พระเครื่อง

ประวัติการสร้างพระหลวงปู่ทวด

ประวัติการสร้างพระหลวงปู่ทวด

26 ต.ค. 2558

ประวัติการสร้างพระหลวงปู่ทวด จากหนังสือพระราชทานเพลิงศพ ‘หลวงปู่ทิม ธมฺมธโร’ : เรื่อง/ภาพ ไตรเทพ ไกรงู

 
        พระครูวิสัยโสภณ หรือพระอาจารย์ทิม ธัมมธโร แห่งวัดช้างให้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เกิดวันพุธ เดือน ๙ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีชวด จ.ศ.๑๒๗๔ ตรงกับวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๕ ณ บ้านนาประดู่ ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ในวันที่พระอาจารย์ทิมมรณภาพ ซึ่งตรงกับวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๒ พระอำนวย นนทิโย ซึ่งเป็นศิษย์ของท่าน และนายเพิ่ม พรหมประดู่ พี่ชายของท่านต้องคอยปฏิบัติเลือดออกปากอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งเวลา ๐.๓๗ น. พระอาจารย์ทิมหมดลม อัสสาสะปัสสาสะพอดี ที่โรงพยาบาลกลาง กทม.
 
        ในหนังสือประวัติพระราชทานเพลิงศพพระครูวิสัยโสภณ (ทิม ธมฺมธโร) ที่เรียบเรียงโดยพระโศภนธรรมคุณ วัดนาประดู่ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๑๘ ซึ่งนำมาแจกในวันงานพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๘ มีการบันทึกข้อมูลกาจัดสร้างพระหลวงปู่ทวดที่น่าสนใจ ดังนี้
 
        หน้าที่ ๑๒-๑๔ ได้เขียนถึงการสร้างพระหลวงปู่ทวดไว้ว่า ท่านพระครูได้ปรึกษาหารือกับท่านนอง ธมฺมภูโต ตืด พระธรรมกิจโกศล เจ้าอาวาสวัดทรายขาวองค์ปัจจุบัน (ขณะนั้นยังมีชีวิตอยู่) ต่างก็เห็นชอบด้วย และในเวลาเดียวกัน นายอนันต์ คณานุรักษ์ คหบดีตลาดปัตตานีซึ่งสนใจเรื่องนี้อยู่แล้ว ขอระรับภารให้การอุปถัมภ์ในการสร้างพระเครื่องนี้ทั้งหมดเกี่ยวกับทุนดำเนินงาน พระครูธรรมกิจโกศลพร้อมด้วยพระเณรวัดนาดู วัดทรายขาว และวัดช้างให้ รับภาระในการจัดหาว่านชนิดต่างๆ เท่าที่ต้องการมาให้
 
 
ประวัติการสร้างพระหลวงปู่ทวด
 
 
        วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๗ ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ ปีมะเมีย จ.ศ.๑๓๑๖ เวลาเที่ยงตรงเป็นเวลาท่านพระครูกดพระเครื่องเข้าเบ้าพิมพ์และลงมือทำพระเครื่องไปโดยลำดับ พระครูธรรมกิจโกศล (นอง ธมฺมภูโต) เป็นผู้หนึ่งที่ประจำโรงพิธีร่วมกับท่านอาจารย์ทิม คือ พระครูวิสัยโสภณตลอดไป
 
        นอกจากนี้พระเณรที่วัดต่างก็ช่วยกันกดพิมพ์พระเครื่องตามที่ท่านพระครูสั่งให้ทำจนถึงวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๗ ได้พระเครื่อง ๖๔,๐๐๐ องค์ แต่จะพิมพ์ให้ได้ ๘๔,๐๐๐ องค์ แต่เวลาไม่พอด้วยว่าจะทำการปลุกเสกในวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๗ วันอาทิตย์เพ็ญเดือน ๕ เวลาเที่ยง
 
        เมื่อได้ฤกษ์ตามที่ท่านกำหนดไว้ท่านพระครูเข้านั่งประจำที่ประกอบพิธีปลุกเสกองค์เดียวจนถึงเวลา ๑๖.๐๐ น. ของวันเดียวกันนั้น ต่อจากนั้นท่านก็มอบพระเครื่องให้แก่ผู้ที่เคารพนับถือคนละหนึ่งองค์ เป็นที่น่าสังเกตว่า การประกอบพิธีปลุกเสกพระเครื่องหลวงพ่อทวด ท่านพระครูประกอบพิธีปลุกเสกเพียงองค์เดียวเท่านั้นเป็นเช่นนี้ทุกครั้งที่ท่านสร้างพระเครื่อง พระเครื่องหลวงปู่ทวดมีชื่อเสียงดังไปทั่วประเทศ เข้าใจว่าทั้งนี้เนื่องจากท่านผู้ปลุกเสกมีพลังจิตสูงมีเมตตาสูง และผู้สร้างมิได้มีจิตคิดหาลาภผลทางวัตถุแต่อย่างใด ตั้งใจจะเป็นเครื่องสักการบูชาของผู้ที่เคารพนับถือ
 
 
ประวัติการสร้างพระหลวงปู่ทวด
 
 
        ท่านอาจารย์ทิม หรือท่านพระครูวิสัยโสภณ ปลุกหลวงพ่อทวดให้ตื่นขึ้นในระยะเวลา ๒๐ ปีมานี้ ทำให้ผู้คนรู้จักวัดช้างให้ รู้จักพระเครื่องหลวงพ่อทวด จ.ปัตตานี ซึ่งจะมีเซียนพระสายหลวงปู่ทวดสักกี่คนที่เคยได้อ่าน “หนังสือประวัติพระราชทานเพลิงศพพระครูวิสัยโสภณ (ทิม ธมฺมธโร) ที่เรียบเรียงโดย พระโศภนธรรมคุณ วัดนาประดู่” ส่วนใหญ่จะเป็นไปในลักษระที่ “ดูพระเป็นแต่ไม่รู้ประวัติศาสตร์การสร้างที่ชัดเจน”
 
        ในกรณีการจัดสร้างพระหลวงปู่ทวดเนื้อทองคำมีข้อถกเถียงในวงการพระเครื่องมาตลอด แต่ข้อถกเถียงมาสิ้นสุดที่คำกล่าวของ “หลวงอำนวย” หรือ “พระอำนวย นนทิโย” พระลูกศิษย์ใกล้ชิดพระครูวิสัยโสภณ หรือพระอาจารย์ทิม ธัมมโร แห่งวัดช้างให้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ซึ่งเคยติดตามอาจารย์ทิมตั้งแต่เด็กๆ ซึ่งปัจจุบันได้ลาสิกขาเป็นฆราวาส ที่ว่า
 
        “มีการสร้างพระหลวงปู่ทวดทองคำเอาไว้จำนวนหนึ่งจริง ตนเห็นกับตา พระเครื่องทองคำส่วนหนึ่งที่จัดสร้างขึ้นก็เพื่อมอบให้คหบดี ผู้มีชื่อเสียง ข้าราชการระดับสูงและเศรษฐีที่บริจาคปัจจัยจำนวนมาก เพื่อตอบแทนน้ำใจที่มีส่วนช่วยบูรณะวัดช้างให้เป็นกรณีพิเศษ จะเรียกว่าพระเครื่องหลวงปู่ทวดที่เป็นทองคำนั้นมอบให้เฉพาะเจาะจงแก่บุคคลสำคัญๆ ก็ว่าได้”
 
 
 
ภาพถ่ายแห่งประวัติศาสตร์
 
 
        พระอาจารย์ทิม ธัมมโร ได้สร้างสุดยอดแห่งรูปเคารพพระเครื่องหลวงปู่ทวดจากภาพนิมิตร ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๗ อันลือลั่น ตั้งแต่บัดนั้นจนบัดนี้สาธุชนทั้งชาวไทยและต่างประเทศยังไม่ลดละความพยายามพากันเสาะแสวงหาเพื่อบูชาติดตัวพร้อมอาราธนาบทพุทธคุณ “นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภควา” เพื่อให้แคล้วคลาดจากภยันตรายและเจริญด้วยสิริสวัสดิ์ทั้งหลายทั้งปวง
 
        “พระหลวงปู่ทวด” รุ่นและองค์ที่ขึ้นชื่อว่าแพงสุดๆ และแพงกว่าพระสมเด็จ คือ “พระหลวงปู่ทวด รุ่นเลขใต้ฐาน ปี ๐๕” หรือที่ปัจจุบันเรียกว่า “เบตง ๑” โดยเฉพาะหมายเลข "999“ ทั้งนี้ มีการตั้งประเมินค่านิยมไว้ว่า ”หากใครอยากได้พระหลวงปู่ทวดรุ่นเลขใต้ฐานปี ๐๕ หมายเลข 999 ต้องใช้เงินเช่าอย่างน้อย ๑๕ ล้านบาท
 
