ข่าว

ความท้าทายครั้งใหญ่ของ “อาแจ๊กซ์ อะคาเดมี”

ความท้าทายครั้งใหญ่ของ “อาแจ๊กซ์ อะคาเดมี”

04 พ.ค. 2560

โดย ธนรัชต์ คูสมบัติ facebook.com/Tanaruch.Kusombut/

นักฟุตบอลชื่อดังระดับโลกต่างก็ถูกอบรม ปลุกปั้นโดยสโมสรต่างๆ ที่มีระบบพัฒนาเยาวชน และ อะคาเดมี่ประจำทีม ซึ่งการคัดเลือกแข้งวัยเด็กเข้าสู่ทีมมีหลากหลายวิธี ทั้งการคัดเลือกโดยสโมสรเอง การเป็นพันธมิตรกับทีมต่างๆ รวมไปถึงการคัดเลือกตามแมวมองของทีม แต่การที่แข้งวัยเยาว์จะประสบความสำเร็จก็ต้องขึ้นอยู่กับ ตัวของพวกเขาเอง รวมไปถึง คุณภาพอะคาเดมี่ของสโมสรด้วย

โดย “อาแจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม” ทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในฟุตบอลเธอแลนด์ 33 แชมป์ลีก และ แชมป์ยูฟ่าแชมเปี้ยนสลีกอีก 4 สมัย ถือว่าเป็นทีมที่มีชื่อเสียงว่ามีอคาเดมี่ที่ดีที่สุดที่หนึ่งในโลก ปรัชญาของสโมสรก็คือปั้นนักเตะดาวรุ่งจากอคาเดมี่เพื่อให้ประสบความสำเร็จในลีกฮอลแลนด์และระดับโลก

 

“เดอ ทูคอมสท์”  โรงงานผลิตนักเตะ   

แม้ปัจจุบันอาแจ็กซ์ อาจจะไม่ได้มีผลงานกระเดื่องยุโรปเหมือนดังยุคของ “ไรนุส มิเชล” แต่ทีมก็ยังคงมีระบบการสร้างเยาวชนที่มีประสิทธิภาพผลิตผลทางฟุตบอลไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการเล่น หรือนักฟุตบอลใหม่ๆออกมาประดับวงการลูกหนังโลกอยู่เสมอ

“เดอ ทูคอมสท์”  (De Toekomst)  คือชื่ออะคามีของอาแจ๊กซ์ โดยแปลว่า The Future” หรือ อนาคต ในภาษาอังกฤษ สถานที่ประกอบด้วยสนามที่ 8 สนาม 2 ตึก  มีทั้งห้องเรียน,ยิม, ร้านกาแฟ, ร้านอาหารที่ และ ออฟฟิศสำหรับบรรดาโค้ชและนักวิทยาศาสตร์การกีฬา

เสน่ห์ที่ดึงดูดบรรดาแข้งเยาวชนทั่วโลกมาฝึกฝนที่นี่เพราะปรัชญา  Total Football” ซึ่งเป็นรูปแบบการเล่นที่ทีมชาติฮอลแลนด์ใช้ในทศวรรษที่ 60 การผ่านบอลและการเปลี่ยนเกมรับเป็นรุกที่รวดเร็ว ผู้เล่นเคลื่อนที่ในสนามอย่างอิสระ

แต่จากกระแสโลกาภิวัฒน์ ซึ่งทำให้นักฟุตบอลร่ำรวยขึ้นอย่างมหาศาลจากการไปเล่นลีกใหญ่ในยุโรป อังกฤษ,เยอรมัน และ สเปน

ทำให้จุดมุ่งหมายของสถาบันเดอ ทูคอมสท์ นั้นเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่การปั้นนักเตะขึ้นมาเพื่อเข้ามาสู่ทีมอย่างเดียว แต่เป็นการผลิตนักฟุตบอลเพื่อส่งออกไปขายทอดตลาดในลีกชั้นนำของยุโรปด้วย เปรียบได้ดัง “โรงงานผลิตนักฟุตบอล”

 

คัมภีร์ลูกหนัง “TIPS model” 

แนวทางการฝึกของอาแจ๊กซ์นั้น ประกอบไปด้วย 8 ด้าน มี การฝึกการจัดระเบียบร่างกาย,การเตะ,การผ่านบอล,การทุ่ม,การเคลื่อนที่เพื่อเอาชนะคู่แข่ง,การโหม่ง,การจบสกอร์,การยืนตำแหน่ง,การยืนตำแหน่งแบบมีบอล และ การเล่นโต๊ะเล็ก

