วันนี้ในอดีต

ไม่ใช่หนัง เซอร์ วิลเลียม วอลเลซ ถูกประหารกลางตลาด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เรื่องราวของ เซอร์ วิลเลียม วอลเลซ ผู้มีชีวิตอยู่ในระหว่างรัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพระยาเลอไท แห่งสมัยสุโขทัย

 

คนไทยอาจคุ้นชื่อ "เซอร์ วิลเลียม วอลเลซ" จากภาพยนตร์เงินล้าน "เบรฟฮาร์ท" หรือ "สุภาพบุรุษหัวใจมหากาฬ"

 

แต่หลายคนอาจคิดว่านี่คือเรื่องแต่ง ตรงข้ามกับผู้ที่ชื่นชอบประวัติศาสตร์โลก จะรู้ว่าภาพยนตร์อมตะเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริง

 

 

ไม่ใช่หนัง  เซอร์ วิลเลียม วอลเลซ ถูกประหารกลางตลาด

 

 

และฉากการประหารชีวิตอัศวินและผู้รักชาติชาวสก็อตผู้นี้ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันนี้ของ 714 ปีก่อน ตรงกับวันที่ 23 สิงหาคม 1848 ก็เกิดขึ้นจริงๆ เพียงแต่อาจแตกต่างกันในรายละเอียด

 

วันนี้เราทำความรู้จักกับเรื่องราวของ วีรบุรุษในประวัติศาสตร์ของสก็อตแลนด์ เซอร์ วิลเลียม วอลเลซ อีกครั้ง

 

 

ฉากบ้านงานเมือง

 

ข้อมูลจากวิกิพีเดียเล่าว่า ก่อนจะเป็น “ท่านเซอร์” วิลเลียม วอลเลซ ในวันที่ไร้ลมหายใจไปแล้ว วิลเลียม วอลเลซ เกิดที่ประเทศสก๊อตแลนด์ราวปี พ.ศ. 1813

 

สถานที่เกิดและวันเกิดยังเป็นที่ถกเถียง ไม่ชัดเจน เข้าใจกันว่าเกิดที่ "เอลเดอร์สลี" หมู่บ้านเหมืองเล็กๆ ใกล้เมืองจอห์นสโตน เรนฟริวไชร์ สก็อตแลนด์ตะวันตก

 

แม้แต่บิดาของวอลเลซเอง ก็ยังเป็นที่ถกเถียงเช่นกัน โดยบ้างว่าเป็นบุตรชาย 1 ใน 3 ของ "เซอร์มัลคอม วอลเลซ" แห่งเอลเดอร์สลี แต่จากตราประจำตัวที่ค้นพบภายหลังบ่งว่าเป็นบุตรคนเล็กของ "อลัน วอลเลซ" ขุนนางศักดินาแห่งอาร์ยไชร์ โดยว่ากันว่าวอลเลซเรียนภาษาละตินกับลุงสองคน

 

วอลเลซเกิดในยุคสมัยที่ "พระเจ้าอเล็กซานเดอร์" ครองราชย์มาแล้วกว่า 20 ปี ซึ่งนับเป็นช่วงแผ่นดินร่มเย็นเป็นสุข

 

หากทุกอย่างค่อยๆ เปลี่ยนไป หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์จากการตกจากหลังม้าเมื่อปี 1829 เนื่องจากพระองค์ไม่มีพระราชโอรส พระราชนัดดาหญิงอายุเพียง 4 ชันษา เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตจึงได้ขึ้นครองราชย์ และมีการตั้งคณะผู้สำเร็จราชการฯ ทำหน้าที่แทน

 

 

การแทรกแซงจากอังกฤษ

 

ที่สุดด้วย ความอ่อนแอทางการปกครอง พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ จึงเข้าแทรกแซงโดยจัดการให้พระโอรสของพระองค์ทรงหมั้นกับมาร์กาเร็ต โดยหวังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทั้งสองรัฐ

 

 

ไม่ใช่หนัง  เซอร์ วิลเลียม วอลเลซ ถูกประหารกลางตลาด

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ

 

แต่มาร์กาเร็ตสิ้นพระชนม์เมื่ออายุเพียง 20 พรรษา ระหว่างการเดินทางจากบ้านเกิดที่นอร์เวย์มาสก็อตแลนด์เมื่อ พ.ศ. 1833 ทันทีที่สิ้นพระชนม์ก็เกิดการอ้างสิทธิ์ในการครองบัลลังก์

