พระเครื่อง

พระอาจารย์ประสูติ เททองนำฤกษ์ ตาพรานจัน วัตถุมงคล ด้าน โชคลาภ

พระอาจารย์ประสูติ เททองนำฤกษ์ ตาพรานจัน วัตถุมงคล ด้าน โชคลาภ

19 ต.ค. 2565

พระอาจารย์ประสูติแห่ง วัดในเตา ประกอบพิธี เททองนำฤกษ์ จัดสร้างวัตถุมงคล พระยาหงส์เหมราช ตาพรานจัน ครูโนราห์ เด่นด้าน โชคลาภ ทรัพย์สิน

วันเสาร์ 5 นั้น ถือว่า เป็น วันและฤกษ์ ที่ ครูบาอาจารย์ ในทางพระเวทวิทยาคม นั้น ชเอถือว่า เป็น กำลังวันที่ เข้มขลัง ตามคติความเชื่อของโบราณเชื่อว่า ดาวเสาร์เป็นดาวแห่งความเข้มแข็ง และมีพลังมาก หากมีการประกอบพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในวันเสาร์ห้า จะมีพุทธคุณด้านคงกระพัน และแคล้วคลาด มากกว่าวันปกติ   ถือว่าเป็นวันธงไชย เป็นฤกษ์งามยามดี มีดาวบนท้องฟ้าโคจรในตำแหน่งที่สวยงาม เป็นวันที่ควรจะได้มีกิจกรรมอันเป็นมหามงคลร่วมกัน หรือได้ไปอยู่ในพิธีอันเป็นมงคลจะได้อำนวยอวยสุข อำนวยอวยพรให้เกิดสุข และผล เป็นมิ่งมงคลแก่ทุกท่าน  ตามโบราณกาลที่มีมา ถือว่าเป็นวันแรง และวันที่ผู้ที่เกิดวันเสาร์มีดาวเสาร์เป็นดาวประจำตัว มีพระเสาร์เป็นเทพเจ้าประจำวัน

ดังนั้น ความแข็ง หรือความแรงของพระเสาร์นั้นปรากฏเด่นชัด ความสำคัญของวันเสาร์ห้าแต่โบราณกาลมา พระเกจิอาจารย์ มักจะปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ทำพิธีอันเป็นมงคลในวันนั้น เพื่อเสกของ และ เสกคน  คือ ศิษย์ยานุศิษย์ ประชาชนที่ร่วมในพิธี ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ ให้เกิดความเป็นสิริมงคล 

พิธีบวงวสรวงเททองหล่อ พระยาหงส์เหมราช ตาพรานจัน

เมื่อวันเสาร์ที่ 15 ต.ค. 25645 ที่ผ่าน เป็น วันเสาร์ 5 น้อย คือ เป็น วันเสาร์ แรม 5 ค่ำ มณฑลพิธีลานวัดถ้ำพระพุทธโกษีย์ ได้มีการจัดพิธีบวงวสรวงเททองหล่อ พระยาหงส์เหมราช ตาพรานจัน  โดย มี พระครูรัตนสิกขการ หรือ พระอาจารย์ประสูติ ปิยธัมโม เจ้าอาวาสวัดถ้ำพุทธโกษีย์(วัดในเตา) ตำบลในเตา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์  และ มี อาจารย์สิทธิชัย โหรบัณฑิต ประกอบพิธีบวงสรวง

พิธีบวงวสรวงเททองหล่อ พระยาหงส์เหมราช ตาพรานจัน

ลำดับขั้นตอนพิธี เริ่มจากในช่วงเช้า ประกอบพิธีการสถาปนามณฑล หรือวางหลักนักษัตรตามตำราโลกธาตุ ปักธงนักษัตรทั้ง 12 นักษัตร ล้อมรอบมณฑลพิธี และธงนพเคราะห์ ทั้ง 9 ดวง ซึ่งการจัดวางนี้ตรงตามตำราศาสตร์วิชาแต่โบราณทุกประการ โดยสอดคล้องกับศาสตร์ของจีนคือ หลักฮวงจุ้ย

พิธีบวงวสรวงเททองหล่อ พระยาหงส์เหมราช ตาพรานจัน

และวิชาห้าธาตุ เพื่อให้มณฑลพิธีบังเกิดความสมบูรณ์ตามหลักของโลกธาตุ ตรงกลางตั้งปรัมพิธีศาลเพียงตา ยกธงเทียมดา ประกอบฉัตร 9ชั้น มีธงสีขาวตราพระเกตุอยู่ท่ามกลาง และโดยรอบมีการสมมุติธาตุทั้ง 4 วางขอบเขตไว้ในมณฑล และเมื่อได้ยามเวลาตามกำหนดการ ก็ได้นิมนต์ พระอาจารย์ประสูติ ปิยธมฺโม ทำการจุดธูปเทียน เพื่อบวงสรวงเทพเทวดา คณะพราหมณ์ทำการบวงสรวงจากนั้นจึงประกอบพิธีทางโนราห์ 

เททองนำฤกษ์ พระยาหงส์เหมราช ตาพรานจัน

สำหรับ ตาพรานจัน นั้น มีข้อมูลที่มีการเรียบเรียงไว้ใน หนังสือตำนานพื้นบ้านสายโนราห์พัทลุง ได้ระบุไว้ว่า  จะมีครูหมอสายพรานด้วยกันหลายองค์ อาทิเช่นพรานจัน พรานบุญ พรานทิพย์ พรานเทพ พรานหน้าทอง พรานดำ พรานอินทร์ พรานเฒ่า พรานแก่ พรานเนสาท พรานสิงหล ขุนพราน พระยาพราน พรานจอมเฒ่า เป็นต้น

ภาพการไหว้บูชา ตาพรานจัน และ ครูอาจารย์

พรานเหล่านี้ล้วนเป็นพรานที่อยู่ในสมัย พญาสายฟ้าฟาด เจ้าเมืองพัทลุง ในอดีต แต่ตาพรานบุญที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุด อันเนื่องจากเป็นพรานผู้รับใช้ใกล้ชิดกับ พ่อขุนศรีศรัทธา มากที่สุด และไปพ้องชื่อกับละครเรื่องพระสุธนมโนราห์ ทำให้หลายๆคนมักคุ้นหูกับพรานบุญมากกว่าพรานอื่นๆ

ตาพรานจัน

ส่วนพรานอื่นๆ ก็ถือเป็นบรรพบุรุษที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวพัน กับทางโนราห์เพราะคนใต้ถือว่าบุคคลที่เคยมีชีวิตและมีบทบาทในประวัติศาสตร์ความเป็นมาของโนราห์นั่น ถือว่า เป็นครูหมอโนราห์ด้วยเช่นกัน ซึ่งแต่ละองค์ ก็จะเก่งไปในทางต่างๆ ที่ต่างกัน และส่วนการนับถือ ก็มีการนับถือกันในสายตระกูลที่สืบทอดมา หรือนับถือกันในคณะผู้ที่ศรัทธาครูโนราห์ 


 

ส่วน ตาพรานจัน มีนามเต็มว่า พระยาหงส์เหมราช เป็นอนุชาคนละมารดากับพญาสายฟ้าฟาด หรือเจ้าเมืองพัทลุงในสมัยนั้น แต่ด้วยท่านเป็นคนดุดัน ไม่ยอมใคร พูดจาโพงพาง และเกิดปัญหาทางการเมืองในสมัยนั่น พระยาหงส์เหมราชและท่านอื่นๆ ก็หนีออกจากเมือง ไปพำนักตามที่ต่างๆ ตามที่ประวัติบันทึกไว้ได้ อาทิเช่น  พระม่วงทอง หนีไปกันตัง จ.ตรัง ปัจจุบันคือ บ้านพระม่วง เป็นโต๊ะพระม่วง พระยาหงส์ทอง หนีมาพำนักที่ ลำปำ เปลี่ยนนามเป็น จอม ภายหลังชาวบ้านเรียก จอมเฒ่าหน้าทอง

รูปหล่อ พระยาหงส์เหมราช ตาพรานจัน ที่ผ่านพิธีเททองนำฤกษ์

ส่วน พระยาหงส์เหมราช ไปพำนักที่บ้านหัวไทร เปลี่ยนนามเป็น จัน ภายหลังชาวบ้านเรียกว่า พรานจัน และที่มีสร้อยว่า ฟันหัวควาย เพราะหลังจากออกจากเมืองมาแล้ว มาตั้งกลุ่มเลี้ยงควาย ปล้นควาย ฆ่าควาย ภายหลังมาประทับทรงลูกหลาน มักให้มีการรำฟันหัวควาย ซึ่งเป็นการรำแบบโบราณที่หาดูได้ยากอีกแบบพิธีกรรมหนึ่ง นอกจากการรำคล้องหงส์ แทงเข้ รำปักหลักช้าง

หุ่นต้นแบบพระยาหงส์เหมราช ตาพรานจัน จึงเป็นที่มาของ พรานจัน ฟันหัวควาย ซึ่งควายที่นำมาใช้ในพิธีจะเป็นหนังควายนำมาทำเป็นโครงรูปตัวควายเท่านั่น ยกเว้นบางสายที่ฟันควายเป็นๆ แต่สายของตาพรานจัน ควายจะต้องตายก่อนแล้วเอาหนังมาเข้าพิธีเพื่อดำเนินพิธีการรำฟันหัวควาย

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Website -  www.komchadluek.net
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek