วันนี้ในอดีต

5 ก.ค.2549  รำลึก "ขุนพันธุ์ดาบแดง"  มือปราบจอมขมังเวทย์

5 ก.ค.2549 รำลึก "ขุนพันธุ์ดาบแดง" มือปราบจอมขมังเวทย์

05 ก.ค. 2561

สุดยอดของขลังที่ท่านขุนพันธ์ใช้สยบไสยดำ ของ อะแวสะดอ ตาและ ขุนโจรชาวมุสลิม คือ คือการให้มารดาบังเกิดเกล้าของท่านใช้เท้าขยี้ลงไปบนศีรษะของตนเองสามรอบ!!!

          เชื่อว่าน้อยคนจะไม่รู้จัก หรือไม่เคยได้ยินชื่อเสียงเรียงนามของ ขุนพันธรักษ์ราชเดช อดีตนายตำรวจชื่อดังของวงการตำรวจไทย ที่ชีวิตการทำงานของเขาได้ปราบปรามเหล่าร้ายสายโจร มาแล้วสิบทิศทั่วไทย

          และวันนี้เมื่อ 12 ปีก่อน คือวันที่ท่านได้ลาโลกไปด้วยวัยที่มากถึง 103 ปี จนหลายคนอดคิดไม่ได้ว่า หรือเสียงลือเสียงเล่าอ้าง ถึงความอยู่ยงคงกระพันเป็นจอมขมังเวทย์ จะเป็นเรื่องจริงเสียแล้ว!

          นั่นเพราะคนที่ทำงานแวดล้อมไปด้วยภยันตราย และผู้ร้าย โดยเฉพาะขุนพันธ์ ผู้เปิดศึกหลายหน้ากับบรรดาเหล่าเสือใจอำมหิต การจะผ่านช่วงชีวิตเสี่ยงตายมาได้นั้น ก็คงไม่ง่าย!

          สำหรับเสือที่ ขุนพันธรักษ์ราชเดช ปราบปรามมาแล้ว เช่น ในภาคกลางเช่น เสือฝ้าย เสือย่อง เสือผ่อน เสือครึ้ม เสือปลั่ง เสือใบ เสืออ้วน เสือไหว เสือมเหศวร

          ภาคใต้ ที่พัทลุง ปราบเสือสัง หรือเสือพุ่ม ที่นราธิวาส ปราบผู้ร้ายทางการเมือง ในปี พ.. 2481 หัวหน้าโจรชื่อ “อะเวสะดอตาเละ” จนท่านได้ฉายาจากชาวไทยมุสลิมว่า “รายอกะจิ” ซึ่งแปลว่า "อัศวินพริกขี้หนู"

5 ก.ค.2549  รำลึก \"ขุนพันธุ์ดาบแดง\"  มือปราบจอมขมังเวทย์

          จะยกเว้นคนเดียวที่ขุนพันธรักษ์ราชเดช ไม่ได้ทำการจับกุม แต่แลกกับอิสรภาพนั้นคือ เสือดำ โดยใช้ศพลูกน้องของเสือดำเองเสียสละชีพว่าเสือดำถูกฆ่าแล้ว ภายหลังจึงทราบว่า ตัวตนเสือดำยังมีชีวิตอยู่ โดย เสือไบ เสือมเหศวร ได้พบเจอกันช่วงอายุมากแล้ว และเสือดำได้ออกรายการในที่สุด คือบุคคลเดียวที่ ขุนพันธรักษ์ราชเดช ยอมเสี่ยงทำผิดกฎหมาย แต่คดีไม่มีใครทราบความจริงสุดท้ายจึงหมดอายุความลง และจากผลงานที่ท่านสามารถปราบโจร เสือร้ายต่างๆ ได้มากมาย จึงได้รับฉายา ดังต่อไปนี้

          นายพลตำรวจหนังเหนียวผู้จับเสือมือเปล่า

          นายพลตำรวจหนวดเขี้ยว

          ขุนพันธ์ฯ ดาบแดง (เชื่อกันว่าเป็นดาบที่ตกทอดมาจาก พระยาพิชัยดาบหัก ฝักดาบมีถุงผ้าสีแดงห่อหุ้ม ตัวดาบมีความคมกล้า)

