เหรียญดีน่าสะสม พระเครื่อง ใน พิธีจตุรพิธพรชัย ปี 2518
ของดีที่ควรสะสม สำหรับผู้นิยม พระเครื่อง กับ วัตถุมงคล ใน พิธีจตุรพิธพรชัย ปี 2518 เกจิดังแห่งยุค เช่น หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อกวย หลวงพ่อถิรหลวงปู่หน่าย ร่วมเสก ลองยิงหลังอธิษฐานจิต กระสุนไม่ออก
เมื่อเร็วนี้ๆ มีประเด็นที่แชร์กันในโลกออนไลน์ ว่า มีหนุ่มคนหนึ่งที่มีความสนใจในการส่องพระเครื่อง ได้ไปจับพระเครื่อง ชนิดเหรียญมาหนึ่งองค์ ซึ่งมีการรระบุในข้อมูลว่า เป็นพระของ หลวงพ่อกวย ชุตินธโร วัดโฆสิตาราม ที่เช่ามาในราคา 400 บาท แล้วนำไปปล่อยให้คนเช่าต่อได้ในราคา 1000 บาท
ความน่าสนใจที่แท้จริง ไม่ได้อยู่ที่ว่า มีการเช่าพระเครื่อง ได้ราคาที่เพิ่มขึ้น แต่ความน่าสนใจ เครื่องตัวเหรียญวัตถุมงคล ซึ่งเป็นหนึ่งในชุดวัตถุมงคล ที่เรียกได้ว่า เป็นหนึ่งในพิธีที่ยิ่งใหญ่ในอดีต และเหรียญที่ไปปล่อยได้มา 1000 บาท เป็น หนึ่งในเก้าเหรียญ ของชุดพระเหรียญรูปเหมือน เกจิอาจารย์รูปสำคัญที่เข้มขลังด้วยวิชาอาคม และพลังจิตอันเกินจะบรรยาย
พิธีสำคัญนั่น เรียกว่า พิธีจตุรพิธพรชัย ปี 2518
จากการข้อมูลที่ดูจะเลือนรลางไปตามกาลเวลา แต่ยังจับเค้าให้เล่าบอกกันต่อไปได้นั้น ระบุไว้ว่า จุดเริ่มต้น พิธีสำคัญนี้ เกิดจาก ข้าราชการวัยใกล้เกษียณอายุราชการนามว่า นายเรียน นุ่มดี ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนรนั้น ยังมีดีกรีเป็น ลูกศิษย์ใกล้ชิดของ หลวงปู่ดู่ วัดสะแก ด้วย และหลังจากเกษียณอายุราชการจะกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านเกิด อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบึรี และมีจิตประสงค์ ต้องการจะบูรณะวัดใกล้บ้าน ที่ชื่อว่า วัดเขาใหญ่ เพราะว่าขาดการซ่อมแซมบูรณะมานาน นายเรียนจึง ได้กราบขอคำปรึกษากับ หลวงปู่ดู่ และท่านได้ชี้แนะว่า ควรจะสร้างวัตถุมงคลขึ้น เพื่อหารายได้ปัจจัย เมื่อการปรึกษาหารือนั้นเสร็จสิ้นลง จึงเป็นที่มาของการกำหนดการ จัดพิธีมหาพุทธาภิเษก และได้ใช้สถานที่ของวัดรัตนชัย (วัดจีน) อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพื้นที่ประกอบพิธี ฤกษ์ยามกำนดไว้ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2518
โดยกำหนดการงานมงคลครั้งนั้น มีรายละเอียดระบุข้อมูลไว้ว่า
เวลา 15.09 น. โหรประกอบพิธีบูชาฤกษ์
เวลา 16.03 น. – 16.21 น. มหามงคลฤกษ์ ประกอบพิธีจุดเทียนชัย
เวลา 16.30 น. พระสงฆ์เถระ 9 รูปเจริญพระพุทธมนต์ในพิธี ( ในพระอุโบสถวัดรัตนชัย)
เวลา 19.09 น. พระพิธีธรรม 4 รูปเจริญพระคาถาพุทธาภิเษก พระคณาจารย์ 16 รูป เข้าประจำอาสนะปรก
ในพิธีนี้ ได้มีการนิมนต์พระเกจิอาจารย์พิธีมีทั้งหมด 16 รูปคือ
1. พระครูสังวรวิมล (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี อ.บางกอกใหญ่ จ.กรุงเทพฯ
2. พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
3. พระรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเรไรย์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
4. พระโบราณคณิสสร (หลวงพ่อใหญ่) วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
5. พระครูประสาทวรคุณ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู อ.เมือง จ.ลพบุรี
6. พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดบ้านช้าง อ.วังน้อย จ.อยุธยา
7. พระครูกัลยานุกูล (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร อ.ธนบุรี จ.กรุงเทพฯ
8. หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
9. พระครูอดุลวรวิทย์ (หลวงพ่อไวทย์) วัดบางซ้าย อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา
10. หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
11. พระราชสุวรรณโสภณ วัดพนัญเชิง อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
12. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี
13. พระครูสังฆรักษ์ (หลวงพ่อเฉลิม) วัดพระญาติการาม อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
14. พระครูภัทรกิจโกศล (หลวงพ่อหวล) วัดพุทไธสวรรค์ อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
15. หลวงพ่อโปร่ง วัดขุนทิพย์ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
16. หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ (ศิษย์ก้นกุฎิของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค มาในนามของท่าน)
ในส่วนวัตถุมงคล ที่จัดสร้างขึ้นในพิธีนี้ ประกอบด้วย
1.เหรียญ 9 พระอาจารย์ – จัดสร้าง 5,599 เหรียญ แบ่งออกเป็นอีกสองเนื้อคือ เนื้อเงิน (มีเพียงบางพระอาจารย์เท่านั้น) และเนื้อทองแดง มีทั้งแบบที่บรรจุในกล่องกำมะหยี่และที่ออกให้บูชาแบบเดี่ยว ๆ ที่นิยมเรียกว่า “เหรียญ 9 พระอาจารย์” นั้นเพราะว่าทางคณะกรรมการจัดทำเป็นเหรียญรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ที่ด้านหน้า และประทับยันต์ครูของท่านที่ด้านหลัง รวม 9 แบบ คือ หลวงพ่อนอ วัดกลาง หลวงพ่อถิร วัดป่าเรไรย์ หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค
หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู หลวงพ่อออด วัดบ้านช้าง หลวงพ่อไวทย์ วัดบางซ้าย หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม โดยเมื่อปั๊มเหรียญเสร็จจากโรงงาน คณะกรรมการได้นำเหรียญของแต่ละพระอาจารย์ไปมอบให้ที่วัดเพื่อให้ท่านปลุกเสกเหรียญของท่านล่วงหน้า 1 เดือนก่อนพิธีพุทธาภิเษกใหญ่
2.พระสมเด็จ 9 ชั้น – จัดสร้างเป็นเนื้อผงแก่น้ำมัน จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุ ตามประวัติกล่าวว่าพระชุดนี้หลวงปู่ดู่ท่านตั้งใจออกแบบพิมพ์และมวลสาร เพื่อถวายให้หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาคเป็นกรณีพิเศษ โดยด้านหน้าจะล้อพิมพ์พระสมเด็จวัดไชโย ด้านหลังเป็นยันต์ครูของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค และมีคำว่า “วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี” ประทับอยู่ใต้ยันต์ครู โดยหลวงปู่ดู่ท่านได้มอบผงมหาจักรพรรดิ์จำนวนหนึ่งไปผสมเป็นมวลสาร จากนั้นนายเรียนจึงนำเรื่องนี้ได้กราบเรียนหลวงปู่สีทราบ ซึ่งท่านก็อนุโมทนาและอนุญาตตามนั้นและได้มอบผงวิเศษของท่านมาอีกจำนวนหนึ่ง สุดท้ายหลังจากได้มวลสารและกดพิมพ์เป็นองค์พระเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ดู่ท่านได้บอกให้นายเรียนนำพระสมเด็จชุดนี้กลับไปให้หลวงปุ่สีท่านปลุกเสกเป็นปฐม ซึ่งหลวงปู่ท่านก็เมตตาปลุกเสกให้เป็นกรณีพิเศษ 1 เดือน (เป็นพระอีกชุดหนึ่งของสายนี้ที่ปลุกเสกนานมาก) เสร็จแล้วจึงให้นายเรียนมารับกลับไปเพื่อรอเข้าพิธีพุทธาภิเษกใหญ่
3.พระแก้ว 3 ฤดู – จัดสร้างเป็นเนื้อผงและมีการลงสีเขียวที่พระวรกาย ปิดทองที่เครื่องทรง เฉกเช่นเดียวกับพระแก้วมรกตที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.กรุงเทพฯ จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุไว้ มีทั้งแบบบรรจุกล่อง (ครบ 3 ฤดู) และที่ออกให้บูชาแบบเดี่ยว ๆ ด้านหน้าเป็นรูปพระแก้วมรกตทรงเครื่องตามฤดู (ร้อน / ฝน / หนาว) ด้านหลังประทับยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ (นะโมพุทธายะ) และมีคำว่า “วัดรัตนชัย (จีน) อยุธยา”
4. พระสามสมัย – จัดสร้างเป็นเนื้อผงโดยแบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ คือ เชียงแสน สุโขทัย อู่ท่อง ขนาดจะเล็กประมาณพระของขวัญ วัดปากน้ำ จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุไว้ ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธรูปและที่ใต้พระพุทธรูปจะมีคำอธิบายศิลปะของพระพุทธรูปไว้ด้วย คือ เชียงแสน หรือ สุโขทัย หรือ อู่ทอง ด้านหลังประทับยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ (นะโมพุทธายะ) และมีคำว่า “วัดเขาใหญ่ สุพรรณบุรี”
ส่วนเรื่องราวความน่าตื่นเต้น ที่มีตำนานเล่าขานหลังเสร็จพิธี ได้มีการกล่าวเล่าต่อกันว่า เมื่อเสร็จงานปลุกเสก มีนักเลงคนหนึ่งกล่าวแบบท้าทายว่า “จะขลังแค่ไหน..” เข้าไปกราบเรียนครูบาอาจารย์ในพระอุโบสถว่า ควรจะทำอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ดี ซึ่งหลังจากมีการปรึกษาตัดสินใจกัน หลวงพ่อกวย ชุนตินธโร ท่านได้กล่าวขออาสา นำเหรียญที่เพิ่งได้ปลุกเสกเสร็จสิ้น นำออกไปให้ผู้ท้าทายนั้น ทดลองยิง ซึ่งได้ระบุว่า เป็นเหรียญรูปเหมือนของท่านเอง ปรากฎว่านักเลงคนหนึ่งขออาสาเป็นผู้ทดสอบ และได้นำเหรียญดังกล่าวไปยิงที่หลังพระอุโบสถ ปรากฎว่า “แชะ ๆ ๆ..” และได้นำเหรียญมาคืนหลวงพ่อกวยท่านพร้อมขอขมาท่าน พอชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวก็ประจักษ์ในพุทธคุณและเริ่มบอกปากต่อปากไปในวงกว้าง ส่วนหลวงพ่อกวยท่านจึงกลับเข้าไปในพระอุโบสถพร้อมกับกล่าวว่า “เรียบร้อย..”
ก่อนพระเกจิอาจารย์ทั้งหมดจะเดินทางกลับวัด ทางคณะกรรมการได้มอบวัตถุมงคลในพิธีนี้จำนวนหนึ่งให้แก่พระเกจิอาจารย์ทุกรูป เพื่อให้ท่านนำกลับไปแจกลูกศิษย์ลูกหาที่วัด ทำให้วัตถุมงคลในพิธีนี้กระจายในหลายพื้นที่