7 สุดยอด พระเกจิอาจารย์ แห่งลุ่มน้ำแม่กลอง
ทำความรู้จักกับประวัติ พระเกจิอาจารย์ จำนวน 7 ครูบาอาจารย์รูปสำคัญ ของ กาญจนบุรี ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เรื่องราวตำนานความเข้มขลังถึงปัจจุบัน
กาญจนบุรี ดินแดนที่มากด้วยเรื่องราว ทั้งประวัติศาสตร์ และ ครูบาอาจารย์ เรื่องราวต่าง ๆ เล่าขานในหมู่นักสะสมพระเครื่อง ผู้สนใจเวทวิทยาคม สายวิชาอาคม เป็นสิ่งที่ส่งทอด เกี่ยวข้องจนยากที่จะจำแนกแยกออก ในสายวิชาต่างๆ หรือ ความรู้ที่นำไปเผยแพร่ เมื่อวิเคราะห์ดูในจังหวัดนี้ มีครูอาจารย์รูปสำคัญที่เป็นระดับ สุดยอด มีจำนวน 7 รูปที่น่าสนใจ
หลวงปู่ยิ้ม จนทโชติ วัดหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
หลวงปู่ยิ้ม จนฺทโชติ (2387-2453) วัดหนองบัว พระเถราจารย์แห่งจังหวัดกาญจนบุรี อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ท่านได้เป็นอาจารย์สอนด้านวิปัสสนาและคาถาอาคมให้แก่พระหลายรูป อาทิ พระโสภณสมาจารย์ (เหรียญ) วัดศรีอุปลาราม, พระเทพมงคลรังษี (ดี) วัดเทวสังฆาราม, พระกาญจนวัตรวิบูลย์ (สอน) วัดทุ่งลาดหญ้า, พระโสภณสมณกิจ (หัง) วัดเหนือ, พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ และหนึ่งในศิษย์ฆราวาสคนสำคัญของท่าน คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
ครั้นได้อายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดทุ่งสมอ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี โดยมี พระอาจารย์กลีบ วัดหนองบัว เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แดง วัดเหนือ และพระอาจารย์อินทร์ วัดทุ่งสมอ เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า จนฺทโชติ เมื่อบวชเรียนแล้วเรียนอักษรขอม ภาษาบาลี มงคลทีปนี มูลกัจจายน์ พระมาลัย พระเจ้า 10 ชาติ ท่องสูตรสนธิจนช่ำชอง สามารถท่องจำพระปาฏิโมกข์สวดได้แต่พรรษาที่ 2 ด้วยท่านชอบวิชาความรู้ จึงได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์แดงพระคู่สวดว่า เมืองบางช้าง หรือ สมุทรสงคราม มีพระอาจารย์เก่ง ๆ หลายวัด วิชาแขนงต่าง ๆ ไม่ซ้ำกัน ท่านจึงได้มุ่งมาทางเมืองบางช้าง ซึ่งท่านมีความคุ้นเคยอยู่ตั้งแต่สมัยที่ติดตามครอบครัวล่องแพไม้ไผ่ไปขาย
วัดแรกที่ท่านเข้าไปศึกษา คือ วัดบางนางลี่น้อย อำเภออัมพวา มีพระปลัดทิม อุปัชฌาย์เก่าแก่ของวัด เรียนทางน้ำมนต์โภคทรัพย์ ยุคนั้นเชื่อว่าใครได้อาบน้ำมนต์วัดนี้ คนจนก็จะรวย ถ้าเป็นขุนนางก็จะได้เลื่อนยศถาบรรดาศักดิ์ พระปลัดทิมมีวิชาทำผงทางเมตตามหานิยม และวิชาโหราศาสตร์ ฤกษ์ล่าง ฤกษ์บนต่างๆ ปัจจุบันวัดนี้ได้ถูกน้ำเซาะตลิ่งจมหายไปในแม่น้ำแม่กลองแล้ว วัดต่อมาคือ วัดลิงโจน ต่อมาเรียกว่า วัดปากสมุทรสุดคงคา คืออยู่ปากอ่าวแม่กลอง กับพระพ่วง ท่านมีวิชาทำธงกันอสุนีบาตสายฟ้า และพายุคลื่นลม ชาวเรือทะเลนับถือมาก วิชาหวายลงอักขระของท่าน ทำเป็นรูปวงกลม ว่ากันว่าเวลาขาดน้ำจืด เอาหวายโยนลงทะเลแล้วตักน้ำ ภายในวงหวายจะได้น้ำจืดทันที ลูกอมหมากทุย ก็ลือชื่อ พระรูปนี้สำเร็จจินดามณีมนต์เรียกปลาเรียกเนื้อได้แบบพระสังข์ทอง อาจารย์ต่อมาคือ พระกลัด วัดบางพรม อัมพวา เรียนทางมหาอุด ผ้าเช็ดหน้าทาง มหานิยม เชือกคาดเอวถักเป็นรูปกระดูกงู กันเขี้ยวงาและทางคงกระพันชาตรี ท่านองค์นี้ย่นหนทางได้ ข้ามแม่น้ำลำคลองไม่ต้องใช้เรือแพ และ พระแจ้ง วัดประดู่ อัมพวา เรียนทางแพทย์แผนโบราณ มีดหมอปราบภูติผีปีศาจ ทางมหาประสาน เชือกคาดชื่อตะขาบไฟหรือไส้หนุมาน มีดตะกรุดคู่อยู่หัวเชือก จากนั้นท่านยังได้ไปศึกษาอยู่กับพระอาจารย์ในถ้ำพุพระ (ถ้ำขุนแผน)เมืองกาญจนบุรี พระอาจารย์องค์นี้มีอายุร้อยกว่าปี ชำนาญอภิญญามีอิทธิคุณถึงล่องหนหายตัวได้ ตามประวัติบันทึกของพระโสภณสมาจารย์กล่าวว่า "พระยิ้มชอบทางรุกขมูลธุดงค์วัตร ออกพรรษาแล้วเข้าป่าเจริญสมาธิในป่าลึก ท่านรู้จักภาษา นก กา สัตว์ป่าทุกชนิด จิตกล้าเข้าทุกที จะทำเครื่องรางชนิดใดก็ขลังไปทุกอย่าง"
