"แมงภู่คำ"เครื่องราง คู่บารมี พระเจ้าบุเรงนอง ยอดนิยม ใน พม่า ไทยใหญ่ ล้านนา
ทำความรู้จัก เครื่องราง แห่ง ตำนาน "แมงภู่คำ" คู่บารมี พระเจ้าบุเรงนอง พิธีจัดสร้างซับซ้อน คนแกะต้องมีเชื้อเจ้าเท่านั้น
"แมงภู่คำ" เป็นเครื่องรางของทางล้านนา ได้รับมาจากทางพม่า สำหรับเครื่องรางนี้ตามประวัติที่มีการระบุไว้ พบว่า มีการระบุข้อมูลถึงการพูด"แมงภู่คำ"ว่า อยู่บนเสลี่ยงพระเจ้าบุเรงนอง เพราะเชื่อกันว่า เป็นเครื่องรางที่ใช้กันตั้งแต่ระดับกษัตริย์จนถึงสามัญชนธรรมดา การสร้างเครื่องรางนี้ต้องหาไม้ดุมล้อเกวียนโบราณที่ทำจากไม้ประดู่แดง
"แมงภู่คำ" ในทางวิชาสายพม่านับถือมากว่า เป็นสัตว์คู่บารมีของ บายินนอง หรือพระเจ้าบุเรงนอง โดยบัลลังก์ที่พระเจ้าบุเรงนองนั่งว่าราชการทั้งสองข้างจะแกะสลัก รูปพญา"แมงภู่คำ" เฝ้าระวังรักษาอยู่ เป็นบัลลังก์ที่ "พ่อครูโป๊ะโป๊ะอ่อง" บรมครูในสายวิชาปถมังสิทธิ ได้สร้างและบรรจุพญาแมงภู่คำ 8 คู่ไว้ หากพระเจ้าบุเรงนอง จะไปรบที่ใดจะนั่งบัญชาการ ณ บัลลังก์นี้ จนชนะทั่วทั้งสิบทิศ จึงถือได้ว่าเป็นสัตว์คู่บารมี ที่ช่วยพระเจ้าบุเรงนองรักษาเมืองพม่าไว้ ทางพม่ามีตำนานบันทึกเรื่องราว เกี่ยวกับ"แมงภู่คำ"อย่างละเอียดว่า เป็นแมลงมงคลศักดิ์สิทธิ์ ได้รับรัศมีทิพย์โอภาส แห่งพระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งที่ตรัสรู้บรรลุธรรมวิเศษแล้ว พญา"แมงภู่คำ"พากันบินไปยังป่าหิมพานต์ นำเอาดอกกาสลองทิพย์มารองรัตนบัลลังก์ ถวายเป็นพุทธบูชา พระพุทธองค์จึงได้ตรัสเปล่งพุทธวาจาประสิทธิ์พร แก่พญาแมงภู่นั้นว่า “เป็นสัตว์ที่ประเสริฐกว่าแมลงมีปีกทั้งหลาย”
"แมงภู่คำ"นี้ นับเป็นเอกทางโชคลาภ เมตตา ส่งเสริมดวงชะตาให้มั่งคั่ง ทั้งทรัพย์สิน ยศศักดิ์ เป็นที่รักใคร่เอ็นดูของผู้คนทั้งหลาย อีกทั้งยังป้องกันคุณไสยมนต์ดำ และที่สำคัญอีกอย่างคือ หากแม้นว่าผู้หนึ่งผู้ใดคิดร้ายต่อผู้บูชา พญาแมงภู่คำ จะไปทำร้ายบุคคลนั้น ให้ได้รับความเจ็บปวดและหลาบจำ ถ้าปรารถนาสิ่งใด จงอธิษฐานบอกกล่าวเอาเอง จะสมประสงค์ดังที่หวัง
การสร้างเครื่องรางนี้ต้องหาไม้ดุมล้อเกวียนโบราณที่ทำจากไม้ประดู่แดงเก่าตามตำรา มาทำเท่านั้น เป็นความเชื่อโบราณที่ว่า ไม้ดุมล้อเกวียนใช้ขับเคลื่อนไปข้างหน้า ผู้บูชาจะได้เจริญก้าวหน้าตลอดไป คนทำต้องมีเชื้อเจ้าด้วย ด้านในอุดด้วยปรอท เขย่าดังกิ๊กๆ กว่าได้ทำได้ก็รอกันเป็นปีครับ เก่าตามตำรา พุทธคุณมีมากหลายอย่าง เช่น เมตตามหาเสน่ห์ เมตตามหานิยม เมตตาค้าขาย ดีด้านโภคทรัพย์ด้วย มีพลังด้านคุ้มครอง กันภูตผีปีศาจได้ กันคุณไสยได้ เดินทางก็คุ้มครองให้ปลอดภัยได้