ทำให้การคัดเลือกเยาวชนเข้ามาฝึกฝนจึงต้องส่งแมวมองไปติดตามเด็กหลายเดือนหรือเป็นปีก่อนจะส่งจดหมายเชิญไปที่ผู้ปกครอง เมื่อได้เข้ามาในอคาเดมีแล้ว จะมีการแข่งขันในเพื่อคัดเกรดเกรดหรือปรับตก ไม่ต่างกับการเรียนหนังสือ ดังนั้นเมื่อนานวันผ่านไปนักเตะจะเติบโตแข็งแกร่งขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ

โดยแนวคิดระบบการฝึกฟุตบอลของอาแจกซ์ ทั้งหมดนี้ถูกเรียกว่า TIPS model” ประกอบไปด้วย T คือ เทคนิค(Technique), I คือความเข้าถึงอย่างถ่องแท้(Insight),P คือ บุคคลิกภาพ (Personality) และ S คือความร็ว (Speed)

ทั้งนี้ P กับ S เป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด แต่ส่วน I และ T นั้นสามารถฝึกฝนสร้างขึ้นได้

 

ขยายสาขาทั่วโลก

ที่ผ่านมาอาแจ็กซ์ผลิตนักเตะชั้นนำของโลกออกมามากมายทั้ง โยฮัน ครอยฟ์, มาร์โก้ ฟานบบาสเทน พี่น้อง เดอบัวร์ นักเตะปัจจุบันก็มีอย่างเช่น คริสเตียน เอริคเซ่น ,ดาเล่ บลินด์ หรือ เวสลี่ สไนเดอร์

จากผลสำเร็จนี้เองทำให้เกิดการขยายสาขา มีการขยายสาขาไปยังคือ Ajax Capetown ที่ก่อตั้งในปี 1999 และได้สร้างนักเตะอย่าง สตีเฟ่น พีนาร์ ธูลานี่ เซเรโร่ อีกทั้งยังเคยเปิดสาชาที่สหรัฐฯ แต่ไม่ประสบความสำเร็จจึงต้องยกเลิกไป

ขณะที่ในส่วนของอะคาเดก็มีสาขาต่างประเทศแห่งแรกในประเทศกรีซคือ Ajax Hellas Youth Academy” และมีอคาเดมี่ลูก 15 แห่งกระจายในกรีซและไซปรัส

 

ความท้าทายของอาแจกซ์และทีมชาติ

อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีระบบพัฒนาเยาวชนที่เป็นเลิศแต่ผลงานในสนามของอาแจ๊กซ์มักขาดความต่อเนือง สาเหตุมาจากสตาร์ของทีมที่เริ่มฉายแสงมักถูกยักษ์ใหญ่ในยุโรปดึงตัวไปเล่นหลายคนจนต้องผาตัดทีมบ่อย

สถานการณ์ตอนนี้อาแจกซ์พลาดแชมป์มา 2 ฤดูกาลแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะเป็นฤดูกาลที่ 3 เพราะขณะนี้ก็อยู่อันดับสองตามจ่าฝูง ฟเยนูร์ด อยู่ 4 คะแนนโดยเหลือเกมอีกเพียงแค่สองนัด

อีกทั้งแนวคิดพัฒนาเยาวชนของอาแจกซ์ หรือแม้กระทั่งทั้งประเทศเนเธอแลนด์ ก็กำลังสั่นคลอนเพราะผลงานทีมอัศวินสีส้มกำลังย่ำแย่ ตั้งแต่ไม่ได้ร่วมเล่นยูโร 2016 จนตอนนี้ในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกก็เก็บได้แค่ 7 คะแนนจาก 5 นัด อยู่อันดับสี่ในสาย

ระบบเยาวชนอาแจ๊กซ์มักถูกยกให้เป็นภาพสะท้อนของฟุตบอลประเทศเนเธอแลนด์

ซึ่งกำลังถูกท้าทายอย่างหนัก หลายประเทศนำ “TIPS model” ไปใช้และพัฒนาขึ้นไปอีกระดับ

ซึ่งอาจเป็นช่วงเวลาที่อาแจกซ์ต้องเร่งคิดคัมภัมภีร์เทวดาฉบับใหม่แทนที่ “Total Football”