ศึกษา พระกรุ วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา ความงามศิลปะโบราณ
ร่วมศึกษา พระกรุ ที่น่าสนใจ จาก กรุ วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา พระเนื้อชิน ศิลปะต้นกรุง อายุหลายร้อยปี ในปัจจุบันราคายังจับต้องได้
พระเครื่อง ที่บรรจุกรุ นั้น แต่ดั้งเดิม มีความเชื่อ สืบทอดกันมาว่า เป็นไปเพื่อ สืบทอพระพุทธศาสนา และเป็นการทำบุญ กับ ศาสนา ในยุคสมัยที่พระนครศรีอยุธยา เป็นราชธานีนั้น สถาบันกษัตริย์ มีความเป็น พุทธราชา หรือ การสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการแสดงพระราชอำนาจ ผ่านพระอาราม และแสดงความเป็นศาสนูปถัมภก
นอกจากการแสดงความเป็น พุทธราชา แล้วนั้น การสร้างวัดต่าง ๆ ในยุคสมัยอยุธยาตอนต้น ยังเป็นไปเพื่อ การพระศาสนา อุทิศให้ศาสนาอย่างแท้จริง ช่วงรอยเลี้ยวหัวต่อ ระหว่างยุคสมัย ระหว่าง สองราชวงศ์ หรือ สอง ราชตระกูล วงศ์ อู่ทอง กับ วงศ์ สุพรรณภูมิ เมื่ออำนาจสูงสุด อยู่ในมือของ สุพรรณภูมิ ในจังหวะรอยต่อแห่งอำนาจ สมเด็จพระอินทราชา สวรรคต พระราชโอรส 2 พระองค์ ชิงอำนาจ ชนช้างกันกลางเมืองจนสิ้นพระชนม์ น้องสุดท้อง เจ้าสามพระยา ผู้ครองเมืองชัยนาท หรือ พิษณุโลก ได้ราชสมบัติ จากนั้น โปรดเกล้า ให้สร้างวัดขึ้น นั่นคือ วัดราชบูรณะ อุทิศถวายพระเจ้าพี่ยาเธอทั้งสองพระองค์
ในการนั้น จากการที่ได้เห็นสิ่งของคราวตามจับกุม ยึดสิ่งของจากคนร้าย ที่ลักลอบขุดพระปรางค์ วัดราชบูรณะ มีการพบเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องใช้ทองคำ และ พระเนื้อชิน ซึ่งมีการระบุไว้ว่า มีจำนวนหลายหมื่นองค์ สันณิษฐานว่า อาจจะมีถึง 84,000 องค์ ตามคติ 84000 พระธรรมขันธ์
แม้จะเป็นพระกรุ ที่มีอายุหลายร้อยปี ก็ตาม แต่ด้วยจำนวนที่มีมากมายหลายหมื่นองค์ จนถึงปัจจุบัน ราคาการเช่าบูชา พระกรุ วัดราชบูรณะ ไม่ได้มีมูลค่าสูง เหมือนอย่าง พระเครื่อง วัตถุมงคล เครื่องราง อื่น ๆ ที่ผู้มีความศรัทธา และ สะสม พระเครื่อง ต้องการ
อีกประการ พุทธลักษณะของ พระกรุ วัดราชบูรณะ นั้น มีจำนวนมากมายหลายพิมพ์ด้วยกัน จึงอาจจะทำให้เกิดความสับสนใน นักสะสมหรือ ผู้หัดส่องพระ ตีกล้องหน้าใหม่ ดังนั้น จุดสำคัญ ในการเล่นหา หรือ เช่าบูชา พระกรุเนื้อชินนี้ จึงต้องเริ่มต้น ในการจำแนก ศิลปะ หรือ พุทธลักษณะเป็นสำคัญ
แต่อย่างไรก็ดี ในจำนวนที่มีมากมายของพระกรุนี้ ยังมีบางส่วนที่มีศิลปะ แตกต่าง จากอยุธยาตอนต้นออกไป นั่นคือ มีศิลปะแบบสุโขทัยปะปนเข้ามาด้วย ในเรื่องนี้ ก็อาจจะพอตั้งข้อสังเกต เป็นแนวทางไว้ได้ว่า เจ้าสามพระยา ทรงเป็นผู้ปกครองพิษณุโลก ในเวลานั้น พิษณุโลก เป็นเสมือนหนึ่ง เมืองของราชวงศ์พระร่วง แห่งอาณาจักรสุโขทัย และในการสร้างพระจำนวนมากนั้น จึงคาดการณ์ว่า อาจจะมีการแบ่งงานออกไปให้ช่างฝีมือ สายสุโขทัย ร่วมสร้าง ก็มีความเป็นไปได้
ทั้งนี้ นอกเหนือจากการจดจำ พุทธลักษณะ ศิลปะ ของพระแล้ว ความเป็นะรรมชาติของเนื้อวัสดุ ที่จัดสร้างก้เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ควรพิจารณา เพราะหากเป็น ตะกั่ว หรือ เนื้อชิน เดิมจากยุคเก่า เนื้อชินจะมีลักษณะตึง มีความแห้ง ของตัวปรอทหรือชิน ลักษณะของตัวพิมพ์จะมีความลึก ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในการสะสมพระเครื่อง ประเมินกันว่า น่าจะใช้วิธีการกะแม่พิมพ์บนโลหะ จึงทำให้ลวดลายต่าง ๆ มีความคมชัด ส่วนด้านหลังจากเรียบ คาดว่า เกิดจากการวางบนแผ่นไม้ เพื่อทำการกดพิมพ์ ก็เป็นได้
อัพเดทประเด็นที่เป็นกระแส กับ คมชัดลึก เพิ่มเติม ที่นี่
Twitter - https://twitter.com/Kom_chad_luek
Instagram - https://www.instagram.com/komchadluek_online/
คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565 ใครคือ 6 Candidate กับ 8 สาขา Popular Vote
รู้พร้อมกันที่ คมชัดลึก ทุก Platform https://awards.komchadluek.net/#