พระเครื่อง

สำรวจ โบราณวัตถุ ที่พบ หลัง เจดีย์ วัดศรีสุพรรณ ถล่ม

สำรวจ โบราณวัตถุ ที่พบ หลัง เจดีย์ วัดศรีสุพรรณ ถล่ม

01 ต.ค. 2565

สำรวจ โบราณวัตถุ ที่ค้นพบ หลังทำพิธีถอน พระเจดีย์ แห่ง วัดศรีสุพรรณ ที่ถล่มลง พบพระพุทธรูป สถูปบรรพระธาตุ แก้วโป่งข่าม


หลังจากเกิดเหตุที่ สะเทือนใจชาวพุทธ และ ผู้มีความศรัทธา ที่ พระธาตุเจดีย์ แห่ง วัดศรีสุพรรณ นั้นได้ถล่มลงทั้งองค์ เมื่อวันที่ 29 ก.ย. ที่ผ่านมา  ถัดมา คณะสงฆ์จากวัดต่างๆในจังหวัด เชียงใหม่ พร้อมด้วยประชาชนชาว เชียงใหม่รวมถึงนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติต่างเดินทางมาร่วมกันประกอบพิธีสูตรถอน องค์พระเจดีย์ ตามประเพณีล้านนา โดยทาง วัดศรีสุพรรณ ได้ทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ก่อนจะทำการอัญเชิญบอกกล่าวเทวดาฟ้าดินและเจ้านายฝ่ายเหนือที่ได้สร้างองค์พระเจดีย์ วัดศรีสุพรรณ แห่งนี้  

การประกอบพิธีสูตร ถอนพระเจดีย์ การประกอบพิธีสูตร ถอนพระเจดีย์

จากนั้นทางคณะสงฆ์จังหวัด เชียงใหม่ ได้ทำพิธีสูตรถอนพิธีกรรมแบบโบราณของชาวล้านนา โดยมีพระครูประภัศร์ธรรมรังษี หรือครูบาจันต๊ะ เจ้าอาวาสวัดกู่เต้า เป็นประธานในพิธีทางศาสนาและการเทศน์ธรรมจากนั้นจึงได้เริ่มพิธีสูตรถอนพิธีกรรมแบบโบราณของชาวล้านนาซึ่งได้มีการตระเตรียมเครื่องสักการะประกอบไปด้วย หมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นผึ้ง ต้นเทียน และต้นดอก

เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ตรวจสอบโบราณวัตถุที่พบ หลังเจดีย์ถล่ม

เพื่อนำมาทำพิธีสูตรถอนองค์พระเจดีย์  ซึ่งการทำพิธีสูตรถอนนั้นเพื่อเป็นการขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาองค์พระเจดีย์แห่งนี้เอาไว้ก่อนที่จะให้ช่างจากสำนักศิลปากรที่ 7จังหวัดเชียงใหม่ เข้าทำการรื้อเศษซากปรักหักพังขององค์พระเจดีย์ออก

เมื่อทำพีกรรมทางความเชี่อ เรียบร้อยแล้วนั้น เจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้ช่วยกันคัดแยกและถ่ายรูปโบราณวัตถุเพื่อตรวจสอบว่า โบราณวัตถุที่พบนั้น เป็นของวัตถุโบราณที่มีอายุเก่าแก่หรือไม่  เบื้องต้นวัตถุโบราณที่ พบนั้น มีประมาณ 30 ชิ้น

เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ วัตถุโบราณ

ส่วนใหญ่จะเป็นวัตถุโบราณอย่าง พระสิงห์ โดยในจำนวนที่พบนั้น เป็นพระพุทธรูป ศิลปะเชียงแสน ซึ่งเป็นไปตามประวัติศาสตร์ของอาณาจักรล้านนา ที่ ราชวงศ์มังราย ย้ายศูนย์อำนาจเข้ามายังเวียงกุมกาม ก่อนจะย้ายอีกครั้งมายังเชิงดอยสุเทพ พร้อมกับนำ ศิลปะเชียงแสน เข้ามาสู่พื้นที่ พระแก้วขาว พระบรมสารีรกธาตุ และ เป็นชินส่วนของวัตถุโบราณ เช่น หยกขาว แก้วโป่งข่าม ถือว่าเป็นสิ่งมงคลที่ชาว ล้านนา ในอดีตมักบรรจุเข้าไปในองค์พระเจดีย์

พระพุทธรูปที่พบ

โดยในภาคเหนือนั้น มีแหล่ง หินโป่งข่าม แหล่งใหญ่อยู่ที่ อ.เถิน จ.ลำปาง ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบขึ้นทะเบียน ประวัติความเป็นมา อายุ และ จะให้ทางวัดเก็บไว้ เพื่อบรรจุในองค์พระเจดีย์ หากมีการบูรณะขึ้นมาใหม่อีกครั้ง 

สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

นายเทอดศักดิ์ เย็นจุระ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ เปิดเผยว่า หลังจากทำพิธีสูตรถอนเสร็จ เจ้าหน้าที่ ก็จะทำการค้ำยันในส่วนขององค์พระเจดีย์ ในส่วนที่ยังเหลือ เพื่อประครองไม่ให้ถล่มลงมาอีก เพราะอีกส่วนที่ยังเหลือฝั่งซ้าย หากถล่มลงมา จะทำให้ทรัพย์สินของทางวัดเสียหาย เพราะอยู่ติดกับวิหาร และร้านค้าชุมชน และช่วงนี้ นักโบราณคดี อยู่ระหว่าง ค้นหา โบราณวัตถุที่ยังหลงเหลือ เพื่อนำมาสำรวจและขึ้นทะเบียนก่อนส่งมอบให้ทางวัดดูแล

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Website -  www.komchadluek.net
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek