เปิดประวัติ วัดศรีสุพรรณ เชียงใหม่ หลัง เจดีย์โบราณอายุ500ปี ถล่ม
เปิดประวัติศาสตร์ ของ วัดศรีสุพรรณ จังหวัดเชียงใหม่ พระอาราม ที่พระมหากษัตริย์ แห่งราชวงศ์มังราย ทรงสร้าง หลัง เจดีย์โบราณของวัดถล่ม
นับเป็นอีกความน่าสลด และ เสียดาย ต่อการถล่มลงของพระเจดีย์ ใน วัดศรีสุพรรณ ด้วยเป็นคุณค่าทางจิตใจของพุทธศาสนิกชน ทั้งในพื้นที่ และทั่วไป รวมทั้ง ยังเป็นการสูญเสีย โบราณสถาน แห่งหนึ่ง ที่เกี่ยวพันกับ ประวัติศาสตร์ เมือง เชียงใหม่
สำหรับประวัติโดยย่นย่อของ วัดศรีสุพรรณ นั้น มีการระบุไว้ในวิกิพีเดียว่า เป็นวัดราษฎร์ สังกัด คณะสงฆ์ฝ่าย มหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลหายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัด เชียงใหม่ ถ้าจะระบุพิกัด ให้สายท่องเที่ยวคุ้นเคย ก็ต้องบอกว่า ย่าน ถนนวัวลาย ที่มีตลาดคนเดิน ในทุกวันเสาร์ นั่นเอง
ประวัติศาสตร์ของ วัดศรีสุพรรณ นั้น ระบุข้อมูลไว้ว่า สร้างเมื่อ พ.ศ. 2043 ในสมัยของ พญาแก้ว พระมหากษัตริย์องค์ที่ 11 ของ ราชวงศ์มังราย พระนางสิริยสวดี พระราชมารดามหาเทวีเจ้า โปรดเกล้าฯ ให้มหาอำมาตย์ชื่อ เจ้าหมื่นหลวงจ่าคำ สร้างวัดชื่อว่า วัดศรีสุพรรณอาราม ต่อมาเรียกสั้น ๆ ว่า "วัดศรีสุพรรณ" และทำการผูกพัทธสีมาอุโบสถเมื่อ พ.ศ. 2052 และสร้างวิหาร
พระบรมธาตุเจดีย์ อุโบสถ และนำ พระพุทธปาฏิหาริย์ หรือ ชื่อเดิมคือ พระเจ้าเจ็ดตื้อ มาประดิษฐานในอุโบสถ วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2400
ขณะเดียวกันไฮไลต์สำคัญของ วัดศรีสุพรรณ ที่นักท่องเที่ยว ไม่ว่าคนไทย คนต่างชาติ จะต้องไปเยี่ยมชม สักการะ นั่นคือ อุโบสถเงินของวัด ซึ่งถือว่าเป็นแห่งเดียวในโลก วัสดุที่ใช้คืออะลูมิเนียม เป็นเงินผสมและใช้เงินบริสุทธิ์บางแห่ง บุและตกแต่งตั้งแต่หลังคา ผนังภายในและภายนอกทั้งหลัง ช่างที่ดำเนินการสร้างอุโบสถเงิน
เฉพาะการใช้ อะลูมิเนียม เงินผสมและเงินบริสุทธิ์ สำหรับตกแต่ง เหตุที่มีการสร้างเป็นโบสถเงินนั้น ก็เพราะ วัดศรีสุพรรณ ตั้งอยู่ในแหล่งย่าน ของหมู่ช่าง ที่มีความเชี่ยวชาญในการสรรสร้างเครื่องเงิน นั่นคือ ย่านวัวลาย นี่เอง
อุโบสถเริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2547 สืบเนื่องจากอุโบสถหลังเดิมชำรุดและคณะศรัทธา วัดศรีสุพรรณ ซึ่งได้สืบทอดอาชีพการทำเครื่องเงิน (คัวเงิน) และเพื่อเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมจากบรรพบุรุษของตนมามากกว่า 200 ปี อุโบสถเงินมีการสลักลวดลายตามแนวประเพณีล้านนา วัดมีกฎห้ามสตรีเข้าไปภายในอุโบสถเงินโดยเด็ดขาด
เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Website - www.komchadluek.net
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek