
บังสุกุลไม่ใช่บังสกุล:คำวัด
บังสุกุลไม่ใช่บังสกุล : คำวัด โดย พระธรรมกิตติวงศ์
การทำบุญต่ออายุ จะนิยมจัดงานใหญ่กว่าการทำบุญวันเกิด ส่วนใหญ่จะกระทำในวัยเบญจเพส คือ ๒๕ ปี เพราะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต หรือช่วงอายุกลางคน คือ ๕๐ ปี เพราะถือว่าอายุยืนยาวมาได้ครึ่งหนึ่งของชีวิตแล้ว จึงควรทำบุญและเลี้ยงฉลองความยินดี รวมทั้งทำพิธี "บังสุกุลเป็น"
คำว่า "บังสุกุล" นั้น มาจากคำภาษาบาลีว่า ปํสุ (อ่านว่า ปัง-สุ) แปลว่า ฝุ่น และคำว่า กุล (อ่านว่า กุ-ละ) แปลว่า เปื้อน, คลุก สมาสคำทั้งสองเข้าด้วยบทวิเคราะห์เป็น ปํสุกุล (อ่านว่า ปัง-สุ-กุ-ละ) แปลว่า ผ้าที่เปื้อนฝุ่น
เมื่อมาเป็นคำไทย เปลี่ยน "ปอ ปลา" เป็น "บอ ใบไม้" และปรับเสียงเป็นรูปแบบภาษาไทยที่มีตัวสะกด เป็น บังสุกุล อ่านว่า บัง-สุ-กุน
ดังนั้นคำว่า "บังสุกุล" จึงต้องเขียนว่า "บังสุกุล" เท่านั้น ไม่สามารถเขียนเป็นอย่างอื่นได้ หากเขียนเป็น บังสกุล ถือเป็นคำที่เขียนผิด อันเกิดจากการเทียบเคียงผิดกับคำว่า สกุล ที่หมายถึง ตระกูลวงศ์
บังสุกุล แปลว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น, เปื้อนฝุ่น เป็นคำใช้เรียกผ้าที่ภิกษุชักจากศพ หรือผ้าที่ทอดไว้หน้าศพ หรือผ้าที่ทอดไว้บนด้ายสายสิญจน์ หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อมาจากศพด้วยการพิจารณากรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล โดยเรียกกริยาที่พระชักผ้าหรือพิจารณาผ้าเช่นนั้นว่า ชักผ้าบังสุกุล หรือพิจารณาผ้าบังสุกุล
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต และเจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม อธิบายให้ฟังว่า บังสุกุลไม่ใช่บังสุกุล
บังสุกุล แปลว่า ฝั่งแห่งฝุ่น กองฝุ่น คลุก ฝุ่น เปื้อนฝุ่น
บังสุกุล ใช้เรียกผ้าที่ภิกษุชักจากศพ หรือผ้าที่ทอไว้หน้าศพ หรือผ้าที่ทอดบาสายสิญจน์ หรือ ผ้าภูษาโยงที่ต่อมาจากศพด้วยการพิจารณากรรมฐานว่า บังสุกุล
เรียกกิริยาที่พระชักผ้า หรือพิจารณาผ้าเช่นนั้นว่า ชักผ้าบังสุกุล หรือพิจารณาผ้าบังสุกุล
ในสมัยพุทธกาลภิกษุต้องแสวงหาผ้าที่เขาทิ้งแล้วจากกองขยะ หรือจากป่าช้ามาทำเป็นจีวรใช้ ผ้าเหล่านั้นส่วนใหญ่จะเปื้อนฝุ่นหรือสกปรก จึงเรียกว่า ผ้าบังสุกุล
ปัจจุบันมักเขียนหรือพูดผิดเพี้ยนไปว่า บังสกุล ด้วยเหตุที่ว่าออกเสียงง่ายกว่าคำที่ถูกต้อง คือ บังสุกุล
ทั้งนี้ จะมีอีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้อง คือ มาติกา (อ่านว่า มาด-ติ-กา) แปลว่า หัวข้อ แม่บท
มาติกา หมายถึง พระบาลีที่เป็นหัวข้อแม่บท เรียกว่า บทมาติกา
เรียกการที่พระสงฆ์สวดพระบาลีเฉพาะหัวข้อธรรมในพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งขึ้นต้นด้วยบทว่า “กุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา...” ในงานที่เกี่ยวกับศพว่า สวดมาติกา
มาติกา คำนี้ในงานศพจะใช้คู่กับคำว่า บังสุกุล เป็น มาติกา บังสุกุล กล่าวคือ พระสงฆ์จะสวดมาติกาก่อนแล้วบังสุกุลต่อกันไป เช่น ที่เขียนในบัตรเชิญงานศพว่า
“๑๔.๐๐ น. พระสงฆ์มาติกา บังสุกุล