ชีวิตดีสังคมดี

'จุดความร้อน' ผุด 144 จุดทั่วไทย เช็กที่ไหนมากสุด 'ฝุ่น PM 2.5' กลับมาอีกครั้ง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'GISTDA' สรุปสถิติ 'จุดความร้อน' 19 ธ.ค. 2566 พบ 144 จุดทั่วไทย เช็กจังหวัดไหนมากสุด ขณะที่ 'ฝุ่น PM 2.5' กลับมาอีกครั้ง พบค่าเกินมาตรฐานหลายจังหวัด

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) 'GISTDA' สรุปสถิติ 'จุดความร้อน' (Hotspot) จากข้อมูลดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS  ในพื้นที่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2566 พบจุดความร้อน 144 จุด ลดลงจากเมื่อวานนี้ 159 จุด ขณะที่ สถานการณ์ 'ฝุ่น PM 2.5' พบเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสีแดงเพียงจังหวัดเดียว ใน กรุงเทพมหานคร พบ ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานในระดับสีส้ม 22 เขต

 

 

จากข้อมูลจุดความร้อนที่รายงานโดย GISTDA เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2566 พบ 'จุดความร้อน' ทั้งประเทศ 144 จุด ส่วนใหญ่พบในพื้นที่การเกษตร 75 จุด ตามด้วยพื้นที่ สปก. 30 จุด ชุมชนและอื่นๆ 24 จุด ป่าสงวนแห่งชาติ 7 จุด พื้นที่ริมทางหลวง 5 จุด และป่าอนุรักษ์ 3 จุด จังหวัดที่พบจำนวนจุดความร้อนสูงสุด 3 อันดับแรก คือ จ.เชียงราย 15 จุด ตามด้วย จ.นครราชสีมา 12 จุด และ จ.ขอนแก่น 9 จุด นอกจากนี้ ประเทศเพื่อนบ้านที่พบจุดความร้อน มากสุดอยู่ที่กัมพูชา 248 จุด ตามด้วย ไทย 144 จุด พม่า 76 ลาว 50 จุด และเวียดนาม 42 จุด

 

 

จุดความร้อน

จุดความร้อน

 

ขณะที่ สถานการณ์ 'ฝุ่น PM 2.5' แบบรายชั่วโมง ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมผ่านแอปพลิเคชั่น "เช็คฝุ่น" เมื่อเวลา 09.00 น. ของวันที่ 20 ธ.ค. 2566 พบว่า พบเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสีแดงเพียงจังหวัดเดียว คือ จ.สมุทรสงคราม 76.7 ไมโครกรัม และอีก 15 จังหวัดอยู่ในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพสีส้ม 15 จังหวัด ประกอบด้วย 

 

  • จ.สมุทรสาคร 
  • จ.นครปฐม 
  • จ.ราชบุรี 
  • จ.เพชรบุรี 
  • จ.นนทบุรี 
  • จ.ตาก 
  • จ.กาญจนบุรี 
  • จ.ปทุมธานี 
  • จ.พิจิตร 
  • จ.สุพรรณบุรี 
  • จ.ประจวบคีรีขันธ์ 
  • กรุงเทพมหานคร 
  • จ.ลำพูน 
  • จ.สมุทรปราการ 
  • จ.ฉะเชิงเทรา

 

 

ในขณะที่ กทม. พบค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานในระดับสีส้ม 22 เขต สูงสุด 3 ลำดับอยู่ที่ หลักสี่ 54.3 ไมโครกรัม ตามด้วย หนองแขม 52.0 ไมโครกรัม และดอนเมือง 51.6 ไมโครกรัมตามลำดับ

 

 

แอปพลิเคชั่น "เช็คฝุ่น" ยังคาดการณ์ปริมาณ 'ฝุ่น PM 2.5' ในอีก 3 ชั่วโมงข้างหน้า พบว่าหลายพื้นที่จะมีค่าคุณภาพอากาศที่ยังคงอยู่ในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ข้อมูลบนแอปพลิเคชัน "เช็คฝุ่น" มีการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมร่วมกับ AI (Artificial intelligence) ในการวิเคราะห์ค่าฝุ่น PM 2.5 แบบรายชั่วโมงในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ร่วมกับการใช้ข้อมูลการตรวจวัด PM 2.5 จากกรมควบคุมมลพิษ, ข้อมูลสภาพอากาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยา รวมถึงข้อมูลของแหล่งกำเนิดฝุ่น เช่น จุดความร้อน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก มานำเสนอให้ในรูปแบบข้อมูลตัวเลขและค่าสีในระดับต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจสถานการณ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