          รายอกะจิ (อัศวินพริกขี้หนู) ฯลฯ

          จอมขมังเวทย์

          และเพื่อเป็นการรำลึกถึง ขุนพันธรักษ์ราชเดช จึงขอนำประวัติของท่านมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง ดังนี้

          พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช หรือชื่อเดิมว่า บุตร พันธรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.. 2446 ที่บ้านอ้ายเขียว หมู่ที่ 5 .ดอนตะโก อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอ้วน และ นางทองจันทร์ พันธรักษ์

          ด..บุตร พันธรักษ์ เข้าเรียนชั้น ป.1 ที่ ร..วัดสวนป่าน อ. เมืองนครศรีธรรมราช แต่ด้วยความฉลาดและมีความรู้ในวิชาเลขและหนังสืออยู่แล้วก่อนที่จะเข้าโรงเรียน ทางโรงเรียน จึงเลื่อนชั้นให้เรียน ป. 2 ใน และถัดมาอีกวันก็เลื่อนให้เรียน ป.3 เป็นอันว่าท่านเข้าโรงเรียนได้เพียง 3 วัน ได้เลื่อนชั้นถึง 2 ครั้ง! ...สุดยอด!

          ต่อมาท่านบ้านมาเรียนที่โรงเรียนวัดพระนคร ต.พระเสื้อเมือง (ปัจจุบันคือ ต.ในเมือง) .เมืองนครศรีธรรมราช มีครูเพิ่ม ณ นคร เป็นครูประจำชั้น เรียนจบชั้นป. 3 ในปี 2456 จึงเข้าเรียนต่อชั้น ม. 1 ที่ ร..วัดท่าโพธิ์วรวิหาร (หรือเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน)

          อย่างไรก็ดี โชคร้าย บุตร พันธรักษ์ ต้องออกจาก ร..ชั่วคราวเพราะป่วยเป็นโรคคุดทะราด ต้องพักรักษาตัวปีกว่า จนเมื่อหายดีแล้ว จึงเดินทางเข้าศึกษาที่กรุงเทพ ในปี 2459 โดยไปอยู่กับพระปลัดพลับ บุณยเกียรติ ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า ที่วัดส้มเกลี้ยง (วัดราชผาติการาม) โดยได้เรียนอยู่ที่ ร..มัธยมวัดเบญจมบพิตร ช่วงปี 2461 เลขประจำตัว บ.. 1430 ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

          ขณะเรียนที่โรงเรียนนี้ ท่านได้เรียนวิชามวย ยูโด และยิมนาสติก จากครูหลายคน เช่น ครูย้อย ครูศิริ ครูนก ครูมณี จนมีความชำนาญในเชิงมวย ท่านสอบไล่ได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ในปี พ..2467

5 ก.ค.2549  รำลึก \"ขุนพันธุ์ดาบแดง\"  มือปราบจอมขมังเวทย์

          ต่อมาในปี พ.. 2468 บุตร พันธรักษ์ ได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจระเข้ (โรงเรียนนายร้อยตำรวจในปัจจุบัน) .นครปฐม ขณะที่เรียนได้เป็นครูมวยไทยด้วย เรียนอยู่ 5 ปี สำเร็จหลักสูตรในปี 2472

          หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว ทางราชการได้แต่งตั้งให้ไปรับราชการในตำแหน่งนักเรียนทำการนายร้อย ที่กองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ในปี พ.. 2473 เป็นนักเรียนทำการอยู่ 6 เดือน ได้เลื่อนยศเป็นว่าที่ร้อยตรี

          ปี พ.. 2474 นายตำรวจหนุ่ม ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับหมวดที่กองเมือง จ.พัทลุง และที่นี่เอง ที่ท่านได้สร้างเกียรติประวัติไว้มากมายจนเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง โดยงานนั้นคือ การปราบปรามโจรผู้ร้ายคนสำคัญๆ ของพัทลุง อย่าง เสือสัง หรือ เสือพุ่ม ซึ่งแหกคุกมาจากเมืองตรัง

          ตามข้อมูลปรากฏ อ้างขุนพันธรักษ์ราชเดช กล่าวว่า เสือสังนี้มีร่างกายใหญ่โต ดุร้าย และมีอิทธิพลมาก มาอยู่ในความปกครองของกำนัน ต.ป่าพยอม อ.ควนขนุน จ.พัทลุง นอกจากนั้นแล้ว ยังมีคนใหญ่คนโตหลายคนให้ความอุ้มชูเสือสัง จึงทำให้เป็นการยากที่จะปราบได้

          แต่เพียงปีแรกของขุนพันธ์ ที่ย้ายมารับราชการที่นี่ ท่านก็สามารถล้างคำกล่าวนี้ โดยท่านร่วมกับ พลตำรวจเผือก ด้วงชู พร้อมกับ นายขี้ครั่ง เหรียญขำ เป็นคนนำทางไปทำการปราบปรามเสือสัง และปฏิบัติการนี้ก็สำเร็จลุล่วง ขุนพันธ์จึงได้รับความดีความชอบ จากว่าที่ร้อยตำรวจตรี บุตร พันธรักษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็น ร้อยตำรวจตรี หรือร... พลตำรวจ (พล..) เผือก ชูด้วง เป็นสิบตรี ส.. และนายขี้ครั่ง ได้รับรางวัล 400 บาท

5 ก.ค.2549  รำลึก \"ขุนพันธุ์ดาบแดง\"  มือปราบจอมขมังเวทย์

          ไม่เพียงเท่านั้น ร้อยตำรวจตรีบุตร พันธรักษ์ ยังสร้างผลงานไว้มากมาย ปราบผู้ร้ายสำคัญอื่นๆ อีกถึง16 คนในปีเดียว เช่น เสือเมือง เสือทอง เสือย้อย เป็นต้น

          และด้วยความดีความชอบนี้เอง ท่าน จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช'" และในปี พ.. 2478 ได้รับเลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจโท (...) และในปีนี้ได้อุปสมบทที่วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช โดยมีพระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรโณ) เป็นพระอุปัชฌาย์

          บวชอยู่ได้ 1 พรรษา จึงลาสิกขา ในปี พ.. 2479 ท่านได้ย้ายไปเป็นหัวหน้ากองตรวจ ประจำกองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ได้ปราบโจรผู้ร้ายหลายคน

          อย่างไรก็ดี การปราบโจรครั้งสำคัญ ที่ทำให้ท่านมีชื่อเสียงมาก คือ การปราบผู้ร้ายทางการเมืองที่นราธิวาส ในปี 2481 หัวหน้าโจรชื่อ "อะแวสะดอ ตาและ" นัยว่า เป็นผู้ที่อยู่ยงคงกระพัน เที่ยวปล้นฆ่าเฉพาะคนไทยพุทธเท่านั้น

          แต่ในที่สุดก็มิอาจพ้นฝีมือของขุนพันธ์ฯ ไปได้ จนท่านได้รับการยกย่องจากทั้งชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมเป็นอันมาก ถึงขนาดได้รับฉายาจากชาวไทยมุสลิมว่า "รายอกะจิ" หรือแปลว่า "อัศวินพริกขี้หนู" และยังได้เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจเอกในปีนั้นเอง

          ต่อมาปี พ.. 2482 ขุนพันธ์ฯ ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับกองเมืองพัทลุง ปี พ.. 2485 ย้ายเป็นรองผู้กำกับการตำรวจภูธรที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ปราบปรามโจรหลายราย รายสำคัญ คือ เสือสาย และเสือเอิบ

          หลังจากนั้นขุนพันธ์ฯ ได้ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดในภาคอื่น เช่น ปี 2486 เป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรที่ จ.พิจิตร ที่นั่นท่านสามารถปราบ เสือโน้ม หรือ อาจารย์โน้ม จึงได้รับพระราชทานยศเป็น พันตำรวจตรี พ... ต่อมา ปี 2489 เป็นผู้กำกับการตำรวจภูธร จ.ชัยนาท ได้ปราบปรามเสือร้ายหลายคน เช่น เสือฝ้าย, เสือย่อง, เสือผ่อน, เสือครึ้ม, เสือปลั่ง, เสือใบ, เสืออ้วน, เสือดำ, เสือไหว, เสือมเหศวร เป็นต้น

          กรมตำรวจได้พิจารณาเห็นว่า ผู้ร้ายในเขตชัยนาทและสุพรรณบุรี ชุกชุมมากขึ้นทุกวัน จึงได้ตั้งกองปราบพิเศษขึ้น โดยคัดเลือกเอาเฉพาะนายตำรวจที่มีฝีมือในการปราบปรามรวมได้ 1 กองพัน แต่งตั้งให้พ...สวัสดิ์ กันเขตต์เป็นผู้อำนวยการกองปราบ และ พ...ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นรองผู้อำนวยการกองปราบพิเศษ

          มีการประชุมนายตำรวจที่กรุงเทพ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2489 เพื่อวางแผนกำจัดเสือฝ้าย แต่แผนล้มเหลว ผู้ร้ายรู้ตัวเสียก่อน ขุนพันธ์ฯ จึงได้รับคำสั่งด่วนให้สกัดโจรผู้ร้ายที่จะแตกเข้ามาจังหวัดชัยนาท

          เล่ากันว่า ครั้งนั้นขุนพันธ์ฯ ใช้ดาบเป็นอาวุธคู่มือแทนปืนยาว ดาบนั้นถุงผ้าแดงสวมทั้งฝักและด้าม คนทั้งหลายจึงขนานนามท่านว่า "ขุนพันธ์ดาบแดง"

          แน่นอนที่ ฝีมือของขุนพันธ์ฯ เป็นที่ครั่นคร้ามของพวกมิจฉาชีพทั่วไป แม้แต่เสือฝ้ายเองก็เคยติดสินบนท่านถึง 2,000 บาท เพื่อไม่ให้ปราบปราม แต่ขุนพันธ์ฯ ไม่สนใจ คงปฏิบัติหน้าที่อย่างดีจนปราบปรามได้สำเร็จ

          ที่สุดเมื่อท่านอยู่ชัยนาท ปราบปรามเสือร้ายต่างๆ อยู่าราว 3 ปี และพื้นที่สงบลงแล้ว ท่านก็ได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรที่อยุธยา อยู่ได้ประมาณ 4 เดือนเศษก็เกิดโจรผู้ร้ายชุกชมที่กำแพงเพชร ขณะนั้นเป็นระยะเปลี่ยนอธิบดีกรมตำรวจ และขุนพันธ์ฯ ก็ถูกใส่ร้ายจากเพื่อนร่วมอาชีพว่าเป็นโจรผู้ร้าย พล...หลวงอดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ ยังเชื่อมั่นว่าขุนพันธ์ฯ เป็นคนดี จึงโทรเลขให้ไปพบด่วน และแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธร จังหวัดกำแพงเพชร

          ช่วงปี 2490 ขุนพันธ์ฯ ได้ปรับปรุงการตำรวจภูธรของเมืองนี้ให้มีสมรรถภาพขึ้นและปราบปรามโจรผู้ร้ายต่างๆ ที่สำคัญคือ เสือไกรกับเสือวัน แห่ง อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร ทำให้ฝีมือการปราบปรามของท่านยิ่งลือกระฉ่อนไปไกล

5 ก.ค.2549  รำลึก \"ขุนพันธุ์ดาบแดง\"  มือปราบจอมขมังเวทย์

          อย่างไรก็ดีช่วงปี 2491 ทาง จ.พัทลุงมีโจรผู้ร้ายกำเริบชุกชุมขึ้นอีก ชาวพัทลุงจึงเข้าชื่อกันทำหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมตำรวจ ผ่าน ส.. ขอตัวขุนพันธ์ฯ กลับพัทลุง เพื่อช่วยปราบปรามโจรผู้ร้าย

          ขุนพันธ์ฯ จึงได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธร จ.พัทลุงอีกวาระหนึ่ง ได้ปราบปรามเสือร้ายที่สำคัญๆ สิ้นชื่อไปหลายคน จนพูดได้ว่า เมืองพัทลุงในสมัยที่ท่านเป็นผู้กำกับการตำรวจ มีความสงบสุขน่าอยู่ขึ้นมาก

          ต่อมาท่านจึงได้รับพระราชทานเลื่อนยศ เป็นพันตำรวจโทในปี 2493 ท่านอยู่พัทลุงได้ 2 ปีเศษ จนถึงปี 2494 จึงได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 .นครศรีธรรมราช จนกระทั่งถึงปี 2503 จึงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 และได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลตำรวจตรี จนกระทั่งเกษียณอายุในปี พ.. 2507

          เรียกได้ว่า นามของ "ขุนพันธรักษ์ราชเดช" ระบือลือลั่น แม้จะปลดเกษียณราชการไปนานปี และชื่อของท่านยังอยู่ในความทรงจำของกรมตำรวจและประชาชนทั่วไปมาจนถึงุทกวันนี้

          โดยเฉพาะคำร่ำลือเกี่ยวกับ ความเป็นจอมขมังเวทย์ของขุนพันธุ์ โดยข้อมูลจาก เฟซบุคแฟนเพจ “เรื่องเล่าชาวสยาม” เล่าไว้ว่า

          สุดยอดของขลังที่ท่านขุนพันธ์ใช้สยบไสยดำ ของ อะแวสะดอ ตาและ ขุนโจรชาวมุสลิม ซึ่งเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญด้านไสยศาสตร์ มนต์ดำ ผู้มีสันดานโจน ใจคอโหดร้ายจนไม่มีผู้ใด กล้าแตะต้อง”

          สิ่งที่ท่านขุนพันธ์ท่านใช้ในการแก้เคล็ด สยบไสยดำนี้ คือการให้มารดาบังเกิดเกล้าของท่านใช้เท้าขยี้ลงไปบนศีรษะของตนเองสามรอบเพื่อเป็นสิริมงคล และเพื่อเป็นการทำลายความอาถรรพ์ในตัวของ อะแวสะดอ ตาและ ด้วยเหตุนี้ จอมวายร้าย อย่างอะแวสะดอตาและ จึงไม่อาจสู้ท่านขุนพันธ์ได้ ไสยเวทมนต์ดำ ที่มันมีอยู่ เครื่องราง ของขลังหลายอย่าง ที่มันใช้ติดตัว จึงมีอันเสื่อมสลายไป เพราะถึงแม้กระสุนปืน ของท่านขุนพันธ์จะทำอะไร อะแวสะดอ ตาและไม่ได้ แต่มันก็หมดเรี่ยวแรง เปลี่ยนสภาพ จากเสือร้าย กลายเป็นแมว ยอมให้จับกุม ในที่สุด”

          การให้แม่ใช้เท้าขยี้ศีรษะนี้ เพราะท่านขุนพันธ์ถือความกตัญญูเป็นสิ่งสูงสุด ฝ่าเท้าของแม่ เทียบเท่าฝ่าเท้าของพระอรหันต์หรือ พระพรหม วิชาความรู้ใดๆ ที่เรียนมาย่อมต่ำกว่าเสมอ”

          วิธีการถือเคล็ดแบบนี้ มีมาแต่โบราณกาล นักรบโบราณขอเศษชายผ้าถุงแม่ หรือขอชานหมากของพ่อติดตัวไป ก่อนไปออกสนามรบ ก็ล้วนเกิดปาฎิหารย์มากมาย”

          ในด้านชีวิตครอบครัว ขุนพันธ์ฯ มีภรรยาคนแรกชื่อ เฉลา ตอนนั้นท่านมีอายุได้ประมาณ 30 ปี ขณะที่รับราชการอยู่ที่จังหวัดพัทลุง มีบุตรด้วยกัน 8 คน ต่อมาภรรยาเสียชีวิต ท่านจึงได้ภรรยาใหม่ชื่อ สมสมัย มีบุตรด้วยกัน 4 คน

          อนึ่ง พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.. 2549 ที่บ้านในซอยราชเดช ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช อายุได้ 103 ปี

///////////////

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

วิกิพีเดีย

https://www.facebook.com/CHAOSIAM59/photos/a.770088786369190.1073741841.765197073525028/770088793035856/?type=3&theater