รวม ข้อธรรมะ ของ พุทธทาสภิกขุ ในวาระ 29 ปีละสังขาร
ร่วมศึกษาธรรมะ แห่งวิถีพุทธแท้ ของ พุทธทาสภิกขุ สวนโมกข์ สุราษฎร์ธานี วาระแห่งการละสังขาร 29 ปี เน้นย้ำการทำลายกิเลส อยู่กับ ปัจจุบัน
นับจากวันที่มรณภาพหรือละสังขารของ "ท่านพุทธทาสภิกขุ" เป็นเวลา 29 ปี หลากหลายข้อธรรมะที่เรียบง่ายเข้าใจง่ายและเข้าถึงจิตใจของผู้อ่าน และ รับฟัง รวมทั้งยังสร้างความตื่นรู้ให้กับชาวพุทธ ด้วยหลักธรรมะ ที่เข้มข้น อย่าง คู่มือมนุษย์ ตำราความรู้ข้อธรรมะ ขั้นเอกอุ ที่หลายคนเคยอ่าน และทำให้ รู้ซึ้ง ธรรมะ อย่างที่ไม่เคยมีใครสอน หรือ ไม่เคยเข้าใจในขั้นละเอียด ในวาระนี้ ทีมข่าวพระเครื่องคมชัดลึก ก็ได้ขอทำการรวบรวมข้อธรรมะของท่านพุทธทาสเพื่อให้ผู้ที่สนใจในการศึกษาธรรมะในวิถีเรียบง่ายวิถีธรรมชาติ หรือวิถีที่เรียกว่า วิถีเซ็น ได้อ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในด้านหลักธรรม
"ถ้าไม่อดทน ไม่ใจเย็นพอ แม้แต่จะเลือกธรรมะ มาใช้ก็ทำไม่ถูก"
"ธรรมะ ไม่อาจจะเห็นได้ด้วย การอ่าน การฟัง การศึกษา เล่าเรียน ต้องปฏิบัติ และ ปฏิบัติ ถูกต้องด้วย และ ได้ผลมาแล้วด้วยจึงจะเรียกว่าเห็น ธรรม"
"ความไม่ยอมนี้แหละยาก เขาเรียกไว้โดยเฉพาะว่า อหังการ มมังการ เป็นกิเลสใหญ่ กิเลสประธาน กิเลสที่ว่าเป็นปัญหาของทั้งหมดเกิดขึ้นมาทีไรล่ะก็แปลว่า สูงสุดเลยเต็มที่ อยู่ตลอดเวลา ทั้งหลับและตื่น"
"คนจะเป็นมนุษย์ที่เต็ม เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ คือผู้ที่อยู่เหนือปัญหา ทั้งทางโลกและทางธรรม คือไม่หวั่นไหวกับโลกธรรม 8 โดยถือคติที่ว่า มีลาภ มียศ สุขทุกข์ ประกอบสรรเสริญ นินทา เสื่อมลาภ เสื่อมยศ เป็นกฎธรรมดา อย่ามัวโศกา นึกว่าช่างมัน"
"เพราะไม่ยอมรับเรื่องโลกุตระนี้ ไม่สนใจเรื่องนี้ คนจึงเลวลง ๆ อดไม่ได้ ให้อภัยไม่ได้ อดความโกรธไม่ได้ บังคับกิเลสไม่ได้ เพราะจิตใจ ไม่มีเครื่องประคับประคอง ฉะนั้น เรื่องโลกุตระ เรื่องสุญญตา หรือ ความว่างนี้ เป็นเสมือนกับหางเสือเรือ ช่วยให้เดินถูกทาง"
ถ้าตัวเอง ไม่พาตัวเองไปดีแล้ว ก็ไม่มีผู้อื่นใด จะสามารถนำตนไปได้ดีอย่างแน่นอน
คนฉลาด ไม่ใช่แค่ฉลาดพูดเท่านั้น ต้องรู้จักนิ่งอย่างมีสติ ให้เป็นด้วยต้องรู้ในสิ่งที่ไม่ควรพูดให้มากยิ่งกว่าสิ่งที่ควรพูด
ในร่างกายของคนเป็นๆนั้น คือ มหาวิทยาลัย ของพุทธศาสนา เรื่องอริยสัจ เป็นเรื่องจริงหาที่อื่น ไม่พบนอกจากจะหาในคนที่เป็นๆ
บัณฑิต เพียรสร้างเหตุ แห่งสมาธิ มินั่งรอคอยว่า เมื่อไหร่จะเกิดสมาธิ
อยู่กับปัจจุบัน ไม่ต้องอาลัยอดีต ต้องพะวงอนาคต ขอแต่ให้ทำหน้าที่ ของตนอย่างถูกต้องในปัจจุบัน ก็เพียงพอแล้ว
ผู้ใดมีสาเหตุอันควรโกรธแต่ไม่โกรธ พูดนั่นแหละคือผู้ที่เอาชนะความโกรธได้อย่างแท้จริงเรียกได้ว่าชนะใจตนเอง
ปัญญาเปรียบเสมือนกับความคมสมาธิเปรียบเหมือนกับน้ำหมึกหรือกำลังถ้ามีแต่ความคมไม่มีกำลังหรือน้ำหนักมันก็ตัดอะไรไม่เข้า
คนจำนวนมากทำบุญเพื่อให้ตนดีใจแต่ไม่ได้ทำบุญเพื่อให้ใจตนดี