พระเครื่อง

"การสวดมหาชาติคำหลวง" -" โอ้เอ้วิหารราย " ราชประเพณีช่วงเข้าพรรษา

"การสวดมหาชาติคำหลวง" -" โอ้เอ้วิหารราย " ราชประเพณีช่วงเข้าพรรษา

17 ก.ค. 2565

ควรแก่การอนุรักษ์ ราชประเพณีในราชสำนักที่งดงาม "การสวดมหาชาติคำหลวง" และ "การสวดโอ้เอ้วิหารราย" ทรงคุณค่าคู่กาลเวลา


ในช่วงเทศกาลวันเข้าพรรษาที่ผ่านมา ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง นอกจากความน่าสนใจ ในประติมากรรมหินอ่อน ที่ถูกค้นพบแล้วนั้น ยังมีประเพณีที่ได้จัดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว นั่นคือ การสวดมหาชาติคำหลวง และ โอ้เอ้วิหารราย  พระราชพิธีหลวงในเทศกาลเข้าพรรษา กลางพรรษา และออกพรรษา จัดราชบัณฑิตนุ่งขาวห่มขาวสวดมหาชาติคำหลวงที่มุมด้านเหนือในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ส่วนภายนอกพระอุโบสถ นักเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จะตั้งโต๊ะหมู่บูชาที่ศาลาราย 12 หลัง รอบพระอุโบสถ ผลัดกันอ่านฉันท์ที่ศาลาราย

\"การสวดมหาชาติคำหลวง\" -\" โอ้เอ้วิหารราย \" ราชประเพณีช่วงเข้าพรรษา


“การสวดพระมหาชาติคำหลวง”นั้น มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้ปฏิบัติสืบต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ด้วย ปัจจุบันการสวดพระมหาชาติคำหลวง จะสวดกันเฉพาะช่วงเข้าพรรษา โดยกำหนดการสวดพระมหาชาติคำหลวงที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวังกำหนดไว้ ดังนี้ ช่วงต้นพรรษา 3 วัน

\"การสวดมหาชาติคำหลวง\" -\" โอ้เอ้วิหารราย \" ราชประเพณีช่วงเข้าพรรษา

ตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 แต่หากเป็นปีที่มีอธิกมาส จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 หลังถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง ช่วงกลางพรรษา 3 วัน ตั้งแต่วันแรม 13 ค่ำ เดือน 9 ถึงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 และช่วงปลายพรรษา 3 วัน ตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันแรม 1 เดือน 11 ปัจจุบันผู้ที่ทำหน้าที่สวดพระมหาชาติคำหลวง คือ เจ้าหน้าที่กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ผู้สวดพระมหาชาติคำหลวงจะต้องแต่งกายด้วยเสื้อผ้าขาว ขึ้นนั่งเตียงสวดที่ทางสำนักพระราชวังจัดเตรียมไว้ ณ ริมผนังข้างเหนือใกล้ประตูพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีเครื่องนมัสการกระบะมุก จุดธูปเทียนตั้งที่หน้าเตียงสวดด้วย

\"การสวดมหาชาติคำหลวง\" -\" โอ้เอ้วิหารราย \" ราชประเพณีช่วงเข้าพรรษา


ส่วน “การสวดโอ้เอ้วิหารราย” มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิม คือ การสวดของผู้ที่กำลังฝึกหัดสวดมหาชาติคำหลวง ซึ่งยังสวดไม่คล่อง ไม่ถูกทำนอง จึงนั่งฝึกซ้อมตามวิหารเล็กที่รายรอบพระอุโบสถวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ เมื่อสวดจนชำนาญแล้วจึงได้ขึ้นไปสวดในวิหารใหญ่ให้พระเจ้าแผ่นดินทรงฟัง

\"การสวดมหาชาติคำหลวง\" -\" โอ้เอ้วิหารราย \" ราชประเพณีช่วงเข้าพรรษา

ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนสอนหนังสือขึ้นที่โรงทาน และโปรดฯนักเรียนโรงทานนำหนังสือ ที่เรียนเรื่องใดก็ได้มาเป็นบทสวด ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยให้สวดตามที่เรียนมาตามถนัด เป็น ๓ ทำนอง คือ ทำนองยานี ฉบังแ ละสุรางคนางค์ ทำให้การฝึกสวดมหาชาติคำหลวงเดิมเปลี่ยนเป็นการสวดกาพย์พระไชยสุริยาเสียเป็นส่วนใหญ่

\"การสวดมหาชาติคำหลวง\" -\" โอ้เอ้วิหารราย \" ราชประเพณีช่วงเข้าพรรษา

ซึ่งหลังจากโรงทานเลิกไปแล้ว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงจัดนักเรียนชั้นประถมศึกษาจาก 6 โรงเรียนมารับหน้าที่สวดโอ้เอ้วิหารรายแทน ได้แก่ โรงเรียนราชวินิต โรงเรียนมหาวีรานุวัตร โรงเรียนวัดชัยชนะสงคราม โรงเรียนวัดพลับพลาชัย โรงเรียนวัดอมรินทราราม และโรงเรียนวัดประยุรวงศาวาส

\"การสวดมหาชาติคำหลวง\" -\" โอ้เอ้วิหารราย \" ราชประเพณีช่วงเข้าพรรษา

ซึ่งทั้งหกโรงเรียนก็ได้รับหน้าที่สวดมาระยะหนึ่ง ก่อนจะหาผู้สืบทอดการสวดต่อไม่ได้ และเลิกไปในที่สุด กล่าวโดยย่อ การสวดโอ้เอ้วิหารราย ก็คือ การทำนองอ่านหนังสือสวดของเด็กนักเรียน ซึ่งใช้กลอนสวดเป็นแบบเรียนฝึกการอ่านในสมัยที่วัดยังทำหน้าที่เป็นสถานศึกษาอยู่ และที่มาของชื่อก็คือ การที่ผู้อ่านหรือผู้สวดต้องมาสวดตามวิหารรายรอบพระอุโบสถในช่วงเทศกาลต่าง ๆ นั่นเอง ซึ่งการสวดดังกล่าวนอกจากจะช่วยฝึกการอ่านแล้ว เด็ก ๆ ยังได้ซึมซับคำสอนดีๆ ที่มีอยู่ในบทสวดด้วย

\"การสวดมหาชาติคำหลวง\" -\" โอ้เอ้วิหารราย \" ราชประเพณีช่วงเข้าพรรษา