พระเครื่อง

เปิดประวัติ " อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ " ฆราวาสผู้เชี่ยวชาญวิชา วัดประดู่ทรงธรรม

เปิดประวัติ " อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ " ฆราวาสผู้เชี่ยวชาญวิชา วัดประดู่ทรงธรรม

04 ก.ค. 2565

ทำความรู้จัก อาจารย์ฆราวาส " อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ " ผู้สืบสานวิชา วัดประดู่ทรงธรรม วัตถุมงคลเด่น เหรียญพระพรหม 4 หน้า

วัดประดู่ทรงธรรม อยุธยา เป็นตักศิลาด้านความรู้ต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็นการรบทัพ จับศึก การแพทย์แผนโบราณ รวมทั้งด้านวิทยาคมไสยเวท และสายวิชานี้ มีครูบาอาจารย์ ที่เชี่ยวชาญอาคมขลัง ทั้งพระภิกษุสงฆ์ และ ฆราวาส 

หนึ่งในฆราวาส ที่มีชื่อเสียงด้วยความเก่งกล้าด้านวิทยาคม ที่ยังด้รับการเล่าขานมาถึงทุกวันนี้ 

นั่นคือ   อาจารย์เฮง ไพรวัลย์

เปิดประวัติ \" อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ \" ฆราวาสผู้เชี่ยวชาญวิชา วัดประดู่ทรงธรรม

ประวัติชีวิตของ อาจารย์เฮง ไพรวัลย์  ระบุไว้ว่า ท่านนั้นเกิด ใน ปี 2428    อุปสมบทครั้งแรก ณ วัดสุวรรณดาราราม  พระนครศรีอยุธยา  ได้ศึกษาตำรับตำราวิชาโบราณต่าง ๆ จากวัดประดู่ทรงธรรม  ซึ่งเป็นวัดที่เก็บรวบรวมตำรับตำราต่าง ๆ เอาไว้มากมาย  อันเป็นแม่บทของตำราที่ว่าด้วยเวทย์มนต์คาถา  และอักขระเลขยันต์เฉพาะอย่างยิ่ง  ท่านได้เรียนรู้ตาม คัมภีร์รัตนมาลา  อย่างแตกฉาน  และเจนจบ  ภายหลังท่านได้ลาสิกขาบท  และกลับมาอุปสมบทอีกครั้ง ณ วัดพระญาติการาม  โดยมีหลวงพ่อกลั่น  ธัมมโชติ  เป็นพระอุปัชฌาย์  ได้ศึกษาสรรวิชาหลายแขนงจากหลวงพ่อกลั่น  และได้ลาสิกขาบทอีกครั้ง  เป็นฆาราวาสจนกระทั่งถึงแก่ชีวิต
ส่วนประวัติ "อาจารย์เฮง ไพร์วัลย์" จากจารึกที่เก็บกระดูกอาจารย์เฮง ณ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา เขียนไว้ว่า "เกิดเมื่อ พ.ศ. 2428 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ตายเมื่อ พ.ศ. 2502  สิริอายุ 75 ปี"
 

ฉากชีวิตของ อาจารย์เฮง นั้น ดูเหมือนว่าจะแตกต่าง จากครูอาจารย์ท่านอื่น ๆ อยู่พอสมควร เพราะท่านมีพื้นฐานครอบครัวที่ค่อนข้างดี พื้นเพตระกูลอาจารย์เฮงเป็นคนบ้านหันตรา จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาท่านเป็น นายตำรวจ หรือผู้ตรวจการณ์คุก และ อาจารย์เฮงนั้น เป็นคนที่มีความรู้ในระดับสูง เพราะท่านนั้น ความเป็นจริง เป็นถึงนักเรียนนอกเป็นเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกับ พระยาเพชรปรีชา และมีเพื่อนฝูงเป็นเจ้าพระยาหลายคน  ครอบครัวส่งไปเรียนที่ปีนัง สิงคโปร์ แต่เรียนไม่สำเร็จ   เพราะจิตใจของท่านนั้น ชื่นชอบและพอใจในการเล่าเรื่องด้านวิชาอาคม และได้เริ่มต้นเล่าเรียนไสยเวทจากทางภาคใต้ 
 เมื่อท่านเดินทางกลับมายังภูมิลำเนา คือ จ.พระนครศรีอยุธยา คราวเมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านให้ความสนใจศึกษาตำรับตำราทางไสยศาสตร์ อันว่าด้วยเวทมนตร์คาถา อักขระเลขยันต์ จากจารึกวัดประดู่ทรงธรรมอย่างแตกฉาน

