คนแห่รักษา "อ.เปลี่ยน" ศาสตร์ 4 วิธีรักษากระดูก วิชาโบราณ สำนักตักศิลาเขาอ้อ
รู้จักศาตร์แพทย์แผนโบราณ ของ ตักศิลาเขาอ้อ อาจารย์เปลี่ยน ในบทบาท หมอพื้นบ้าน รักษาผู้ป่วยตามวิชาที่ร่ำเรียน
หากเอ่ยชื่อนามว่า เขาอ้อ ทุกความทรงจำและความคิดย่อมนึกถึง ความคงกระพัน หนังเหนียว ความเป็นมหาอุตม์ ยิงฟันไม่เข้า
แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนักตักศิลาเขาอ้อ นั้น ยังมีสรรพวิชาต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ทั้งในด้านรัฐศาสตร์ การปกครอง การบริหารจัดการ การต่อสู้ ป้องกัน และการรักษาโรค แบบแพทย์แผนโบราณ
ด่วยว่าความรู้เหล่านั้น สืบทอดมาแต่พราหมณ์ ต่อด้วยฤาษี และยังอยู่กับพระสงฆ์ในปัจจุบัน
หนึ่งในนั้น คือ การแพทย์แผนโบราณ ซึ่งตามต่างจังหวัด ยังมีหมอพื้นบ้านที่ยังให้การรักษาชาวบ้านด้วยความรู้แพทย์ศาสตร์นี้
อาจารย์เปลี่ยน หัถยานนท์ ให้บทบาทหนึ่ง ผู้สืบสานวิชาอาคมและสรรพทวิทยาของสำนักตักศิลาเขาอ้อ และส่งต่อให้อาจารย์ฆราวาสรุ่นใหม่ รุ่นหนุ่ม แต่ขณะที่อีกบทบาทหนึ่งนั้น อาจารย์เปลี่ยน เป็นหมอพื้นบ้าน ประจำตำบล ที่เพิ่งได้รับรางวัลเกีรยติยศไม่นานมานี้เอง
หนึ่งในความรู้ของศาสตร์แพทย์แผนโบราณของ อาจารย์เปลี่ยน หัทยานนท์ ที่ผู้คนเดินทางมารักษา คือ การรักษากระดูหัก เป็นองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น
การตรวจวินิจฉัยอาการ หมอพื้นบ้านจะซักถามผู้ป่วยถึงสาเหตุและสภาพการเกิดอุบัติเหตุ การสังเกตจากสภาพร่างกายที่ผิดปกติและความเจ็บปวด การจับต้องอวัยวะส่วนที่หัก เป็นต้น
การรักษาหรือบำบัด มี 4 วิธี คือ การจัดต่อกระดูกเข้าที่ การทาน้ำมัน การใช้คาถา และการเข้าเฝือกตามสภาพ
การจัดกระดูกเข้าที่ โดยหมอพื้นบ้านจะใช้วิธีการเบี่ยงเบนความสนใจของคนไข้โดยการชวนพูดคุยเพื่อให้ผู้ป่วยลืมอาการเจ็บปวดชั่วขณะ
การทาน้ำมัน น้ำมันที่หมอพื้นบ้านใชมี้หลายชนิด ได้แก่ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันงา น้ำมันละหุ่ง น้ำมันเลียงผา (ในกรณีที่มีบาดแผล) น้ำมันที่ใช้จะมีสรรพคุณบรรเทาอาการอักเสบ ประสานกระดูกให้ติดเร็วขึ้น ช่วยคลายเส้นและลดอาการบวม สมุนไพรที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำน้ำมันทาหรือนวด อาทิ หัวไพร หญ้าแพรก ว่านนางคำ เถาเอ็นอ่อน พญาไร้ใบ ขมิ้น ใบพลับพลึง
การใช้คาถาอาคม หมอพื้นบ้านส่วนใหญ่เชื่อว่าคาถาอาคมช่วยในการรักษากระดูกหัก รวมทั้งมีผลเชิงจิตวิทยาที่สร้างความมั่นใจหรืออบอุ่นใจให้กับผู้ป่วยและญาติพี่น้องที่มาให้กำลังใจ อาทิ การร่ายคาถาเสกทำน้ำมันคาถาประสานกระดูก คาถาช่วยลดอาการปวด คาถาห้ามเลือด