พระเครื่อง

กรมศิลปากร เดินหน้า อนุรักษ์ เอกสารโบราณ วัดเบญจมบพิตร

กรมศิลปากร เดินหน้า อนุรักษ์ เอกสารโบราณ วัดเบญจมบพิตร

08 ก.ย. 2565

กรมศิลปากร เดินหน้า โครงการ อนุรักษ์ พระไตรปิกฎ เอกสารโบราณ ของ วัดเบญจมบพิตร กิจกรรมต่อเนื่องจาก โครงการ วัดไก่เตี้ย มุ่งหวัง พระสงฆ์ตระหนักรู้ สืบต่อพระศาสนา

นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดและแถลงข่าวโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร กิจกรรมสำรวจ อนุรักษ์ ลงทะเบียน จัดเก็บเอกสารโบราณ และกิจกรรมกรมศิลป์ร่วมมือคณะสงฆ์ร่วมใจ อนุรักษ์ สืบสาน อ่านแปล ใบลาน ณ วัดเบญจมบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพฯ
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า เอกสารโบราณเป็นองค์ความรู้ที่บรรพชนได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์

นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดี กรมศิลปากร
อักษร ประกอบด้วยเนื้อหาสาระที่หลากหลาย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ ตลอดจนสรรพวิทยาการด้านต่าง ๆ เช่น พงศาวดาร  ตำราเวชศาสตร์ ตำราไสยศาสตร์ ตำราโหราศาสตร์ และวรรณคดี อีกทั้งเป็นเครื่องแสดงอัตลักษณ์ของชุมชนได้เป็นอย่างดี การดูแลรักษาเอกสารโบราณ นอกจากจะต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามหลักวิชาการแล้ว สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ วัดและองค์กรท้องถิ่น ตลอดจนประชาชน จำเป็นต้องเห็นคุณค่าของเอกสารโบราณ และมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา รวมเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป 

โครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณ วัดเบญจมบพิตร

โครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณ วัดเบญจมบพิตร เป็นการดำเนินการต่อเนื่องมาจากการดำเนิน  การโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณ วัดไก่เตี้ย ซึ่งเป็นวัดต้นแบบ ในการอนุรักษ์ที่เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างองค์กร กรมศิลปากร กับ คณะสงฆ์ และประชาชน สร้างการรับรู้อย่างเป็นรูปธรรม เกิดภาคีเครือข่ายจิตอาสาภาคประชาชน

โครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณ วัดเบญจมบพิตร

คณะสงฆ์ตระหนักรู้ และสอดรับนโยบายอนุรักษ์ สืบสาน มรดกภูมิปัญญาของบรรพชนจากรุ่นสู่รุ่น อีกทั้งมีผลโดยตรงต่อการสืบต่ออายุ พระพุทธศาสนา เพราะเอกสารโบราณ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนที่เรียกว่า พระไตรปิฎก ดังนั้นองค์กรคณะสงฆ์จึงถือเป็นภาคีเครือข่ายอันดับแรกในการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติอันสำคัญนี้ 

โครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณ วัดเบญจมบพิตร
การดำเนินโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณ วัดเบญจมบพิตร โดยกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ระหว่างวันที่ 8 – 15 กันยายน  ประกอบด้วย การแนะนำ สาธิตการอนุรักษ์ใบลานเบื้องต้น การอนุรักษ์ทำความสะอาดใบลาน อ่านปกใบลาน ตามหาชื่อเรื่อง ศึกษาฉบับใบลานสืบสาน
พวกพ้อง เปลี่ยนสายสนอง และการห่อผ้าคัมภีร์ใบลาน ซึ่งการดำเนินโครงการนอกจากจะสามารถสร้างการรับรู้ และเกิดภาคีเครือข่ายหลากหลายองค์กรแล้ว ยังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม 
 

เนื่องจากพระวิหารสมเด็จ ส.ผ. (เสาวภา ผ่องศรี) วัดเบญจมบพิตร เป็นคลังปัญญาที่เก็บคัมภีร์ใบลานและตู้พระธรรมจำนวนมาก โครงการดังกล่าวจะทำให้ประชาชนเข้าถึงเอกสารโบราณได้ง่ายและใช้เอกสารโบราณอย่างถูกวิธี อันเกิดจากการจัดระบบตามหลักวิชาการ สร้างการรับรู้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ประชาชนให้ความสนใจ และมาใช้ประโยชน์จากการศึกษาค้นคว้าต่อยอดองค์ความรู้ในเอกสารโบราณได้เป็นอย่างดี

โครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณ วัดเบญจมบพิตร
การเปิดโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร จึงเป็นก้าวต่อไปที่มั่นคงยิ่งขึ้นอันเกิดจากต้นแบบวัดไก่เตี้ยที่สามารถสร้างการรับรู้และเกิดภาคีเครือข่ายหลากหลายองค์กรดังที่กล่าวแล้ว และสิ่งที่คาดว่าจะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม 

โครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณ วัดเบญจมบพิตร


อัพเดทประเด็นที่เป็นกระแส กับ คมชัดลึก เพิ่มเติม ที่นี่
Twitter - https://twitter.com/Kom_chad_luek
Instagram - https://www.instagram.com/komchadluek_online/

คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565 ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote  ในครั้งนี้
รู้พร้อมกันที่ คมชัดลึก ทุก Platform https://awards.komchadluek.net/#