ไลฟ์สไตล์

Mini UAS T-Eagle Eye III สู่การรับรองมาตรฐาน กมย.ทบ.

Mini UAS T-Eagle Eye III สู่การรับรองมาตรฐาน กมย.ทบ.

28 ก.พ. 2563

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ร่วมกับ กองทัพอากาศ (ทอ.) โดยโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช วิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก แบบส่งขึ้นด้วยมือ รุ่น T-Eagle Eye III ระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กมาก หรือ Mini UAS ตอบสนองการใช้งานของกองทัพบก โดยออกแบบให้มีน้ำหนักเบา สะดวกต่อการพกพาและเคลื่อนย้าย (Manned Pad หรือ Manned Portable) ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า จึงให้กำเนิดเสียงที่เบาต่ำ ทำให้ตรวจจับได้ยาก (Low Noise Signature) มีกลไกในการทำงานไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับหน่วยทหารราบ โดยเฉพาะหน่วยลาดตระเวนหาข่าว อาทิ กองร้อยลาดตระเวนระยะไกล หรือหน่วยอื่น ๆ ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการค้นหาเป้าหมาย (Target Acquisition) ประเมินความเสียหาย (Battle Damage Assessment)  และเข้าถึงในพื้นที่เสี่ยงอันตรายที่ไม่สามารถใช้กำลังพลทหารเข้าไปทำภารกิจได้ ด้วยคุณลักษณะที่โดดเด่นสามารถถ่ายภาพและบอกพิกัดเป้าหมายใกล้เคียงเวลาจริง (Near Real Time) ในแบบหน่วยพิกัดทางทหาร (หน่วย UTM) ได้ โดยมี GPS ที่ให้ความแม่นยำคลาดเคลื่อนในระดับ (+,- 2 ตารางเมตร) ทั้งในด้านของระยะเวลาปฏิบัติการและรัศมีปฏิบัติการ สามารถทำการบินขึ้นโดยใช้การส่งขึ้นด้วยมือ และลงจอด แบบใช้ระบบร่มหน่วง หรือ ร่อนลงจอดด้วยท้องไถ ติดตั้ง Payload แบบ Stabilized Gimbal (มาตรฐานระบบป้องกันการสั่นไหวชุดกล้อง) หมุนได้รอบตัว 360 องศา พร้อมโปรแกรมควบคุมกล้องแบบติดตามเป้าหมาย (Target Tracking) พร้อมกล้องกลางวันกำลังขยาย 10 เท่า (E Optical Zoom 10X) และกล้องกลางคืนแบบตรวจจับความร้อน (Thermal Camera)

Mini UAS T-Eagle Eye III สู่การรับรองมาตรฐาน กมย.ทบ.

Mini UAS T-Eagle Eye III สู่การรับรองมาตรฐาน กมย.ทบ.

  • ระยะปฏิบัติการ Operational Range 10 กิโลเมตร
  • ระยะเวลาบินนานสูงสุด Maximum Endurance  90 นาที
  • น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด Maximum Take-off Weight 3 กิโลกรัม
  • ความยาวปีก Wing Span 1.9 เมตร
  • ความเร็วสูงสุด Maximum Speed 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • เพดานบินสูงสุด Ceiling 3,000 ฟุต
  • ระบบสื่อสาร สามารถต่อเชื่อมเข้ากับระบบสื่อสารแบบอินเตอร์เน็ตหรือระบบสื่อสารอื่น ๆ ที่มีอยู่ได้เพื่อให้ส่วนบัญชาการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในพื้นที่อื่นได้ดูภาพเหตุการณ์จริงที่กำลังเกิดขึ้น
  • มีเสาอากาศหันตามควบคุมแบบอัตโนมัติ
  • ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ ของระบบ Flight Control และระบบ Ground Control Station คิดค้นและพัฒนาโดยนักวิจัย สทป. โดยสามารถทำการบินได้ทั้ง แบบโหมดการบังคับจากผู้ใช้ (Manual Mode) หรือโดยการใช้โหมดระบบการบินแบบอัตโนมัติ (Fully Autonomous Mode) โดยการตั้งโปรแกรมการบิน ล่วงหน้าและสามารถทำการเปลี่ยนแปลงพิกัดการบินที่ตั้งไว้ได้ทุกเมื่อ แม้ว่าเครื่องจะออกปฏิบัติการไปแล้วก็ตาม

Mini UAS T-Eagle Eye III สู่การรับรองมาตรฐาน กมย.ทบ.

Mini UAS T-Eagle Eye III สู่การรับรองมาตรฐาน กมย.ทบ.

สทป. ได้ส่งมอบต้นแบบระบบ Mini UAS และฝึกอบรมกำลังพลให้หน่วยผู้ใช้กองทัพบกจำนวน 4 ระบบ และการนำต้นแบบ Mini UAS รุ่น T-Eagle Eye III ไปทดสอบใช้งานในพื้นที่จริง และสรุปการประเมินผลจากคณะกรรมการทดสอบและประเมินผล กองทัพบก เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2558 ณ ศูนย์การทหารราบ ได้ผลการทดสอบคิดเป็นร้อยละ 93.3 ของคะแนนรวม โดยมีหัวข้อการทดสอบดังต่อไปนี้

1. การประเมินผลทางด้านยุทธวิธี : การเตรียมการบินของ Mini UAS พื้นที่ส่งขึ้น - ลง และในการร่อนลง ระยะเวลาในการบินไม่น้อยกว่า 60 นาที สามารถระบุตำแหน่งของเป้าหมายทั้งกลางวัน/กลางคืนได้ การทดสอบบินในเวลากลางวัน/กลางคืน โดยมีรัศมีการบิน 10 กิโลเมตร ทดสอบการส่งสัญญาณภาพที่ความสูง 100 - 3,000 ฟุต

2. การประเมินผลทางด้านเทคนิค : ตัวเครื่อง Mini UAS พร้อมชุดอุปกรณ์ มีความทนทานแข็งแรง ความสะดวก ในการขนย้าย การถ่ายทอดเทคโนโลยี/การฝึก/คู่มือใช้งาน มาตรฐานระบบป้องกันการสั่นไหวชุดกล้อง มีโปรแกรมใช้งานที่มีประสิทธิภาพ แบตเตอรี่ใช้เวลาประจุไฟไม่เกิน 1 ชั่วโมง มีระบบป้องกันการรบกวนทางสัญญาณ ชุดควบคุมภาคพื้น สามารถบันทึกข้อมูลได้ และย่านความถี่มีความอ่อนตัวสามารถปรับได้ตามความต้องการ

3. การประเมินผลด้านการส่งกำลังบำรุง : สทป. ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมพันธมิตรที่มีมาตรฐาน มีองค์ความรู้และแนวทางพัฒนารุ่นใหม่ได้ต่อไปในอนาคต มีเครื่องมือประจำชุดและชิ้นส่วนซ่อมที่จำเป็น การซ่อมบำรุงและการเปลี่ยนชิ้นส่วนระดับผู้ใช้ไม่ยุ่งยาก สามารถทำได้ตั้งแต่ในระดับผู้ใช้ ซึ่งมีอะไหล่วัสดุอุปกรณ์ที่หาง่ายจากผู้ผลิตภายในประเทศ ด้วยกระบวนการผลิตที่ได้รับการยอมรับจากอุตสาหกรรมอากาศยานทั้งในและต่างประเทศ เป็นหลักประกันถึงคุณภาพและมาตรฐานที่สามารถตอบสนองและสนับสนุนระบบส่งกำลังบำรุงให้กับหน่วยผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์

Mini UAS T-Eagle Eye III สู่การรับรองมาตรฐาน กมย.ทบ.

Mini UAS T-Eagle Eye III สู่การรับรองมาตรฐาน กมย.ทบ.

จากผลการทดสอบต้นแบบ Mini UAS T-Eagle Eye III ตามหลักเกณฑ์ดังที่ได้กล่าวมานั้น ทำให้ทราบถึงขีดความสามารถและคุณลักษณะของ Mini UAS T-Eagle Eye III ที่เทียบเท่า Mini UAS ที่นำเข้าจากต่างประเทศ และยืนยันได้ในจุดเด่น ของ Mini UAS T-Eagle Eye III ที่สามารถนำมาใช้งานสนับสนุนภารกิจของกองทัพบกได้อย่างดียิ่ง จนได้รับการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์ จากคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์ กองทัพบก (กมย.ทบ.) ซึ่งความสำเร็จในครั้งนี้ จะทำให้ระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก (Mini UAS) ที่เกิดขึ้นจากการวิจัยและพัฒนาได้เองภายในประเทศ สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนภารกิจของกรมทหารราบสมัยใหม่ ตามหลักนิยมการรบ รวมถึงนำไปใช้สนับสนุนการเผชิญภัยคุกคามรูปแบบอื่น อาทิ การลาดตระเวนค้นหาช่วยเหลือ และกู้ภัย ในกรณีเกิดพิภัยบัติ น้ำท่วม, ไฟป่า ฯลฯ เป็นเทคโนโลยีสองทาง ซึ่งเป็นตามนโยบายของ พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในการผลักดันงานวิจัยพัฒนาที่สามารถส่งเสริมให้เกิดเป็นอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ สร้างงาน สร้างรายได้ภายในประเทศ ขับเคลื่อนนโยบาย S-Curve ที่ 11 ตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 ผลักดันยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สร้างความมั่นคง มั่งคั่งให้กับประเทศ และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

Mini UAS T-Eagle Eye III สู่การรับรองมาตรฐาน กมย.ทบ.

Mini UAS T-Eagle Eye III สู่การรับรองมาตรฐาน กมย.ทบ.

Mini UAS T-Eagle Eye III สู่การรับรองมาตรฐาน กมย.ทบ.

Mini UAS T-Eagle Eye III สู่การรับรองมาตรฐาน กมย.ทบ.