ให้เลื่อนขั้นเป็นข้าราชการระดับ 9 นั้น ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย จำเลยจึงมีความผิดตามฟ้องจริง พิพากษาให้จำคุก 1 ปี และปรับ 20,000 บาท ขณะที่โทษจำคุกให้รอลงอาญา ไว้ 2 ปี และให้ นายปลอดประสพ จำเลย ชดใช้เงินค่าเสียหายแก่นายวิฑูรย์ โจทก์ ด้วยจำนวน 1.4 ล้านบาท

       ต่อมา “นายปลอดประสพ” จำเลย ยื่นอุทธรณ์ ขอให้พิพากษายกฟ้อง ขณะเดียวกัน “นายวิฑูรย์” โจทก์ ก็ยื่นอุทธรณ์ไม่ให้รอการลงโทษด้วย

      ขณะที่ “ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ” ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว เห็นว่า "นายวิฑูรย์ โจทก์" มีตัวเองเป็นพยานเบิกความว่า การออกคำสั่งของจำเลยนั้นไม่ชอบ กลั่นแกล้งโจทก์ไม่ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นระดับ 9 แล้วจำเลยก็โอนย้าย นายดำรงค์ พิเดช จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มาดำรงตำแหน่งแทนโจทก์ เท่ากับระงับการเลื่อนตำแหน่งโจทก์ ซึ่งโจทก์ควรต้องกลับตำแหน่ง ผอ.กองการอนุญาตตามเดิม แต่กลับมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปเป็นป่าไม้จังหวัดอำนาจเจริญ แล้วย้ายป่าไม้จังหวัดอำนาจเจริญ มาดำรงตำแหน่ง ผอ.กองการอนุญาตแทนโจทก์ โดยการสั่งย้ายใช้เวลาเพียงวันเดียว และยังเป็นการออกคำสั่งขณะอธิบดีกรมป่าไม้เดินทางไปราชการต่างประเทศด้วยโดยขณะนั้นจำเลยสั่งให้นายดำรงค์ มารักษาราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ ส่วนเหตุผลการย้ายอ้างว่าโจทก์ก่อกวนการทำงาน ซึ่งการย้ายนี้ก็ย้ายโจทก์เพียงคนเดียวและในระดับที่ต่ำกว่าเดิมด้วยเสมือนเป็นการลงโทษ โดยโจทก์กับจำเลย เคยมีข้อพิพาทกันเมื่อปี 2541 ขณะที่จำเลยเป็นอธิบดีกรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงกับโจทก์โดยไม่มีการสอบสวนข้อเท็จจริง ไม่ให้โอกาสโจทก์และผู้เกี่ยวข้องไปเป็นพยานในการสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อโต้แย้งข้อกล่าวหา ซึ่งโจทก์เคยกล่าวโทษจำเลย ต่อพนักงานสอบสวน สน.บางเขน จนมีการส่งเรื่องไปยัง ป...ด้วย กระทั่งปี 2543 คณะอนุกรรมการสามัญประจำกรมป่าไม้เรื่องสอบสวนวินัยโจทก์ กล่าวหาว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่มิชอบเกี่ยวกับไม้ของกลาง ที่มีจำเลย เป็นผู้แต่งตั้งและเป็นประธาน ก็มีมติให้ปลดโจทก์ออกจากราชการ และต้นปี 2544 จำเลยยังตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงโจทก์ เรื่องการตรวจสอบพื้นที่ทำนากุ้ง จ.ตรังและสตูลอีก แต่การสอบสวนข้อเท็จจริงไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับโจทก์ จึงยุติเรื่อง 

        ส่วน "นายปลอดประสพ" จำเลย ก็มีตัวเองเป็นพยานเบิกความว่า เมื่อดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ วันที่ 1 ..46 มีหน้าที่กำกับดูแลอัตรากำลัง ตรวจสอบพบว่า มีคำสั่งการแต่งตั้งโยกย้ายน่าจะไม่ชอบและอาจขัด มติ ครม. ถึง 2 คำสั่ง โดยคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ ก็เป็นหนึ่งในนั้น จึงแจ้งไปยัง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) ตรวจสอบ ระหว่างนั้นจำเลยจึงมีคำสั่งให้ชะลอการแต่งตั้งก่อน ซึ่งต่อมา กพ. ก็ตอบกลับมาว่าให้ยกเลิกคำสั่งนายบรรพต อดีตปลัด ส่วนการย้ายนายดำรงค์นั้น ก็เพราะเป็นข้าราชการอาวุโสระดับ 9 ซึ่งขณะย้ายกรมป่าไม้ไม่มีข้ราชการระดับ 9 และการย้ายข้ราชการระดับ 9 ก็เป็นอำนาจของปลัดกระทรวงดังนั้นจำเลยจึงมีอำนาจย้ายนายดำรงค์ข้ามหน่วยมา และยังย้ายบุคคลอื่นด้วย ซึ่งศาลปกครองสูงสุดก็เห็นว่าคำสั่งย้ายนายดำรงค์นั้นชอบด้วยกฎหมาย ขณะที่นายดำรงค์เสนอย้ายโจทก์โดยให้เหตุผลว่าโจทก์มีพฤติกรรมก่อกวนการทำงานและนำคนนอกมาร่วมทำงานในห้อง ไม่ปฏิบัติงานในหน้าที่ ผอ.กองการอนุญาต 

เปิดคำพิพากษาอุทธรณ์ "ปลอดประสพ" แกล้ง ขรก.ป่าไม้ขึ้นซี 9 ??

       “ศาลอุทธรณ์ฯ” เห็นว่า ตาม พ...โอนกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปเป็นกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พ..2546 ได้บัญญัติกำหนดให้การกระทำต่างๆ ของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรฯ โอนไปเป็นอำนาจหน้าที่ของกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรฯ ดังนั้นคำสั่งปลัดกระทรวงเกษตรฯ ที่ได้ออกไว้โดยชอบด้วยกฎหมายจึงมีผลบังคับเมื่อมีการโอนกรมป่าไม้ไปยังกระทรวงทรัพยากรฯ การที่มีคำสั่งดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย และผู้ที่ได้รับแต่งตั้งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย ต้องถือว่าคำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับตามกฎหมาย แม้คำสั่งนั้นไม่ได้ปฏิบัติตามแนวทางที่ ครม. มีมติกำหนดให้ข้าราชการผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ปฏิบัติก็ตาม แต่คำสั่งนั้นก็ยังชอบด้วยกฎหมายเพียงแต่ผู้ที่ออกคำสั่งอาจถูกดำเนินการทางวินัยได้ ซึ่งกรณี “โจทก์” เป็นผู้ที่ได้เลื่อนชั้นและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ ไม่ใช่ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามมติ ครม. จึงถือว่าโจทก์ ได้รับการเลื่อนชั้นและได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยมีคำสั่งให้ให้ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งเดิมจึงกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย

        ส่วนการกระทำของจำเลย มีเจตนาทุจริตให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ หรือไม่? “ศาลอุทธรณ์ฯ” เห็นว่า การที่จำเลย ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงฯ ในฐานะผู้บังคับบัญชากรมป่าไม้ สงสัยว่าคำสั่งแต่งตั้งถูกต้องหรือไม่ ก็สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ ดังนั้นการที่จำเลยหารือไปยัง กพ.ถือว่าสามารถทำได้ แต่ก็ปรากฏว่าจำเลยได้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งเดิมในทันที ที่จำเลยมีอำนาจบังคับบัญชากรมป่าไม้ทั้งที่ยังไม่แน่ชัดว่าคำสั่งนั้นมีผลตามกฎหมายหรือไม่ แล้วเมื่อจำเลย ได้รับแจ้งจาก กพ.ว่าคำสั่งนั้นออกโดยฝ่าฝืนมติ ครม. ซึ่ง กพ.ให้กระทรวงโดยปลัด ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ แต่จำเลยกลับรีบร้อนรับโอนและแต่งตั้ง นายดำรงค์ มาดำรงตำแหน่ง ผอ.ส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจซึ่งเป็นตำแหน่งที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งและปลัดกระทรวงฯ ยังไม่มีคำสั่งให้ยกเลิก

        นอกจากนี้ตามคำสั่งของจำเลยที่ออกไว้ ก็ให้เหตุผลว่า หากทราบผลการหารือว่าคำสั่งแต่งตั้งเดิมนั้นไม่ถูกต้องก็จะดำเนินการสรรหาใหม่ และผู้ที่เคยได้รับการแต่งตั้งนั้นจะได้รับการพิจารณาด้วย แต่จำเลยกลับแต่งตั้งนายดำรงค์ มาอย่างรวดเร็ว ไม่ได้มีการสรรหาใหม่และไม่ให้โอกาสโจทก์ตามที่ตัวเองมีคำสั่งไว้ ประกอบกับโจทก์และจำเลยต่างกล่าวหารวมทั้งฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมหลายคดี จึงน่าเชื่อว่าจำเลยมีสาเหตุโกรธเคืองโจทก์มาก่อน ดังนั้นเชื่อว่าจำเลยมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งการแต่งตั้งโจทก์ เป็นระดับ 9 นั้นเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาส่าจำเลยกระทำผิดนั้น ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์จำเลยฟังไม่ขึ้น

         ส่วนที่ “โจทก์” ยื่นอุทธรณ์ว่า จำเลยเป็นผู้ใช้ให้นายดำรงค์ พิเเดช กระทำผิดย้ายโจทก์ ไปเป็นป่าไม้จังหวัดอำนาจเจริญนั้น “ศาลอุทธรณ์” เห็นว่า ขณะนั้น นายดำรงค์ ขอความเห็นชอบจำเลยในการโยกย้ายโจทก์นั้น จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่า กพ. มีมติให้ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ แต่ขณะที่นายดำรงค์โยกย้ายโจทก์นั้นปลัดกระทรวงฯยังไม่ได้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งนั้น จึงเท่ากับว่าการที่นายดำรงค์ มีคำสั่งย้ายโจทก์จึงเป็นย้ายโจทก์ซึ่งเป็นข้ราชการระดับ 9 ไปเป็นข้าราชการระดับ 8 อันเป็นการลดตำแหน่งโจทก์ ขณะที่ข้ออ้างในการย้ายก็ยังไม่มีการสอบสวนทางวินัยอีกทั้งจำเลยก็รู้ดีว่า โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผอ.ส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ ซึ่งอยู่ระหว่างการแก้ไขยกเลิกคำสั่งอยู่ แต่จำเลยกลับให้ความเห็นชอบนายดำรงค์ ย้ายโจทก์ ขณะที่วันที่นายดำรงค์ มีคำสั่งย้ายโจทก์ ก็เป็นเพียงรักษาราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ ซึ่งเป็นการอาศัยช่วงวลาสั้นๆ สั่งย้ายโจทก์ การกระทำของนายดำรงค์ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเมื่อพิจารณาว่าจำเลยโอนย้ายนายดำรงค์มาที่กรมป่าไม้ และแต่งตั้งให้รักษาราชการแทนอธิบดีฯ กระทั่งมีคำสั่งย้ายโจทก์นั้นจึงฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้สั่งการให้นายดำรงค์ โยกย้ายโจทก์ไปเป็นป่าไม้จังหวัดอำนาจเจริญ อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น ที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องในข้อหานี้่ ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย

เปิดคำพิพากษาอุทธรณ์ "ปลอดประสพ" แกล้ง ขรก.ป่าไม้ขึ้นซี 9 ??

        โดยสมควรที่รอการลงโทษจำเลยหรือไม่ ? “ศาลอุทธรณ์ฯ” เห็นว่า การที่จำเลย ได้ออกคำสั่ง ยกเลิกคำสั่งที่โจทก์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนัก 9 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นผู้ใช้ให้นายดำรงค์ ย้ายโจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการระดับ ไปเป็นป่าไม้จังหวัดระดับ 8 ทำให้โจทก์ขาดโอกาสในการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นความเสียหายดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่สามารถชดเชยให้กับโจทก์ได้ และเมื่อพิจารณาการกระทำที่จำเลยให้รับโอนนายดำรงค์ มาซ้อนตำแหน่งโจทก์ที่โจทก์ได้รับการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็อาจทำให้เกิดปัญหาว่าการปฏิบัติราชการของนายดำรงค์ ต่อการออกคำสั่ง ประกาศต่างๆ ของกรมป่าไม้มีความถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อราชการได้ ตามพฤติการณ์จึงนับว่าเป็นความผิดร้ายแรง จึงไม่เห็นสมควรรอการลงโทษ ที่ศาลชั้นต้นให้รอการลงโทษจำเลยนั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์โจทก์ฟังขึ้น

        ศาลอุทธรณ์ จึงพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิด ตาม ม.157 ประกอบมาตรา 84 อีกกรรมหนึ่งที่ใช้ให้นายดำรงค์ โยกย้ายโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรม จึงให้จำคุก 2 กระทงๆ ละ 1ปี รวมโทษจำคุกทั้งสิ้น 2 ปี โดยไม่รอการลงโทษ และไม่มีโทษปรับ นอกจากที่แก้ก็ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้จำเลย ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 1.4 ล้านบาทด้วย

       ภายหลังฟังคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ที่ให้จำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญาแล้ว ต่อมา “นายปลอดประสพ” ก็ได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสด ขอปล่อยชั่วคราวระหว่างฎีกาสู้คดี ซึ่งเวลา 15.00 . ศาลอาญาคดีทุจริตฯ พิจารณาแล้ว ก็มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว นายปลอดประสพ โดยตีราคาประกัน 400,000 บาท และกำหนดเงื่อนไขห้ามออกนอกประเทศเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล


 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