คนไทยใช้ 'มอเตอร์ไซค์' พุ่ง 22 ล้านคัน สะท้อนขนส่งสาธารณะพัง ซ้ำสร้างมลพิษ
คนไทยใช้ 'มอเตอร์ไซค์' พุ่ง 22 ล้านคัน สะท้อนระบบขนส่งสาธารณะไม่ตอบโจทย์ทั้งคนกรุงเทพฯและต่างจังหวัด แถมยังซ้ำเติมสภาพอากาศปล่อยคาร์บอนจำนวนมาก ปี 65 คนไทยซื้อไปแล้ว 1.8 ล้านคัน
ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีปริมาณการใช้ "มอเตอร์ไซค์" มากที่สุดในโลก แซงหน้าเวียดนามไปแล้วโดบข้อมูลจากการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ จากกรมการขนส่งทางบก ในปี 2566 ทั่วประเทศไทยมีการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์มากถึง 22.13 ล้านคัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ถึง 4.51 แสนคันที่มีการจดทะเบียนราว ๆ 21.68 ล้านคัน
ปริมาณการจดทะเบียนรถ "มอเตอร์ไซค์" ที่เพิ่มขึ้น ตกกระทบไปถึงการขายประกันภัยภาคบังคับ ซึ่งเป็นประกันภัยที่ผู้ขับขี่รถ "มอเตอร์ไซค์" จะต้องซื้อทุกคน โดยข้อมูลจาก บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ระบุตัวเลขรถมอเตอร์ไซค์ที่มีการซื้อประกันภาคบังคับ โดยพบว่า ขณะนี้มีการซื้อประภัยให้แก่รถมอเตอร์ไซค์ไปจำนวนกว่า 15 ล้านกรมธรรม์ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 5 แสนกรมธรรม์ ซึ่งมีความสอดคล้องกับตัวเลขการจดทะเบียนของกรมการขนส่งทางบก
ตัวเลขการใช้รถ "มอเตอร์ไซค์" ที่เพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นว่าการขับขี่มอเตอร์ไซค์ ในประเทศไทยมีความสะดวกมากกว่าการใช้รถขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดที่ขนส่งสาธารณะไม่ได้สะดวกมากพอ และการพัฒนามีความล้าช้าไม่ตอบโจทย์การต้องการให้บริการของประชาชน ส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร แน่นอนว่าคนมักจะเลือกใช้ "มอเตอร์ไซค์" แกรป วินมอเตอร์ไซค์ เพราะสภาพการจราจรติดขัด ระบบขนส่งมวลชนไม่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต เพราะมีราคาแพง แออัดในช่วงชั่วโมงเร่ง ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการรอคิว ดังนั้นทางเลือกที่ดีที่สุดจึงกลายเป็ฯการใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์
จากความต้องการใช้ รถมอเตอร์ไซค์ ที่เพิ่มขึ้นเพราะระบบขนส่งสาธารณะไม่ตอบโจทย์ ส่งผลให้อานิสงฆ์รถยยอดขาย "มอเตอร์ไซค์" ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดย นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ว่า ภาพรวมตลาดรถมอเตอร์ไซค์ของประเทศไทยถือว่ามีอัตราการเติบโตอย่างมาก โดยในปี 2565 ไทยสามารถผลิต "มอเตอร์ไซค์" สำเร็จรูปได้มากถึง 2 ล้านคัน โตขึ้นกว่า 13% นอกจากนี้ยังพบว่ามียอดจำหน่ายรถมอเตอร์ไซค์ในประเทศมากถึง 1.8 ล้านคัน เติบโตกว่า 11% แต่ในปี 2566 คาดการณ์ว่าปริมาณการซื้อรถอมเตอร์ไซค์ในประเทศไทยจะลดลงเหลือราว ๆ 1.75 ล้านคัน หรือลดลงประมาณ 50,000 คันเท่านั้น
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ปริมาณการซื้อ "มอเตอร์ไซค์" ในประเทศถือว่าเติบโตอย่างมาก โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ตลากรถมอเตอร์ไซค์เติบโต เป็นเพราะมีราคาถูก สามารถขับขี่ได้อย่างคล่องตัว และเข้าถึงพื้นที่เล็ก ๆ ได้อย่างดี ประกอบกับระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทยไม่ได้ตอบโจทย์ประชาชนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด ที่การเดินทางเป็นไปอย่างลำบาก ดังนั้นการเลือกซื้อ "มอเตอร์ไซค์" เป็นพาหนะในการเดินทางจึงมีความสะดวกมากกว่า นอกจากนี้ตนยังเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวภาคธุรกิจเช่ารถมอเตอร์ไซค์กลับมาขายได้อีกครั้งเพราะมีนักท่องเที่ยว จึงส่งผลให้ยอจำหน่ายรถมอเตอร์ไซค์ในประเทศไทยพุ่งสูงมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามแม้ว่า "มอเตอร์ไซค์" จะสร้างความสะดวก สะบายในการเดินทาง ตอบโจทย์ทั้งคนที่อยู่ต่างจังหวัด และในกรุงเทพฯ อีกทั้งนยังมีราคาถูกกว่ารถยนต์ แต่การที่ประเทศไทยมีการใช้รถมอเตอร์ไซค์เป็นจำนวนมากเช่นนี้ กลับส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เพราะมอเตอร์ไซค์ถือว่าเป็นอีกยานพาหนะที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเป็นจำนวนมาก โดนข้อมูลพบว่า รถจักรยานยนต์ มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยเฉลี่ย 72 กรัมต่อกิโลเมตรต่อ 1.2 คน หากคนเราเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ที่ใช้น้ำมันเฉลี่ยวันละ 10 กิโลเมตร เป็นระยะเวลา 1 ปี แค่ 100 คัน
สามารถปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้สูงถึง 262,800,000 กรัมต่อปี ในขณะที่ประเทศไทยมีจำนวนมอเตอร์ไซค์ 22 ล้านคัน ซึ่งปริมาณการใช้ "มอเตอร์ไซค์" ที่เพิ่มขึ้น เพราะระบบจนส่งสาธารณะไม่ดีพอ และไม่ตอบโจทย์นั้นค่อนข้างสวนทางกับภารกิจลดอัตราการปล่อยคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศ เพื่อทำให้ประเทศไทยมีการปล่อยคาร์เป็นศูนย์ หรือ Carbon Net Zero ดังนั้นสิ่งที่จะรัฐจะต้องคำนึงต่อจากนี้ คือการสร้างระบบขนส่งที่ดีพอสำหรับทุกคน หรือหันมาส่งเสริมการใช้รถมอเตอร์ไซค์ EV ให้มากขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยเดินไปสู่เป้าหมายและลดอัตราการปล่อยคาร์บอนได้สำเร็จ