ชีวิตดีสังคมดี

จับตา โอไมครอน 'XBB.1.16' พบอาการสำคัญหนึ่งอาการ ไม่เหมือนโควิดทั่วไป

จับตา โอไมครอน 'XBB.1.16' พบอาการสำคัญหนึ่งอาการ ไม่เหมือนโควิดทั่วไป

16 เม.ย. 2566

จับตาความรุนแรง โอไมครอน 'XBB.1.16' เกาะติดเซลล์มนุษย์ได้ดีแนวโน้มแพร่เชื้อไว พบอาการสำคัญหนึ่งอาการที่แตกต่างจาก อาการโควิด ทั่วไป

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เปิดเผยข้อมูลว่า ดร.วิพิน ม.วาชิษฐา (Dr. Vipin M. Vashishtha) กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันจากประเทศอินเดีย ระบุว่า  สำหรับผู้ที่ได้รับเชื้อโควิด โอไมครอน  "XBB.1.16"  พบอาการสำคัญ คือ เยื่อบุตาอักเสบ

 

ส่วนอาการที่สามารถสังเกตได้ทั่ว ๆ ไปคือ ไข้สูง อาการหวัด อาการไอ จากนั้นจะเกิดเยื่อบุตาอักเสบ คันตา ขี้ตา เหนียว ลืมเปลือกตาไม่ขึ้น แต่ไม่มีหนอง เพราะไม่ได้ติดเชื้อแบคทีเรีย และได้เน้นย้ำว่า ประเทศที่พบ  โอไมครอน  "XBB.1.16" ระบาดมากอย่างอินเดียก็ยังไม่พบผู้ติดเชื้อ XBB.1.16 ที่ต้องเข้ารักษาตัวใน โรงพยาบาลเพิ่มขึ้นแต่ประการใด

แต่การแจ้งเตือนก็เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชน ยิ่งประชาชนตระหนักรู้มากเท่าไหร่ จะป้องกันและดูแลสุขภาพตนเอง การเจ็บป่วยก็จะน้อยลง ส่วนการตรวจ ATK หลังสงกรานต์ สามารถตรวจได้ตามความจำเป็น เพราะสถานการณ์ติดเชื้อใน ไทยอยู่ในระดับต่ำ แม้จะมีการติดเชื้อประปรายแต่ผู้ป่วยที่ต้องเข้าโรงพยาบาลยังมีจำนวนน้อย

 

 

ทั้งนี้พบว่าผู้ที่ติดเชื้อ 1 ใน 6 รายพบเป็นรุ่นลูกของ  โอไมครอน  "XBB.1.16"  คือ XBB.1.16.1 ซึ่งมีการกลายพันธุ์ตรงส่วนหนาม ของไวรัสหนึ่งตำแหน่งคือ T547  ต่างไปจาก XBB.1.16 แต่ทางศูนย์จีโนมฯ ยังไม่มีข้อมูลเชิงลึก ว่าผู้ป่วยที่เจอในไทยมีอาการอย่างไรบ้าง

อย่างไรก็ตาม มีการแจ้งเตือน โอไมครอน  "XBB.1.16"  มาตั้งแต่ต้นปี 2566 ข้อมูลจาก Dr. Rajesh Karyakarte แพทย์ในโรงพยาบาล BJ Medical College ในรัฐมหาราษฎระ ที่เก็บจากผู้ป่วย 42 ราย ที่ยืนยันสายพันธุ์ว่าติดเชื้อ XBB.1.16 จากการถอดรหัสพันธุกรรม พบว่า 39 รายมีอาการป่วยชัดเจน อีก 3 คน เป็นกลุ่มที่ บวกแต่ไม่มีอาการ โดย 39 คน มี 12 คนที่จำเป็นต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล และ 27 คน รักษาตัวหายได้เองที่บ้าน

 

ในจำนวน 12 คนที่เข้าโรงพยาบาลมี 2 คนที่มารักษาตัวด้วยอาการที่ไม่เกี่ยวกับโควิดแต่ตรวจพบในโรงพยาบาล ที่เหลืออีก 10 คน มี 4 คนที่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจน อาการที่พบในผู้ป่วยคือ ไข้ ไอ หนาว ปวดกล้ามเนื้อ หายใจขัด ปวดศีรษะ และ เจ็บ คอ

 

 

โดยทั่วไปอาการของผู้ป่วยไม่ได้แตกต่างจาก โอไมครอน สายพันธุ์อื่นๆ แต่ความสามารถในการหนีภูมิคุ้มกันดูโดดเด่นกว่า สายพันธุ์อื่น เพราะผู้ป่วยหลายรายมีภูมิสูงจากวัคชื่น แต่ยังสามารถมีอาการป่วยจากการติดเชื้อได้อยู่ แต่อาการจะไม่รุนแรงมาก

 

 

องค์การอนามัยโลก (WHO)  ระบุว่า สำหรับความรุนแรงของ  โอไมครอน  "XBB.1.16" พบว่า มีการกลายพันธุ์บริเวณหนามของไวรัสโควิด-19 เพิ่มเติม ทำให้สามารถเกาะติดและติดเชื้อในเซลล์ของมนุษย์ ได้ดีกว่าทุกสายพันธุ์ที่ระบาดทั่วโลกในขณ. ส่งผลให้ XBB.1.16 มีศักยภาพในการแพร่เชื้อได้มากขึ้น และอาจก่อให้เกิดโรคที่รุนแรงขึ้นได้  ที่ผ่านมาเคยได้ยินมาก่อนโดยเฉพาะกับ โอไมครอน ลูกผสม XBB.1.5 ที่อุบัติขึ้นในช่วงปลายปีที่แล้วและต้นปีนี้

 

โดยอิงจากการวิเตราะห์รหัสพันธุกรรมของไวรัสทั้งจีโนม ที่อาจไม่ตรงกับการสิ่งที่ เกิดขึ้นในชีวิตจริงเสมอไป แต่ โอไมครอน ลูกผสม XBB.1.5 ไม่ก่อให้เกิดโรคที่รุนแรง เนื่องจากลักษณะภูมิคุ้มกันของประชากรมีความชับซ้อนสูง

 

อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก ได้เพิ่ม  โอไมครอน  "XBB.1.16"  ในรายชื่อ โควิดสายพันธุ์ย่อยอุบัติใหม่ที่ต้องติดตาม ขององค์การอนามัยโลกเมื่อวันที่ 22 มี.ค. ที่ผ่านมา