เปิดประวัติ \" อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ \" ฆราวาสผู้เชี่ยวชาญวิชา วัดประดู่ทรงธรรม

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัย สมเด็จพระพันรัต วัดป่าแก้ว หรือใน รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  นั้น รวบรวมสรรพวิทยาไสยศาสตร์ โดยจารึกไว้ที่ วัดประดู่ทรงธรรม นี้อย่างพร้อมสรรพ

 ตำรับวัดประดู่ทรงธรรม เป็นแม่บทของตำราที่ว่าด้วย เวทมนตร์คาถาและอักขระเลขยันต์ ที่มีปรากฏและเล่าเรียนสืบต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอาจารย์เฮงนั้น ท่านเรียนรู้ตาม คำภีร์รัตนมาลา อย่างแตกฉาน และเจนจบ
 

หลังจากที่ ท่านอาจารย์เฮง สึกจากการอุปสมบทแล้ว ท่านกลับมาครองเพศฆราวาส เริ่มปรากฏชื่อเสียงเกียรติคุณกระเดื่องดัง ทางเป็นพระอาจารย์ของท่าน เริ่มต้นด้วยการเป็น อาจารย์สัก ก่อน


หลวงปู่สี แห่งวัดสะแก ได้เคยเล่าเรื่องราวของอาจารย์เฮงไว้ว่า ในครั้งกบฏบวรเดช (พ.ศ. 2476 มีนายทหารและข้าราชการมาให้ท่านสักเป็นจำนวนมาก และจากการที่ท่านอาจารย์เฮง ตั้งพิธีสักที่วัดหันตรา  ครั้งนั้น ท่านอาจารย์เฮง จำเป็นต้องอาราธนาพระสงฆ์มาสวดพุทธมนต์ในพิธีสักนั้นด้วย ในสมัยนั้น (พ.ศ. ๒๔๗๖) ในท้องที่ จ.พระนครศรีอยุธยา หาพระที่สวดพุทธมนต์และพุทธาภิเษกพิธียากมาก ยกเว้น ท่านอาจารย์สี วัดสะแกเท่านั้น เพราะท่านอาจารย์สีเคยลงมาศึกษาอยู่ที่สำนักวัดเลียบ จ.พระนครศรีอยุธยา และมีความเจนจบในเรื่องนี้อยู่  เมื่อท่านอาจารย์เฮง จะประกอบพิธีกรรมครั้งใด จำต้องมาอาราธนาท่านอาจารย์สีไปร่วมพิธีทางฝ่ายสงฆ์อยู่เสมอ

โดยพื้นฐานและฐานะของท่านอาจารย์เฮงนั้น จัดว่าเป็นผู้มั่งคั่งคนหนึ่ง ท่านมีบ้านเป็นหลักแหล่งอยู่ที่ทุ่งหันตรา มีไร่นา และมีบ้านอีกหลังหนึ่งอยู่ที่วังน้อย เมื่อท่านมีลูกศิษย์ลูกหาทางกรุงเทพฯ มากขึ้น เพื่อความสะดวกในการประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหา จึงเชิญท่านมาเช่าบ้านอยู่ที่สวนมะลิ และย้ายมาอยู่ที่ห้องแถวหน้าสมาคม วาย.เอ็ม.ซี.เอ วรจักร จนกระทั่งสงครามมหาเอเชียเกิดขึ้น ท่านจึงอพยพขึ้นไปอยู่ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ดังเดิม

เปิดประวัติ \" อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ \" ฆราวาสผู้เชี่ยวชาญวิชา วัดประดู่ทรงธรรม
สำหรับวัตถุมงคล อาจารย์เฮง สร้างไว้หลายต่อหลายอย่าง แต่ที่มีผู้นิยมใช้ นั่นก็คือเหรียญพรหม4 หน้า   เหรียญพระพรหมของอ.เฮง มีหลายรูปแบบ ทั้ง หน้าโล่ห์ ทรงกลม ข้าวหลามตัด โดยองค์พรหมจะเป็นทองคำ ยึดติดกับพื้นเหรียญด้วยวิธีตอกตาไก่ และจะมีรอยจารทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ที่สำคัญที่ด้านหลัง กึ่งกลางเหรียญจะลงไว้ด้วยยันต์ "จักรเพชร" หรือ "ยันต์ภา" นั่นเอง โดยการผูกยันต์ภาต่อกันเป็นรูปวงกลม โดยรอบจะมี ตารางตรนิสิงเห . เม อะ มะ อุ , นะ ทรงธรณี รวมทั้งยันต์ห้า