 

เมื่อใกล้เข้าสู่ภาวะสงครามแย่งชิงบัลลังก์จากบรรดาเจ้านายฝ่ายต่างๆ ผู้ที่คิดว่ามีสิทธิ์ เจ้านายที่มีเชื้อสายอยู่แถวหน้าๆ จึงไปทูลเชิญกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 1 ให้มาเป็นผู้ไกล่เกลี่ย

 

แต่ก่อนที่จะทำหน้าที่นี้ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดกลับขอให้ทุกฝ่ายที่มีสิทธิ์ ได้ยอมรับก่อนว่าพระองค์เป็นเจ้าที่อยู่เหนือสกอตแลนด์

 

ซึ่งแม้ตอนแรกจะมีการต่อต้านบ้าง แต่ในที่สุดผู้มีสิทธิ์มากสุดสองราย คือ จอห์น บาลลิออล และ โรเบิร์ต บรูซ ได้ตกลงยอมรับตามนั้น

 

โดยต่อมาศาลสูงศักดินา ได้ตัดสินเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 1835 ให้จอห์น บาลลิออล เป็นผู้มีสิทธิ์ในราชบัลลังก์ แต่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ที่ 1 ก็ได้ใช้อิทธิพลเข้าแทรกแซง ทำให้การบริหารประเทศสก็อตแลนด์เป็นไปด้วยความยากลำบาก เป็นเหตุให้ พระเจ้าจอห์น บาลลิออล ยกเลิกคำมั่น

 

เมื่อเป็นดังนั้น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดฯ จึงยกทัพเข้าตี เบอร์วิก-อัพออน-ทวีด เมืองชายแดนของสกอตแลนด์ และสังหารศัตรูของพระองค์ที่อยู่ที่นั่นจนสิ้น

 

กระทั่งในเดือนเมษายนฝ่ายสก็อตแลนด์ก็แพ้สงคราม อังกฤษจึงบีบบังคับให้ "พระเจ้าจอห์น บาลลิออล" สละราชสมบัติ พร้อมทั้งบังคับเจ้านายสก็อต 1,800 คนให้เข้าสวามิภักดิ์และได้กับนำเอา “หินแห่งสโคน” ซึ่งใช้ในพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์แห่งสก็อตแลนด์ ไปไว้ที่ลอนดอน

 

 

เส้นทางนักรบ

 

ต่อมา แฮรีผู้ตาบอดได้แต่งเรื่องว่า บิดาของวอลเลซถูกฆ่าตายพร้อมพี่ชายโดยทหารอังกฤษ เป็นเหตุให้วอลเลซต้องต่อสู้และฆ่าทหารอังกฤษไป 5 คน

 

และจากการถูกข่มเหงจากผู้ว่าราชการเมืองดันดี และฆ่าบุตรชายของผู้ว่าราชการฯ แม้จะเป็นเรื่องที่แฮรีฯ สร้างขึ้น แต่ได้พิสูจน์ว่าเชื่อถือได้โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่ดันดี

 

ระหว่างปี พ.ศ. 1839-พ.ศ. 1840 วอลเลซได้สู้กับพวกอังกฤษและได้รับชัยชนะ ต่อมาวอลเลซได้เข้าร่วมรบกับเซอร์วิลเลียม ดักกลาส แห่งฮาร์ดี สามารถปลดปล่อยเมืองแอเบอร์ดีน เพิร์ท กลาสโกว์ สกอน และดันดี จนเป็นอิสระจากอังกฤษได้

 

เมื่อถึงระยะนี้ ฝ่ายราชวงศ์สก็อตถูกบีบอย่างหนักจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ที่ 1 พอถึงเดือนเมษายน วอลเลซพร้อมผู้ติดตามได้ไปช่วย "แอนดรูว์ มอเรย์" ที่ “สเตอริง” ซึ่งกำลังลุกขึ้นต่อต้านอังกฤษ

 

ศึกนี้ วอลเลซใช้ยุทธวิธีลอบโจมตีแล้วถอยหนี เป็นเหตุให้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดสั่งประหารชีวิตสมาชิกสภาบารอนแห่งไอร์ทั้งหมด วอลเลซตอบโต้ด้วยการสังหารทหารอังกฤษที่ค่ายไอร์เสียชีวิตทั้งค่าย และถอยเข้าป่าเซลเคิร์ก

 

ช่วงนี้เองที่ชื่อเสียงของวอลเลซโด่งดังขึ้นอย่างมากและได้ย้ายจากที่ลุ่มป่าเซลเคิร์กไปอยู่ไฮแลนด์

 

 

ยุทธภูมิสะพานสเตอร์ลิง

 

11 กันยายน พ.ศ. 1840 วอลเลซได้ชนะการสู้รบที่สะพานสเตอร์ลิง ทั้งๆ ที่มีไพร่พลน้อยกว่าฝ่ายอังกฤษ ที่นำโดย "เอิร์ล" แห่งเซอรเรย์

 

ศึกนี้ วอลเลซล่อให้ทหารอังกฤษยกข้ามสะพานสเตอร์ลิงมาเกือบสุด แล้วโจมตีโตกลับกลับอย่างรวดเร็ว แต่ทหารอังกฤษส่วนหลังซึ่งกำลังมุ่งตามอย่างรวดเร็วกลับดันไปอัดแน่นกันอยู่บนสะพานเป็นเหตุให้สะพานพังทลายลง

 

 

ไม่ใช่หนัง  เซอร์ วิลเลียม วอลเลซ ถูกประหารกลางตลาด

สะพานสเตอร์ลิง ปี 2549

 

 

ทหารอังกฤษจมน้ำตาย แฮรีฯ อ้างว่าฝ่ายวอลเลซแอบใช้เชือกดึงให้สะพานพัง ชัยชนะของวอลเลซที่สะพานสะเตอร์ลิงครั้งนี้สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ชาวสก็อตเป็นอย่างมาก

 

หลังกลับจากการสู้รบที่สะพานสเตอร์ลิง วอลเลซได้รับบรรดาศักดิ์ขุนนางระดับเซอร์และได้รับการขนานนามว่า “ผู้พิทักษ์และแม่ทัพใหญ่แห่งสก็อตแลนด์” โดยกษัตริย์สก็อตแลนด์ที่ถูกกักขังในลอนดอน และมอบอำนาจการบริหารประเทศแก่วอลเลซ

 

หกเดือนหลังการสู้รบที่สะพานสเตอร์ลิง วอลเลซได้นำทัพสู้รบกับอังกฤษทางด้านเหนือเพื่อแสดงให้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดได้เห็นว่าสก็อตแลนด์ยังมีกำลังแข็งแกร่ง งานนี้ลูบคนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดอย่างอหังการ์ที่สุด

 

สงครามฟอลเคิร์ก

 

ปีต่อมา วอลเลซแพ้การสู้รบที่ฟอลเคิร์ก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 1841 ฝ่ายอังกฤษยกกำลังลุยสก็อตแลนด์ และยึดพื้นที่คืนได้มาก

 

ฝ่ายสก็อตใช้ยุทธวิธีเผาค่ายข้าศึก และเผาบ้านเรือนไร่นาของสก็อตเอง เป็นฝ่ายล่าถอย ทำให้ฝ่ายอังกฤษขาดขวัญกำลังใจ แต่กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดก็ยังไม่ลดละในการตามล่าตัววอลเลซ ยกกำลังติดตามจนวอลเลซต้องหนีและมอบอำนาจ “ผู้พิทักษ์และแม่ทัพใหญ่แห่งสก็อตแลนด์” ให้แก่ "โรเบิร์ต บรูซ" เอิร์ลแห่งคาร์ริก และ จอห์น โคมีน แห่งบาเดนอช ซึ่งเป็นเขยของอดีตกษัตริย์ "จอห์น บาลลิออล" ที่ภายหลังไปตกลงปรองดองกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 1845 ซึ่งวอลเลซรับไม่ได้ (อันนี้น่าจะตรงกับฉากเปิดเกราะแล้วเงิบของพระเอก วิลเลียม วอลเลซ)

 

ต่อมา วอลเลซได้เดินทางไปราชสำนักฝรั่งเศสกับ "วิลเลียม ครอว์ฟอร์ด" เพื่อขอความช่วยเหลือจาก "พระเจ้าฟิลิปส์ เลอ เบล" ในการต่อสู่เพื่ออิสรภาพของสก็อตแลนด์

 

ระหว่างเดินทางจากอังกฤษ เรือของวอลเลซถูกโจรสลัดผู้ลือนามคือ "ริชาร์ด ลองโกวิลล์" ดักปล้น แต่วอลเลซกลับเป็นฝ่ายจับลองโกวิลล์ไปถวายพระเจ้าฟิลิปส์ แล้วขอพระราชทานอภัยโทษให้ลองโกวิลล์เพื่อให้เป็นฝ่ายช่วยข้างสก็อตแลนด์ เรื่องราวตอนนี้เชื่อว่าเป็นการเสริมแต่งของแฮรีฯ ต่อมา ในปี พ.ศ. 1846 วอลเลซได้รับการขอร้องให้กลับสก็อตแลนด์

 

ประหารชีวิต

 

เซอร์ วิลเลียม วอลเลซ กลับถึงสก็อตแลนด์ และซ่อนตัวที่ฟาร์มของ วิลเลียม ครอว์ฟอร์ด ใกล้เอโควูด ฝ่ายอังกฤษได้ระแคะระคายจึงออกตามจับ แต่วอลเลซเอาตัวรอดได้หลายครั้ง

 

จนกระทั่งถูกจับตัวได้ในที่สุดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 1848 โดยจอห์น เดอ เมนทีท อัศวินผู้จงรักภักดีต่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด

 

วอลเลซถูกมอบตัวให้ทหารอังกฤษที่เมือง "โรบรอยสตัน" ใกล้ "กลาสโกว์" และถูกส่งตัวไปลอนดอน ถูกฟ้องในข้อหากบฏและฆ่าพลเรือนและนักโทษ

 

วอลเลซกล่าวสู้คดีว่า “ข้าพเจ้ามิได้เป็นกบฏต่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด เพราะข้าพเจ้าไม่ได้เป็นข้าแผ่นดินของพระองค์ พระเจ้าจอห์น บาลลิออล คือกษัตริย์ของข้าพเจ้า” และยืนยันไม่ยอมรับสารภาพ

 

และแล้ววันที่ 23 สิงหาคม ปีเดียวกัน วอลเลซ ถูกเปลื้องผ้าในศาล ถูกม้าลากออกไปตามถนนในเมืองและถูกแขวนคอในลานเมืองสาธารณะที่ตลาดสมิทฟีลด์

 

 

ไม่ใช่หนัง  เซอร์ วิลเลียม วอลเลซ ถูกประหารกลางตลาด

ภาพจากhttp://www.komkid.com/

 

 

แต่การประหารของเขามิใช่การสับคอด้วยขวานดังในภาพยนตร์ หากประวัติศาสตร์เล่าว่า เขาถูกแขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่

 

จากนั้นศีรษะของเขาถูกปักประจานที่สะพานลอนดอน ร่วมกับศีรษะของน้องชาย คือ จอห์นและ ไซมอน ฟราเซีย ส่วนแขนขาของวอลเลซถูกแยกนำไปประจานที่นิวคาสเซิล เบอร์วิก สเตอร์ลิงและที่แอเบอร์ดีน

 

ดาบของวอลเลซถูกยึดไว้ที่ปราสาทลูดอนเป็นเวลานาน ปัจจุบันถูกนำไปจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติวอลเลซ ใกล้เมืองสเตอร์ลิง

 

 

ไม่ใช่หนัง  เซอร์ วิลเลียม วอลเลซ ถูกประหารกลางตลาด

 

 

อย่างไรก็ดี ว่ากันว่า เรื่องราวของเซอร์ วิลเลียม วอลเลซ ที่ค่อนข้างใกล้เคียงความจริงได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อ “Braveheart” นำแสดงและกำกับโดย เมล กิบสัน เมื่อ พ.ศ. 2538 ซึ่งได้รับรางวัลอะแคเดมีมากถึง 5 รางวัล แม้จะอิงประวัติศาสตร์อย่างมากแล้ว แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ยังมีที่ผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ไม่น้อย

 

นอกจากนี้ คำพูดสุดท้ายก่อนสิ้นใจของ วิลเลียม วอลเลซ ที่ว่า "Freedom" หมายถึงอิสระภาพของชาวสก็อตแลนด์ คำนี้ประวัติศาสตร์ระบุว่าเกิดขึ้นจริง และยังอยู่ในใจของชาวสก็อตมานับหลายร้อยปี

 

เซอร์ วิลเลียม วอลเลซ เสียชีวิตด้วยอายุเพียง 35 ปี และมีชีวิตอยู่ในระหว่างรัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพระยาเลอไท แห่งสมัยสุโขทัย

 

********************//***********************

 

ขอบคุณภาพและข้อมูลจากวิพีเดีย

และ http://www.komkid.com/

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