พระเครื่อง

อธิษฐาน : คำวัด

อธิษฐาน : คำวัด

29 มี.ค. 2556

อธิษฐาน : คำวัด โดยพระธรรมกิตติวงศ์

 
              พระปิดหู เป็นพระพุทธรูปปางแปลก แตกต่างไปจากพระพุทธรูปที่เคยเห็นโดยทั่ว ซึ่งประดิษฐานอยู่บริเวณลานอเนกประสงค์ หน้าทางเข้าวัดดอนเจดีย์ หมู่ ๕ ต.ดอนเจดีย์ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ส่วนอีกองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดท่าไม้ ตั้งอยู่เลขที่ ๕๑ หมู่ ๑๑ ถนนเศรษฐกิจ ๑ ซอย ๘ ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ซึ่งมี "พระอาจารย์อุเทน" หรือพระครูปลัดอุเทน สิริสาโร เป็นเจ้าอาวาส

              พุทธลักษณะโดยรวมของพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ มือทั้ง ๒ ด้านปิดที่หูไว้ หลับตาสองข้าง ซึ่งมีลักษณะแปลกกว่าพระพุทธรูปโดยทั่วไป ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปปิดหูองค์นี้ว่า หลวงพ่อปิดเคราะห์ หรือพระพุทธปริศนาธรรมมงคล

             ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อปิดเคราะห์นั้น ผู้ที่มาตั้งจิตอธิษฐาน มีคติความเชื่อว่า ท่านมีความเมตตาสูงมาก ไม่ว่าใครก็ตาม หากกำลังเผชิญกับปัญหา หรือทุกข์ภัยหนักหน่วงแค่ไหน เมื่อเดินทางมากราบไหว้ขอพรจากองค์หลวงพ่อก็มักจะได้รับความเมตตา โดยท่านจะดลบันดาลให้สิ่งที่ต้องการนั้นสมมาดปรารถนาอยู่เสมอ ทุกวันนี้จึงมีพุทธศาสนิกขนจำนวนมากพากันแห่กราบไหว้ "พระปิดเคราะห์" และปิดทองเหลืองอร่ามไปทั้งองค์ ที่พวกเราได้ยินกันมาตั้งแต่อ้อนแต่ออกก็คือ การตั้งผังสำเร็จขึ้นมาในใจ โดยมี
 
              คำว่า “อธิษฐาน” (อ่าน อะ-ทิด-ถาน หรือ อะ-ทิด-สะ-ถาน) พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายไว้ว่า อธิษฐาน มีสองความหมาย ความหมายแรกคือ การตั้งมั่นหรือการตัดสินใจ และความหมายที่สองคือ การตั้งใจหรือการผูกใจ

              อธิษฐานในความหมายของการตั้งมั่นอธิษฐาน แปลว่า การตั้งมั่น การตัดสินใจ การตั้งความปรารถนา ทั่วไปหมายถึงการตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง การตั้งจิตร้องขอสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การนึกปรารถนาสิ่งที่ต้องการจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากพระ นึกอธิษฐานในใจขอให้เดินทางแคล้วคลาด เป็นต้น

              คำว่า อธิษฐาน ในคำวัดหมายถึงความตั้งใจมั่นคงตัดสินใจรักษาสัจจะ ตั้งใจประกอบความเพียร ตั้งใจเสียสละ ตั้งใจทำบุญ ตั้งใจหาความสงบ เป็นต้น

              ส่วนอธิษฐานในความหมายของการตั้งใจอธิษฐาน แปลว่า การตั้งใจไว้ การผูกใจไว้ ใช้คู่กับคำว่า ปัจจุธรณ์ ที่แปลว่า ถอนคืน การถอนคืน เป็นภาษาพระวินัย คือมีธรรมเนียมว่าเมื่อพระสงฆ์ได้ผ้ามาใหม่ ตั้งใจจะใช้เป็นผ้าชนิดใด เช่น เป็นสบงสำหรับนุ่ง เป็นจีวรสำหรับห่ม ก็อธิษฐานคือตั้งใจกำหนดผูกใจไว้ว่าจะใช้สอยเป็นผ้าชนิดนั้น เมื่ออธิษฐานเสร็จแล้วเป็นอันถูกต้องและใช้สอยได้ตามพระวินัย เรียกผ้านั้นว่า ผ้าอธิษฐาน ผ้าครอง หรือสบงอธิษฐาน จีวรอธิษฐาน