พระเครื่อง

ร่วมบุญ บูรณะ พระอุโบสถ " โบสถ์มหาอุตม์ " โบราณสถาน ย่าน บางกรวย

ร่วมบุญ บูรณะ พระอุโบสถ " โบสถ์มหาอุตม์ " โบราณสถาน ย่าน บางกรวย

26 ส.ค. 2565

คมชัดลึก เป็น สะพานบุญ เชิญชวน ท่านผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทำบุญโดยตรง กับ วัดปราสาท ในวาระการซ่อม พระพุทธรูป และ โบสถ์มหาอุตม์ โบราณสถาน ทรงคุณค่า ย่าน บางกรวย

วัดปราสาท โบราณสถานแห่งชาติ ตั้งอยู่เลขที่ 18 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลบางกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นวัดสังกัดมหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2310 เป็นปีที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่า สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางประมาณสมัยพระเจ้าทรงธรรม สร้างโดยเจ้าพระยากลาโหม (องค์ไล)

พระอุโบสถโบราณ วัดปราสาท นนทบุรี

ผู้ซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์ในพระนาม พระเจ้าปราสาททอง ต้นราชวงศ์ปราสาททอง เป็นพระราชบิดาของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สร้างสมัย สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงเสด็จมาตั้งพลับพลาที่ประทับ เพื่อขุดคลองลัดจากวัดท้ายเมือง ถึงปากคลองบางกรวยหน้าวัดเขมาภิรตาราม และเป็นสถานที่ระดมพล (ค่ายทหาร) เพื่อเตรียมทัพไปรบกับพม่าที่กรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าปราสาททองขึ้นครองราชย์ในราชวงศ์ปราสาททอง พ.ศ. 2173 – 2198
   พระอุโบสถโบราณ วัดปราสาท นนทบุรี      

อุโบสถมีลักษณะเด่นคือ “อุโบสถแบบมหาอุตม์” คือ ผนังด้านข้างทั้งสองไม่มีหน้าต่างด้านหน้ามีประตูทรงปราสาท ประดับลวดลายปูนปั้นด้านหลังมีเพียงช่องแสงเล็ก ๆ หลังพระประธานเวลาแสงส่องผ่าน ทำให้เกิดรัศมีเจิดจ้ากระจายรอบองค์พระสวยงาม

ภาพจิตกรรมฝาผนัง พระอุโบสถโบราณ วัดปราสาท นนทบุรี

ผนังอุโบสถมีภาพจิตรกรรมเขียนด้วยสีฝุ่น เรื่องทศชาติสมัยอยุธยาตอนปลาย ฝีมือสกุลช่างชั้นสูงนนทบุรี สันนิษฐานว่าเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ที่สุด ภายในอุโบสถมีพระประธานนามว่า พระพุทธปราสาททอง(หลวงพ่อใหญ่) ศิลปะสมัยอู่ทอง และพระพุทธรูปอันดับเก่าแก่อายุตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นถึงตอนปลายจำนวน 25 องค์ ลักษณะของอุโบสถโค้งตกท้องช้าง อันเป็นเอกลักษณ์ของอุโบสถสมัยอยุธยา 

พระพุทธรูป ในพระอุโบสถโบราณ วัดปราสาท นนทบุรี
 

กรมศิลปากร  ได้ขึ้นทะเบียนอุโบสถวัดปราสาท  เป็นโบราณเป็นโบราณสถานแห่งชาติ     โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 79 ตอนที่ 100 ลงวันที่ 17พฤศจิกายน 2505 (โบราณสถานจังหวัดนนทบุรี  หน้าที่ 25-27)

พระพุทธรูป ในพระอุโบสถโบราณ วัดปราสาท นนทบุรี

    ในปัจจุบันอุโบสถและชุกชีประธานพร้อมด้วยองค์พระจำนวน 25 องค์ ได้เกิดความเสียหายด้วยความชื่นได้ขึ้นองค์พระและฐานพระ ทำให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก และเวลาฝนตกหลังอุโบสถน้ำฝนได้รั่ว ใส่ภาพจิตรกรรมและองค์พระ อยู่ในขั้นวิกฤต ทาง วัดปราสาท และ กรมศิลปากร  สำนักกรมศิลปากร ที่ 2 สุพรรณบุรี พร้อมด้วยผู้เกี่ยวข้อง ได้ของบประมาณมาเร่งบูรณะเป็นการเร่งด่วนแต่ งบประมาณที่ได้มาจากรัฐบาลไม่เพียงพอในการบูรณะ

พระพุทธรูป ในพระอุโบสถโบราณ วัดปราสาท นนทบุรี

ทาง วัดปราสาท และ กรมศิลปากร เปิดให้ผู้มีศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพในการบูรณะอุโบสถและฐานชุกชีพระประธาน โดยขั้นตอนแรกในการบูรณะจะเป็นขั้นตอนตัดความชื่น และสำรวจฐานชุกชีพระประธาน เป็นขั้นตอนแรก ในการบูรณะจะบูรณะเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายและบูรณะในเชิงอนุรักษ์โบราณสถานและวัตถุให้คงสภาพเดิมให้สมบูรณะที่สุด 

พระพุทธรูป ในพระอุโบสถโบราณ วัดปราสาท นนทบุรี
 

ในการบูรณะอุโบสถและฐานพระประธานพร้อม องค์พระจำนวน 25 องค์ ให้ร่วมทำบุญ กองบุญละ 1000 บาท หรือตามกำลังศรัทธา ร่วมบุญได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดเจ้าพระยา บางใหญ่   ชื่อบัญชี วัดปราสาท เลขบัญชี 435-125510-8 

ร่วมบุญ บูรณะ พระอุโบสถ \" โบสถ์มหาอุตม์ \" โบราณสถาน ย่าน บางกรวย

พร้อมกันนี้ ทางวัดได้จัดสร้าง เหรียญมหาอุจจ์ หนุนดวง ปลดหนี้ หลวงพ่อใหญ่ ร่วมทำบุญเหรียญละ 299 บาท สร้างจำนวน 2565 เหรียญ เนื้อทองทิพย์ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อใหญ่ มีดวงลัคนาราศี พระพฤหัสบดีเป็นมหาอุจจ์ ด้านหลังทางวัดจะนำดวงเกิดของผู้ที่บูชาเหรียญนำไปใส่ด้านหลังเหรียญจะเป็นดวงลัคนาราศี ของท่านที่บูชาเหรียญ เป็นเหรียญประจำตัว พุทธคุณในด้าน หนุนดวงชะตา เสริมบารมี เมตตามหานิยม ค้าขาย กิจการร้านค้า หน้าที่ตำแหน่ง การงาน จัดสร้างเพื่อสมทบทุนบูรณะอุโบสถและฐานชุกชีพระประธาน

ทั้งนี้ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคีของ วัดปราสาท ในวันเสาร์ ที่ 5 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป


 ติดต่อขอร่วมเป็นเจ้าภาพได้ที่ 089-523-7712,065-518-5555 หรือ เพจ วัดปราสาท จังหวัดนนทบุรี Wat Prasat.

 

อัพเดทประเด็นที่เป็นกระแส กับ คมชัดลึก เพิ่มเติม ที่นี่
Twitter - https://twitter.com/Kom_chad_luek
Instagram - https://www.instagram.com/komchadluek_online/

คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565 ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote  ในครั้งนี้
รู้พร้อมกันที่ คมชัดลึก ทุก Platform https://awards.komchadluek.net/#