พระเครื่อง

"กาโตะ" ยังเคยนอนโลง "บังสุกุลเป็น" เอาอยู่มั้ย ต่ออายุ-สะเดาะเคราะห์ หรือ ?

"กาโตะ" ยังเคยนอนโลง "บังสุกุลเป็น" เอาอยู่มั้ย ต่ออายุ-สะเดาะเคราะห์ หรือ ?

05 พ.ค. 2565

พิธี "บังสุกุลเป็น" คนนิยมทำกันทั่วไป ด้วยเชื่อกันว่าเป็นการต่ออายุ โดยเฉพาะคนที่ป่วยหนัก หรือกระทำกันในวันเกิดแม้ไม่เจ็บป่วยก็ตาม

นับตั้งแต่เริ่มมีข่าวฉาวของ “กาโตะ” ทั้งที่ตอนยังครองผ้าเหลือง กระทั่งลาสิกขา ชาวเน็ตต่างก็ขุดภาพและวีรกรรมต่างๆ ของ “กาโตะ” ออกมาแฉในโซเชียลกันอย่างคึกคัก และหนึ่งในนั้นคือภาพที่พระกาโตะลงไปนอนในโลงศพ โดยภาพดังกล่าวเป็นเหตุการณ์จริง ซึ่งอดีตพระกาโตะได้ลงไปในโลงศพเมื่อปีที่แล้ว ทั้งนี้คาดว่าจะเป็นการทำพิธี “บังสุกุลเป็น” ที่คนนิยมทำกันทั่วไป ด้วยเชื่อกันว่าเป็นการต่ออายุ โดยเฉพาะคนที่ป่วยหนัก หรือกระทำกันในวันเกิดแม้ไม่เจ็บป่วยก็ตาม

 

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ.๙  ราชบัณฑิต และเจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม เคยอธิบายว่า “บังสุกุลเป็น” เป็นคำเรียกวิธีบังสุกุลคนที่ยังไม่ตาย ถ้าบังสกุลคนที่ตายแล้วอย่างที่ทำกันโดยทั่วไป เรียกว่า “บังสุกุลตาย” การ “บังสุกุลเป็น” ป็นการทำบุญต่ออายุ จะนิยมจัดงานใหญ่กว่าการทำบุญวันเกิด ส่วนใหญ่จะกระทำในวัยเบญจเพส คือ 25 ปี เพราะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต หรือช่วงอายุกลางคน คือ 50 ปี เพราะถือว่าอายุยืนยาวมาได้ครึ่งหนึ่งของชีวิตแล้ว จึงควรทำบุญและเลี้ยงฉลองความยินดี รวมทั้งทำพิธี "บังสุกุลเป็น"

 

 

“บังสุกุลเป็น” เป็นการบังสุกุลพิเศษในกรณีที่ทำแก่คนเป็น เช่น คนป่วยหนัก คนที่มีเคราะห์ เป็นการเอาเคล็ด โดยมีวิธีทำ คือ ให้คนทำพิธีนอนหงาย ประนมมือเหมือนคนตาย แล้วใช้ผ้าขาวคลุมร่างผู้นั้นให้มิดทั้งตัว พระสงฆ์ที่มาทำพิธีจับชายผ้าหรือด้ายสายสิญจน์ที่ผูกมาจากชายผ้าแล้ว กล่าวคำสำหรับบังสุกุลคนตายขึ้นขึ้นต้นว่า "อะนิจจา วะตะ สังขารา..."

 

จบแล้วให้ผู้นั้นนอนหันศีรษะไปทางทิศตรงกันข้ามกับครั้งแรก จากนั้นคลุมด้วยผ้าขาวเหมือนเดิม พระสงฆ์บังสุกุลอีกครั้ง โดยกล่าวคาถาพิจารณาสังขารว่า "อะจิรัง วะตะยัง กาโย ปะฐะวิง อะธิเสสสะติ ฉุฑโฑ อะเปตะวิญญาโณ นิรัตถัง วะ  กะริงคะรัง" เป็นการถือเคล็ดว่า "กลับฟื้นขึ้นมาใหม่แล้ว"