พระเครื่อง

"หลวงพ่อเกษม" เถราจารย์แห่ง ลำปาง ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงนับถือ

"หลวงพ่อเกษม" เถราจารย์แห่ง ลำปาง ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงนับถือ

25 ก.ย. 2565

ทำความรู้จัก " หลวงพ่อเกษม เขมโก " สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง เถราจารย์เชื้อสายเจ้านายฝ่ายล้านนา มุ่งเน้นฝึกกรรมฐาน

ในแผ่นดินไทย เชื้อพระวงศ์ ที่บวชเรียน จนมีชื่อเสียงนั้น มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงรัตนโกสินทร์ ก็มีเชื้อพระวงศ์หลายรูปที่บวชเรียน รวมทั้งในฝ่ายดินแดนล้านนา ก็มีเชื้อสายราชวงศ์ ที่ได้บวชเรียน และได้เป็นเกจิอาจารย์ ที่ท่านมั่นคงในการฝึกปฏิบัติ ยึดมั่นในการดำรงวิถีของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระภิกุที่กำลังกล่าวถึงนั้น ก้คือ "หลวงพ่อเกษม เขมโก" สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง 

\"หลวงพ่อเกษม\" เถราจารย์แห่ง ลำปาง ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงนับถือ

 

สำหรับประวัติของ "หลวงพ่อเกษม เขมโก"  ท่านมีนามเดิมว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 เป็นบุตรใน เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ ชีวิตฆราวาสนั้น "หลวงพ่อเกษม" เคยรับราชการเป็นปลัดอำเภอ กับ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง และเป็นราชปนัดดาในเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย

 

ช่วงชีวิตวัยเด็ก ของ "หลวงพ่อเกษม" นอกจากการบวชเณรหน้าไฟนั้น ท่านได้บรรพชาเมื่ออายุ 15 ปีและจำวัดอยู่ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง "หลวงพ่อเกษม"ได้ศึกษาด้านพระปรัยัติธรรมจนสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ.ศ. 2474 

และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปี 2475 มีพระธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า "เขมโก" แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม โดยพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ได้ศึกษาภาษาบาลีที่สำนักวัดศรีล้อม ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาแผนกนักธรรมที่สำนักวัดเชียงราย

พ.ศ. 2479 "หลวงพ่อเกษม"  สอบได้นักธรรมชั้นเอก ท่านเรียนรู้ภาษาบาลีจนสามารถเขียนและแปลได้ รวมทั้งสามารถแปลเป็นภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี แต่ท่านไม่ยอมสอบเอาวุฒิ จนครูบาอาจารย์ทุกรูปต่างเข้าใจว่าพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ไม่ต้องการมีสมณะศักดิ์สูง ๆ เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้น

\"หลวงพ่อเกษม\" เถราจารย์แห่ง ลำปาง ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงนับถือ

 

เมื่อสำเร็จทางด้านปริยัติธรรมแล้ว "หลวงพ่อเกษม"  แสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนา จนกระทั่ง ท่านทราบข่าวว่ามีพระเกจิรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา คือ ครูบาแก่น สุมโน "หลวงพ่อเกษม" จึงฝากตัวเป็นศิษย์
"หลวงพ่อเกษม" ได้ตามครูบาแก่น สุมโน ออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวกและบำเพ็ญเพียรตามป่าลึก จนถึงช่วงเข้าพรรษาซึ่งพระภิกษุจำเป็นต้องยุติการท่องธุดงค์ชั่วคราวท่านจึงต้องแยกทางกับพระอาจารย์ และกลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม พอครบกำหนดออก ก็ติดตามอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนา

ต่อมา เจ้าอธิการคำเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืน มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์ได้ประชุมกันเพื่อหาเจ้าอาวาสรูปใหม่และต่างลงความเห็นพ้องต้องกันเห็นควรว่า พระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ท่านก็ไม่ยินดียินร้าย แต่ท่านก็ห่วงทางวัดเพราะท่านเคยจำวัดนี้ "หลวงพ่อเกษม" เห็นว่าถือเป็นภารกิจทางศาสนาเพราะท่านเองต้องการให้พระศาสนานี้ดำรงอยู่ จึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน หลังจากนั้นท่านก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสหลายครั้งเนื่องจากท่านอยากจะออกธุดงค์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ดังนั้น "หลวงพ่อเกษม"จึงออกจากวัดบุญยืนไปที่ศาลาวังทานพร้อมเขียนข้อความลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสไว้ด้วย

\"หลวงพ่อเกษม\" เถราจารย์แห่ง ลำปาง ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงนับถือ

 

"หลวงพ่อเกษม เขมโก" เป็นพระสายวิปัสสนาธุระ ไม่ยึดติดแม้แต่สถานที่ ท่านได้ปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ตลอดชนชีพ ท่านปฏิบัติศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ติดยึดในกิเลสทั้งปวง ท่านเป็นพระที่เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำปางและพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ

หรือแม้กระทั่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ก็ทรงมีความเคารพศรัทธาในความที่ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการ"หลวงพ่อเกษม"หลายครั้ง และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2536 "หลวงพ่อเกษม" มรณภาพ ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 เวลา 19:40 น. ซึ่งตรงกับวันจันทร์ แรม 11 ค่ำ เดือน 2 ปีกุน

อัพเดทประเด็นที่เป็นกระแส กับ คมชัดลึก เพิ่มเติม ที่นี่
Twitter - https://twitter.com/Kom_chad_luek
Instagram - https://www.instagram.com/komchadluek_online/