        ขณะเดียวกันภาพถ่ายของพระอาจารย์ทิมที่ขึ้นชื่อว่าแพงสุดๆ คือ ภาพที่ถ่ายโดยร้านถ่ายรูป “ฉายาเฉลิมกรุง” กทม. ที่ถ่ายถวายพระอาจารย์ทิมเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของนายสุขธรรม ปานศรี หรือที่คนในวงการรถยนต์รู้จักในชื่อ “เฮียกุ่ย” ผู้จัดการใหญ่ บริษัท แม็กกา อาร์.ดี. (กรุ๊ป) จำกัด นักสะสมพระหลวงพ่อทวดชุดทองคำมานานกว่า ๑๐ ปี และเจ้าของ "WWW.SOONPRARATCHADA.COM
 
 
ประวัติการสร้างพระหลวงปู่ทวด
 
 
 
๑๐๐ ล้าน โค้ด “๑๓ ฉ ๑๓ ลายเซ็น”
 
        การสร้างพระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร หรือพระองค์ชายกลาง คือ เนื่องจากท่านทรงคบหาสนิทสนมเป็นมิตรกับคหบดีใหญ่ปักษ์ใต้คือ คุณอนันต์ คณานุรักษ์ และได้รับมอบพระเครื่องหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน พ.ศ.๒๔๙๗ จากคุณอนันต์มาหนึ่งองค์โดยทรงบูชาติดตัวประจำ
 
        ครั้งหนึ่งรถยนต์ที่พระองค์ชายกลางประทับเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำแต่พระองค์ไม่มีอันตรายแม้แต่รอยขีดข่วน ทำให้ท่านเกิดความศรัทธาในองค์หลวงปู่ทวด วัดช้างให้อย่างสูง และเมื่อวัดโดยพระอาจารย์ทิม และคุณอนันต์ จะจัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวด พ.ศ.๒๕๐๕ ท่านจึงปวารณาตัวขอเป็นผู้อุปถัมภ์ในการจัดสร้าง
 
        ในการจัดสร้างพระครั้งนั้น เนื่องด้วยเสด็จพระองค์ชายกลางเป็นผู้อุปถัมภ์ จึงสำเร็จลุล่วงด้วยดี และท่านได้จัดสร้าง “พระกริ่ง” อันงดงามด้วยพุทธลักษณะขึ้นในครั้งนั้นด้วย เมื่อหล่อพระกริ่งได้โปรดให้ช่างแกะแม่พิมพ์ขึ้นและเททองปลุกเสกโดยพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ พร้อมกันกับพระเครื่องหลวงปู่ทวด พ.ศ.๒๕๐๕ ซึ่งเรียกกันต่อมาว่า “พระกริ่งใหญ่หลวงปู่ทวด” หรือ “พระกริ่งวัดช้างให้” ส่วนที่เหลือทรงนำมาถวายให้วัดตาก้อง ด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ท่านฝากตัวเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง และปลุกเสกอีกวาระโดยเกจิอาจารย์สายนครปฐม ผู้คนเรียกกันว่า “พระกริ่งเฉลิมพล”
 
        การตอกโค้ด “ฉ” และลายเซ็น “เฉลิมพล” ลงบนพระหลวงปู่ทวด พ.ศ. ๒๕๐๕ ทำให้มีราคาสูงและได้รับความนิยมในหมู่นักสะสมอย่างยิ่ง ที่สำคัญคือ ราคาของพระหลวงวปู่ทวดรุ่นนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนโค้ด “ฉ” และลายเซ็น “เฉลิมพล” ยิ่งมากตัวราคายิ่งสูงขึ้น อย่างกรณีโค้ด “๑๓ ฉ ๑๓ ลายเซ็น” มีการเสนอราคาสูงถึง ๑๐๐ ล้านบาท
 
        “เฮียกุ่ย รัชดา” บอกว่า "ผมใช้เวลากว่า ๒ ปี และใช้เงินไปหลายสิบล้านบาท ในการแสวงหาพระหลวงปู่ทวดทองคำ ปี ๐๕ ที่ตอกโค้ด ฉ และลายเซ็นพระองค์เจ้าเฉลิมพล ในที่สุดผมก็มีหลวงปู่ทวด เตารีด ทองคำ ครบตั้งแต่ ๑ ฉ ถึง ๑๓ ฉ นอกจากนี้แล้วจะเก็บพระหลวงปู่ทวดที่สร้างระหว่าง พ.ศ.๒๔๙๗- พ.ศ.๒๕๑๑ เท่านั้น”
 
 
ประวัติการสร้างพระหลวงปู่ทวด