
โกศ-โกฏิ : คำวัด
โกศ-โกฏิ : คำวัด โดยพระธรรมกิตติวงศ์
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มรณภาพ ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือด เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๘.๔๑ น. ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ยังความเศร้าสลดมาสู่ชาวพุทธทั่วประเทศ และต่างร่วมแสดงความอาลัยในทุกภาคส่วน
ในกาลนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนชั้นเครื่องเกียรติยศประกอบศพ จากโกศไม้สิบสอง เป็นโกศมณฑป
คำว่า "โกศ" (โกด) พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายไว้ว่า กล่อง คลัง ฉาง ผอบ ฝัง โพรง หีบ ได้แก่สิ่งที่มีลักษณะเป็นโพรงซึ่งสามารถเก็บของหรือสมบัติไว้ภายในได้ ใช้ว่า โกษ โกส ก็มีแล้วแต่กรณี
โกศ ในคำวัดส่วนใหญ่ใช้ในความหมายว่าคลัง ตู้ หีบ เช่น ธรรมโกศ หมายถึงคลังธรรม ตู้ธรรม
โกศ ในภาษาไทยหมายถึงที่ใส่ศพนั่งเป็นรูปกลมทรงกระบอก ฝาครอบมียอด เรียกว่า โกศศพ มีหลายประเภท เช่น โกศโถ โกศกุดัน โกศแปดเหลี่ยม
นอกจากนี้แล้ว โกศยังหมายถึงที่ใส่อัฐิขนาดต่างๆ ฝาครอบมียอดเช่นกัน เรียกว่า โกศกระดูก
ส่วนคำว่า "โกฏิ" (โกด) ตามพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายไว้ว่า โกฏิ เป็นคำนาม ซึ่งเป็นชื่อมาตรานับ เท่ากับ ๑๐ ล้าน
ทั้งนี้ คำว่าโกฏิ มักจะใช้คู่กับคำว่า อสงไขย ซึ่งหมายถึงเลขจำนวนมากมายมหาศาลเสียจนประมาณมิได้
คำว่า อสงไขย เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึงนับไม่ถ้วน, ไม่ง่ายที่จะนับ
อสงไขยใช้เป็นหน่วยสำหรับสิ่งใดก็ได้ เช่น มีถั่วเป็นจำนวน ๑ อสงไขยเมล็ด ในพระพุทธศาสนามักจะใช้กล่าวถึงระยะเวลาที่พระโพธิสัตว์สร้างสมบารมีมาเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า โดยนับหน่วยเวลาเป็นอสงไขยกัป ซึ่ง ๑ อสงไขย
นอกจากนี้ในพระไตรปิฎกและอรรถกถายังมีการใช้คำว่า "อสงไขย" เฉยๆ ด้วยเช่นกัน แต่ในความหมายที่ว่ามากมาย หรือนับไม่ถ้วน (infinity) ไม่ได้ใช้ในแง่ของการบอกปริมาณว่าเท่ากับ ๑๐๑๔๐ และไม่ได้หมายถึงอสงไขยกัปเช่น
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กั