สวัสดิกะ เครื่องหมาย แห่งความ รุ่งเรือง และ ชัยชนะ ความเชื่อ ทาง ศาสนา
เปิดข้อมูลความรู้ ด้าน ความเชื่อ สวัสดิกะ สัญลักษณะ แห่ง ความสำเร็จ ชัยชนะ รุ่งเรือง เทียบเท่า เครื่องหมาย โอม มอญเชื่อ เป็นสัญลักษณ์แห่ง พระโพธิสัตว์ เกจิดัง นำมาทำ วัตถุมงคล
สวัสดิกะ ดูจะเป็นเครื่องหมาย ที่สร้างความอึดอัด ความน่าหวาดหวั่น โดยเฉพาะกับผู้คนในโซนยุโรป รวมถึงชาวต่างชาติอีกจำนวนไม่น้อย เพราะครั้งหนี่ง สัญลักษณ์นี้ เคยเป็น เครื่องหมาย แห่งความน่าสะพรึงกลัว ของ กองทัพและรัฐนาซี ที่นำโดย อดอฟ ฮิตเลอร์ ในยุค สงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในแง่มุมที่ดูเหมือนจะตรงกันข้ามกับความหมายที่สังคมโลก เข้าใจ สวัสดิกะ เป็นหนึ่งในเครื่องหมายของศาสนา และ ความเชื่อ เป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองและรุ่งโรจน์ ภาพที่เห็นได้ใกล้ตา ใกล้ตัว ในไม่กี่วันที่ผ่านมา นั่นคือ การสร้างสัญลักษณ์ สวัสดิกะ ตามหน้าบ้านของชาวอินเดีย พร้อมกับจุดประทีปหรือเทียน รวมทั้งตะเกียงเล็กๆ เพื่อเฉลิมฉลอง วันดีปาลี วันมหาลักษมีบูชา ซึ่งเป็นทั้งวันแห่งแสงสว่าง ทางความเชื่อ และ วันขึ้นปีใหม่
ความเชื่อเกี่ยวกับ สวัสดิกะ นั้น มีมานับพันปี เห็นจะได้ เครื่องหมาย สวัสดิกะ ได้ปรากฏในงานศิลปะมาหลายยุคสมัย โดยเฉพาะในสิ่งปลูกสร้างทางศาสนาฮินดู ศาสนาเชน แม้แต่ศาสนาพุทธ หลายๆประเทศในแถบเอเชีย กรีก ยุโรป และอเมริกันพื้นเมือง จะใช้เครื่องหมาย สวัสดิกะ เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสาร โดยเฉพาะการใช้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาและเทพเจ้า
ในภาพเขียนพระพิฆเนศ ของอินเดียส่วนใหญ่ จะมีเครื่องหมาย สวัสดิกะ วาดไว้ให้อยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพเขียนนั้นๆ เช่น กลางหน้าผาก บริเวณงวง ฝ่าพระหัตถ์ หรือปรากฏในส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่บนพระวรกายของพระพิฆเณศ เช่น บนหนังสือ ฝาผนัง ที่ประทับนั่ง เป็นต้น เมื่อชาวฮินดูพบเห็นสัญลักษณ์ สวัสดิกะ นี้ ก็จะให้ความเคารพ เฉกเช่นเดียวกับ เครื่องหมายโอมความหมายของ สวัสดิกะ ในแรกเริ่มนั้น จะถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงาม ความอุดมสมบูรณ์ เป็นเครื่องหมายแทนตัวของเทพเจ้า
ใน ความเชื่อ ของชนชาติมอญ นั้น สวัสดิกะ ถือยกให้เป็นเครื่องหมายชัยชนะแห่งพระโพธิญาณ ซึ่งเป็นเรื่องราวของสายพระโพธิสัตว์ ในกลุ่มชาติพันธุ์มอญ มีตำนานของ เจ้าสัจจะยามิน หนึ่งในมหาคุรุสำคัญ แห่งบรมครูทั้งสิบ ที่สำเร็จวิชา เหนือฟ้า เหนือสรรพสิ่ง อย่าง ตำนาน เจ้าสัจจะยามิน
มีการบันทึก เล่าขาน กันต่อมาว่า จะปรากฏสัญลักษณ์ สวัสดิกะ อยู่บนฝ่ามือ เรื่องนี้สืบตำนานมาว่า พระโพธิสัตว์ลงมาเกิดสร้างบารมีเมื่อเกิดมาก็มีรอย สวัสดิกะ ปรากฏในฝ่ามือ ทั้งเทวดาก็ลงมาเอาโอสถทิพย์วางไว้ในฝ่ามือของพระโพธิสัตว์อีกด้วย
ต่อมาเมื่อเกิดประเพณีการสักยันต์ส่วยหยิ่นจ่อ จึงมีการสัก สวัสดิกะ ด้วยหมึกสีแดงลงบนฝ่ามือของผู้ที่อยู่ในสาย โดยผู้ผ่านการสักรูป สวัสดิกะ แล้วจะสามารถใช้ฝ่ามือรักษาปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บให้ผู้อื่นได้
ส่วนในไทย ความเชื่อ เกี่ยวกับ สวัสดิกะ นั้น จะออกมาผ่านรูปแบบของ วัตถุมงคล เป็นสำคัญ เช่น หลวงพ่อโอภาสี และ บรมครูเขาสาลิกา ที่ท่านทั้งสองรูปนั้น ได้ใช้สัญลักษณ์ สวัสดิกะเป็นเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ เปรียบได้กับการประกาศความเป็นพระโพธิสัตว์ผู้มุ่งสู่สัมมาสัมโพธิญาณอย่างเที่ยงแท้ไม่แปรผัน นำมาจัดสร้าง วัตถุมงคล เพื่อเป็นการใช้สัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ ให้บังเกิดมงคลแก่ผู้นำวัตถุมงคลไปใช้ รวมทั้ง ยังมีการพบว่า เกจิอาจารย์หลายรูป ก็ได้สร้าง วัตถุมงคล มีสัญลักษณ์ สวัสดิกะ เช่นกัน ยกตัวอย่าง หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ เมืองกรุงเก่า อยุธยา
ได้จัดสร้างเหรียญ วัตถุมงคลขึ้น ในช่วงปี 2527 ก็ได้มีการบรรจุ สวัสดิกะ ไว้ด้านหลังเหรียญ ที่จัดสร้างในคราวนั้น ทุกเหรียญ
นอกจากนี้ รูป สวัสดิกะ หรือ จักร ที่จะมีอยู่บนสรีระร่างกายของบุคคลผู้ใดได้นั้น เป็นเครื่องแสดงให้เห็นครับว่าผู้นั้นได้อบรมบุญวาสนาในทางพระโพธิญาณมาหลายภพชาติ จนเกิดเครื่องหมายของมหาบุรุษบางประการขึ้นเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าผู้นี้จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในภายภาคหน้า
เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Website - www.komchadluek.net
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek