วันนี้ในอดีต

12 ส.ค. 514 อัตวินิบาตกรรมของคลีโอพัตรา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วันนี้เมื่อกว่า 2000 ปีก่อน

 

***********************

 

         กว่าสองพันปีก่อน ไม่น่าเชื่อว่าอีกฟากหนึ่งของโลกที่แดนดินอียิปต์โบราณ จะมีเรื่องราวอันทรงพลังของสตรีนางหนึ่งที่ชื่อ คลีโอพัตรา หรือ คลีโอพัตราที่ 7 ฟิโลพาเธอร์

 

          พระนางเป็นพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณ และเชื้อพระวงศ์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมีแห่งมาซิโดเนีย ดังนั้นจึงเป็นผู้ปกครองอียิปต์ที่มีเชื้อสายกรีกคนสุดท้าย

 

          แต่มีข้อมูลระบุว่า วันนี้เมื่อ 2048 ปีก่อนพระนางได้สิ้นพระชนม์ลงในวัยที่ยังสาวสะพรั่ง 39 พรรษา ด้วยการฆ่าตัวตายด้วยงูพิษ

 

          วันนี้ในอดีตจึงขอนำเรื่องราวของพระนางผู้ได้ชื่องดงามและทรงอิทธิพลผู้หนึ่งในแผ่นดิน มานำเสนอดังนี้

 

พระราชประวัติ

 

พระนางคลีโอพัตรา กำเนิดในดินแดนอเล็กซานเดรีย, อียิปต์โบราณ เป็นราชธิดาของ ทอเลมีที่ 12 ออเลติส และคาดว่าพระมารดาเป็นเชษฐภคินีของบิดาของพระนางเอง ทรงพระนามว่า คลีโอพัตราที่ 5 “ทรีฟาเอนา”

 

สำหรับชื่อ “คลีโอพัตรา” นั้นเป็นภาษากรีก แปลว่า “ความเจริญรุ่งเรืองของบิดา” พระนามเต็มของพระนางคือ “คลีโอพัตรา เธอา ฟิโลพาเธอร์” ซึ่งหมายถึง “เทพีคลีโอพัตรา ผู้เป็นที่รักของบิดา”

 

 

 12 ส.ค. 514 อัตวินิบาตกรรมของคลีโอพัตรา

รูปปั้นครึ่งองค์คลีโอพัตราที่ 7 พิพิธภัณฑ์อัลเทส กรุงเบอร์ลิน

 

 

ว่ากันว่า พระนางมีพระปรีชาสามารถมาก ทรงแตกฉานถึง 14 ภาษา เช่น ฮิบรู, ละติน, มาเซดอนโบราณ, เอธิโอเปียน, ซีเรีย, เปอร์เซีย, และ อียิปต์ ซึ่งแม้แต่ในราชวงศ์ น้อยคนนักที่จะแตกฉานภาษานี้

 

ทุกวันนี้ พระนางยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ปกครองอียิปต์โบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุด หากในความเป็นจริง พระนางไม่เคยปกครองอียิปต์เพียงลำพัง แต่ครองราชย์ร่วมกับพระบิดา, พระอนุชา , สวามีผู้เป็นอนุชาของพระองค์ หรือไม่ก็พระโอรส การครองราชย์ร่วมกันดังกล่าวมีผู้ร่วมบัลลังก์เป็นเพียงกษัตริย์ตามพระยศเท่านั้น อำนาจแท้จริงอยู่ในมือของคลีโอพัตราเองทั้งสิ้น

 

สำหรับชีวิตในวัยเยาว์ พระนางได้ขึ้นครองราชย์ลำดับถัดจากพระราชบิดา หลังจากพระบิดาสวรรคตในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปีที่ 51 ก่อนคริสตกาล

 

เดิมทีพระนางเป็นพระราชา เมื่อพระเชษฐภคินีอีกสองพระองค์สิ้นพระชนม์ลง พระนางยังมีพระขนิษฐาอีกองค์ที่มีชื่อว่าอาร์ซิโน่ที่ 4 ในช่วงแรก พระนางครองราชย์ร่วมกับพระบิดาเป็นระยะเวลาสั้นๆ

 

ต่อมาก็ได้ครองราชย์ร่วมกับพระอนุชาอีกสองพระองค์ ได้แก่ ปโตเลมีที่ 13 ผู้ต่อต้านการปกครองของโรมัน และปโตเลมีที่ 14

 

แต่การสืบราชบัลลังก์ของราชวงศ์ทอเลมีนั้นนิยมการสืบเชื้อสายทางมารดา พระอนุชาทั้งสองพระองค์จึงต้องเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับพระเชษฐภคินี คือ คลีโอพัตรา เพื่อขึ้นครองราชย์ได้อย่างถูกต้องตามกฎมนเทียรบาล

 

ภายหลังจากที่กษัตริย์ผู้เป็นพระอนุชาและสวามีของพระนางสวรรคตลง คลีโอพัตราได้แต่งตั้งให้โอรสของพระนางเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป มีพระนามว่าปโตเลมีที่ 15 ซีซาเรียน ขึ้นครองบัลลังก์ร่วมกัน

 

 

สัมพันธ์การเมืองจูเลียส ซีซาร์

 

นอกจากความสัมพันธ์ตามกฎมนเทียรบาล ที่พระนางคลีโอพัตราต้องมีสัมพันธ์กับอนุชาทั้ง 2 คน แต่ชายที่ดูเหมือนเกือบจะเป็นคนรักที่ไม่ใช่สายเลือดเดียวัน ของพระนางคือ จูเลียส ซีซาร์

 

 

 12 ส.ค. 514 อัตวินิบาตกรรมของคลีโอพัตรา

จูเลียส ซีซาร์ รูปปั้นครึ่งตัวซีซาร์ในพิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาติเนเปิลส์

 

 

ย้อนไปในปีที่ 48 ก่อนคริสตกาล คณะที่ปรึกษาของทอเลมีที่ 13 นำโดยขันทีโปรธินุส เข้ายึดอำนาจของคลีโอพัตรา พระนางจึงต้องหนีจากอียิปต์ โดยมีอาร์สิโนเอ พระขนิษฐาติดตามไปด้วย

 

ต่อมาในปีเดียวกัน อำนาจของทอเลมีที่ 13 ถูกลิดรอนเมื่อเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับโรม กรณีที่พระองค์เอาใจซีซ่าร์ด้วยการประหาร นายพลปอมเปอุส มักนุส (ซึ่งมีภรรยาเป็นลูกสาวของ จูเลียส ซีซาร์ นางเสียชีวิตขณะคลอดบุตรชาย) ซึ่งหลบหนีซีซาร์มาที่เมืองอเล็กซานเดรีย

 

ซีซาร์ไม่พอใจการกระทำดังกล่าว จึงยกทัพบุกยึดเมืองหลวงของอียิปต์ พร้อมกับตั้งตนเป็นผู้ตัดสินคดีชิงบัลลังก์ระหว่างทอเลมีที่ 13 และ คลีโอพัตรา

 

ปรากฏว่าหลังจากการสู้รบช่วงสั้นๆ ทอเลมีสิ้นพระชนม์ ซีซาร์คืนอำนาจให้แก่พระนาง และให้ทอเลมีที่ 14 เป็นผู้ร่วมครองบัลลังก์

 

แต่ช่วงที่ซีซาร์ พำนักในอียิปต์ตลอดช่วงฤดูหนาว ระหว่างปีที่ 48 ก่อนคริสตกาล-47 ก่อนคริสตกาล พระนางก็จัดการเอาซีซาร์มาทำสามี เพื่อให้อียิปต์ยังคงเป็นความเป็นเอกราชไว้ได้ แต่ยังคงมีกองกำลังทหารโรมันสามกองประจำการอยู่

 

ต่อมาพระนางให้กำเนิดพระโอรสชื่อ ทอเลมี ซีซาร์ (หรือมีชื่อเล่นว่าซีซาเรียน ซึ่งแปลว่าซีซาร์น้อย) อย่างไรก็ดี เขาปฏิเสธซีซาเรียนเป็นผู้สืบทอดอำนาจของตน และได้แต่งตั้งให้หลานชายชื่อ ออกุสตุส ซีซาร์ อ็อกตาเวียน เป็นผู้สืบทอดอำนาจแทน

 

ต่อมาเมื่อซีซ่าร์ถูกลอบสังหาร  โดยกลุ่มสมาชิกวุฒิสภากบฏ นำโดยมาร์กุส ยูนิอุส บรูตุสผู้ลูก ผู้ซึ่งเป็นคนสนิทและเป็นเสมือนลูกศิษย์ ทำให้พระนางกับซีซาเรียนเดินทางเยือนกรุงโรมในระหว่างปีที่ 46 ก่อนคริสตกาล และ 44 ก่อนคริสตกาล จนกระทั่งกลับมายังอียิปต์อีกครั้ง

 

แต่ก่อนหน้านั้น อยู่ๆ ทอเลมีที่ 14 สวรรคตอย่างลึกลับ พระนางจึงแต่งตั้งซีซาเรียนเป็นผู้ร่วมครองบัลลังก์ แน่นอนนักประวัติศาสตร์สันนิษฐานกันว่าพระนางลอบวางยาพิษทอเลมี ผู้เป็นอนุชาของตนเอง

 

 

รักร้อนมาร์ค แอนโทนี

 

ปีที่ 42 ก่อนคริสตกาล มาร์ค แอนโทนี หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สองของโรม (ผู้ซึ่งปกครองกรุงโรมในช่วงสุญญากาศทางอำนาจหลังอสัญกรรมของซีซาร์) ขอให้คลีโอพัตราเดินทางมาพบเขาที่เมืองทาร์ซุส ในแคว้นซิลิเซีย เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับความจงรักภักดีของพระนางต่ออาณาจักรโรมัน

 

ต่อมาในช่วงฤดูหนาวระหว่างปีที่ 42 ก่อนคริสตกาล - ปีที่ 41 ก่อนคริสตกาล กลายเป็นว่าแม้แต่ มาร์ค แอนโทนี่ ก็ต้านทานเสน่ห์ของคลีโอพัตราไว้ไม่ไหว

 

 

 12 ส.ค. 514 อัตวินิบาตกรรมของคลีโอพัตรา

มาร์ค แอนโทนี

 

 

ที่สุดทั้งคู่ใช้เวลาอยู่ด้วยกันในอเล็กซานเดรีย จนมีโอรส-ธิดาฝาแฝด พระนามว่าอเล็กซานเดอร์ เฮลิออส และ คลีโอพัตรา เซเลเนที่ 2

 

มาร์ค แอนโทนี่ได้อภิเษกสมรสกับพระนางตามประเพณีอียิปต์ (ตามที่กล่าวไว้ในจดหมายของสุเอโตนิอุส) ทั้งๆ ที่เขามีเมียอยู่แล้ว คือ อ็อกตาเวีย น้องสาวของ อ็อกตาเวียน (หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สองของโรม)

 

จากนั้นยังมีบุตรกับพระนางอีกคน ชื่อ ทอเลมี ฟิลาเดลฟุส ในพิธีมอบดินแดนอเล็กซานเดรียเป็นของขวัญชิ้นใหญ่แก่พระนางและโอรสธิดา

 

ช่วงปลายปีที่ 34 ก่อนคริสตกาล (หลังจากที่เขามีชัยเหนืออาร์มีเนีย) พระนางกับซีซาเรียนได้ปกครองอียิปต์กับไซปรัสร่วมกัน

 

อเล็กซานเดอร์ เฮลิออส ลูกชายที่เกิดแต่มาร์ค แอนโทนี่ ก็ได้เป็นกษัตริย์ปกครองอาร์มีเนีย เมเดีย และ พาร์เธีย คลีโอพัตรา เซเรเน ได้เป็นราชินีปกครองซีเรไนกา และ ลิเบีย

 

ส่วนทอเลมี ฟิลาเดลฟุสได้เป็นกษัตริย์ปกครองโฟนิเซีย, ซีเรีย และ ซิลิเซีย นอกจากนี้พระนางยังดำรงตำแหน่งราชินีแห่งราชาทั้งปวงอีกด้วย

 

ช่วงเวลานี้จะบอกว่าพระนางคลีโอพันตาและเครือข่าย ทรงอิทธิพลเหนือดินแดนทะเลทรายซาฮาร่าก็คงได้

 

 

สุดท้ายปลายทาง

 

ต่อมาอ็อกตาเวียน พ่อตา มาร์ค แอนโทนี่ ที่อยู่โรมันได้ประกาศศึกกับลูกเขย โดยโน้มน้าวให้วุฒิสภาเปิดสงครามกับอียิปต์ ในปีที่ 31 ก่อนคริสตกาล

 

กองกำลังของ แอนโทนี เผชิญหน้ากับทัพเรือทหารโรมันนอกชายฝั่งแอคติอุม คลีโอพัตราร่วมออกรบด้วยทัพเรือของพระนางเอง และได้พบว่า ศึกนี้แพ้ย่อยยับเพราะกองเรือของเธอ่มีแต่เรือขนาดเล็กขาดแคลนยุทโธปกรณ์ ขณะที่กองเรือโรมันที่มีเรือขนาดใหญ่กว่า

 

พระนางนำเรือหลบหนี ทำให้แอนโทนี ต้องทิ้งสนามรบกลางทะเลและรีบตามพระนางไปด้วย

 

เมื่อพบกับความพ่ายแพ้ คลีโอพัตรา และ มาร์ค แอนโทนี ตัดสินใจฆ่าตัวตาย โดยพระนางใช้งูพิษปลิดชีพพระองค์เองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ในปีที่ 30 ก่อนคริสตกาล

 

 

 12 ส.ค. 514 อัตวินิบาตกรรมของคลีโอพัตรา

อัตวินิบาตกรรมของคลีโอพัตรา ภาพวาดโดย เรจินัลด์ อาร์เธอร์

 

 

ส่วน ซีซาเรียน โอรสของพระนางที่เกิดกับจูเลียส ซีซาร์ ถูกอ็อกตาเวียนปลงพระชนม์ ส่วนโอรสธิดาอีกสามพระองค์ที่เกิดกับแอนโทนี รอดชีวิตแต่ก็ต้องไปอยุ่ที่กรุงโรม โดยการร้องขอและช่วยเหลือของ อ็อกตาเวีย เมียเก่าของมาร์คแอนโทนี่เอง

 

 

 12 ส.ค. 514 อัตวินิบาตกรรมของคลีโอพัตรา

 

 

ว่ากันว่า งูพิษที่คร่าชีวิตพระนางคลีโอพัตรา คือชนิดที่เรียกว่า แอสพฺ (asp) หมายถึงงูพิษหลากหลายประเภทในแอฟริกา และยุโรป แต่ในที่นี้ หมายถึงงูเห่าอียิปต์ ซึ่งใช้ประหารนักโทษในบางครั้ง

 

มีเรื่องเล่าว่าพระนางทดสอบวิธีการฆ่าตัวตายด้วยวิธีต่างๆ นานา กับข้าราชบริพารและนักโทษหลายคน ก่อนตัดสินใจเลือกวิธีการที่เห็นว่ามีประสิทธิภาพที่สุด

 

และมันก็ได้นำมาใช้ในการปลิดชีพพระองค์เองในวันนี้

 

************************//**********************

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