ปกติแมลงภู่ตอมดอกไม้ดอกใดพวกแมลงต่างรวมทั้งผึ้งต้องหลบหนีไป เพราะแมงภู่คำเป็นใหญ่กว่าหมู่ภมรทั้งหลาย แมงภู่คำสามารถเจาะแก่นไม้แข็งๆได้อย่างสบาย
ครูบาอาจารย์จึงเอาเป็นเคล็ดว่าต่อให้หญิงใจแข็งสักเท่าไรก็ไม่อาจต้านทานแมงภู่คำนี้ได้
จัดว่าเป็นเครื่องรางที่มีดีครบทุเครื่อง สามารถเตือนภัยให้เจ้าของได้ด้วย อาจสั่นหรือลางสังหรณ์บอกก่อนล่วงหน้า
สำหรับตำราการสร้าง "แมงภู่คำ" เท่าที่สามารถสืบค้นได้นั้น มีการระบุไว้ว่า
1.คนแกะต้องเป็นเชื้อเจ้าเท่านั้น
2.แกะได้เฉพาะวันที่กำหนดและในฤกษ์ที่กำหนดเท่านั้น
3.ในการปลุกเสกก็ต้องตามสุตรที่โบราณจารย์กำหนดให้ครบทุกที่คือ
-ปลุกเสกหอเจ้าเมือง
-ปลุกเสกป่าช้าบ้าน
-ปลุกเสกป่าช้าพระสงฆ์
-ปลุกเสกทางสี่แพ่ง(สี่แยก)
-ปลุกเสกท่าน้ำที่มีคนขึ้นลงจำนวนมาก
-ปลุกเสกกลางงานปอย หรือ งานอบรมสมโภช
-ปลุกเสกกลางตลาด
-ปลุกเสกที่พระธาตุเจดีย์
-ปลุกเสกในวิหาร
และ ปลุกเสกในพระอุโบสถ
นอกจากนี้ มีการกำหนดบทที่ต้องสวดในการปลุกเสกครั้งสุดท้ายด้วยก็คือ สวดบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ 3,000 จบ สัมพุทเธอีก 1,000 จบ จึงเสร็จตามตำรา
คุณวิเศษของ"แมงภู่คำ"ตามตำรานั้นดีเฉกเช่นเดียวกับเบี้ยแก้เพราะด้านในบรรจุปรอท และปรอทนั้นเป็นปรอทดักจากป่า แต่คุณวิเศษที่เพิ่มเติมมานั้น ก็คือทางด้านมหาเสน่ห์ เพราะด้านในตัวบรรจุใบมะเขือบ้าซึ่งเชื่อว่าให้คุณทางมหาเสน่ห์ ทางล้านนาโบราณไปถึงทางเชียงตุงเรื่องยาเสน่ห์นั้นต้องมีใบมะเขือบ้าเป็นส่วนผสม
มีสรรพคุณบันทึกไว้ดังนี้
1.เด่นทางเมตตามหานิยม เมตตามหาเสน่ห์ คนรักคนหลง
2.อยู่ดีมีโชค มีเงินมีทอง ซื้อง่ายขายคล่อง
3.ป้องกันภยันตรายทั้งปวงได้วิเศษนัก
4.ดับอวิชา การทำร้ายด้วยคุณไสยมนต์ดำทั้งปวง
5.ป้องกันโจรภัยได้
6.ปกป้องคุ้มครองกันภัย ที่จะกระทำต่อเด็กเล็ก
7.เดินทางใกล้ - ไกล กันภูตผีและผู้คิดร้าย เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา
ซึ่งในการสร้างจะต้องมีองค์ประกอบตามตำรา 5 ประการ คือ
1.ปะตง = รูปแมงภู่
2.ปะตา = น้ำผาตา หรือ ปรอท
3.ปะต๊อก = ไม้ประดู่แดง
4.ปะตอง = นมล้อ(ดุมล้อเทียมเกวียน)
5.ปะตู่(ปะไต) = ไม้มะเขือบ้า
ซึ่งเรียกกันว่าปะทั้ง 5 และปะทั้ง 5 นี้ เมื่อเทียบกับตัวเลขของไทยใหญ่ คือทุกปะจะเท่ากับเลข 57 และเลข 57 นี้ เป็นเลขดี สำหรับตำราไทยใหญ่ ถือว่าเลขนี้จะชนะสิ่งชั่วร้ายทั้งปวงและเป็นมงคล