พระครูสิงคิคุณธาดา (ม่วง จนทสโร) วัดบ้านทวน อำเภอบ้านทวน จังหวัดกาญจนบุรี
หลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน หรือ พระครูสิงคิคุณธาดา (ม่วง จันทสโร) วัดบ้านทวน อ าเภอบ้านทวน ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น อ าเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ถือเป็นพระเถระยุคเก่าที่เป็นที่เคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง วัตถุมงคลของท่านมีความศักดิ์สิทธิ์จะค่อนข้างที่จะหายาก จนมีค ากล่าวขวัญถึงวัตถุมงคลของหลวงพ่อว่า "ถ้าใครมีเหรียญของวัดบ้านทวน ใครจะมาก่อกวนก็ไม่ต้องกลัวอะไร"
หลวงพ่อม่วง เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น 3 ค่ า เดือน 3 ปี พ.ศ. 2378 ณ บ้านทวน จังหวัดกาญจนบุรี โยมบิดาชื่อ มั่น โยมมารดาชื่อ ใย มีพี่น้องด้วยกัน 3 คน พอหลวงพ่อม่วงมีอายุได้ 11 ปี โยมบิดาและโยมมารดา ได้น าหลวงพ่อม่วงไปฝากกับพระอธิการศรี เจ้าอาวาสวัดบ้านทวนในสมัยนั้น ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ใกล้บ้าน เพื่อให้หลวงพ่อม่วงได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยและและหนังสือขอม ตามแบบ อย่างโบราณ
หลวงพ่อม่วง มีอายุได้ 21 ปี จึงเข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบ้านทวน โดยมีพระอธิการศรี เป็นพระอุปัชฌายะ พระอาจารย์ช้าง วัดบ้านทวน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า"จันทสโร"
หลังจากที่หลวงพ่อม่วงได้บวชแล้ว ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย จนท่องบทสวดมนต์ และพระปาฏิโมกข์ได้อย่างแม่นย า นอกจากเรียนพระปริยัติธรรมแล้ว ท่านยังชอบเรียนวิชากรรมฐานสมถะ วิปัสสนาธุระ และฝึกพลังจิต นอกจากนี้หลวงพ่อม่วง ท่านยังได้เดินรุกขมูลธุดงค์ในป่าลึก เพื่อฝึกฝนตนเองตามแบบอย่างพระในสมัยโบราณ สมัยก่อนการเดินทางทุรกันดารจริงๆไม่เจริญเหมือนทุกวันนี้ และอาณาเขตเมืองกาญจนบุรีติดต่อกับประเทศพม่า การเดินธุดงค์ก็นิยมไปนมัสการเจดีย์ชเวดากองเมืองย่างกุ้งพระมุเตาเมืองหงสาวดี และหลวงพ่อม่วง ท่านก็ธุดงค์ไปถึงพม่า จึงนับว่าท่านมีความอดทนต่อความยากลำบากด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง
พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน อินทสโร) วัดไชยชุมพลชนะสงคราม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
พระวิสุทธิรังษี (หลวงปู่เปลี่ยน อินทสโร) เจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) จังหวัดกาญจนบุรี หรือเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า หลวงพ่อวัดใต้หรือหลวงปู่วัดใต้ เป็นศิษย์ของท่านพระครูวิสุทธิรังษี (ช้าง) เจ้าอาวาสและเจ้าคณะเมืองกาญจน์ในสมัยนั้น
สำหรับเครื่องราง ของขลังของท่านที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ตะกรุดลูกอม ทำมาจากเงินและทองแดง มีฤทธิ์และมหาอุดเรื่องเมตตาเป็นพื้นเดิมอยู่แล้ว กระดาษว่าวลงอักขระม้วนถักแบบหมอน ทารักปิดทองใช้ทางเมตตาและแคล้วคลาด เมื่อ พ.ศ. 2472หลวงพ่อเปลี่ยนได้แจกเหรียญรูปอามมีรูปท่านนั่งเต็มองค์บนตั่งด้านหลังมีอักขระยันต์อริยสัจ 4 คือ ทุ สะ นิ มะ อยู่ในวงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด แปลว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค หนังสือไทยในเหรียญด้านหน้าเขียนว่า "พระวิสุทธิรังษี วัดไชยชุมพร การบุรีพ.ศ. ๒๔๗๒" ตอนนั้นอายุของหลวงพ่อ 67 ปี มีคนนิยมมากมีประสบการณ์มามากเรื่องปืน มีด แล้วรับรองทีเดียว เพราะหลวงพ่อเป็นนักเลงเก่า ชอบทางคงกระพันชาตรีอยู่แล้ว เรื่องเมตตาในคาถาก็แสดงอยู่แล้วว่ามีทัง มรรคผล พร้อม พอหลวงพ่ออายุ 74 ปี ก็มีการฉลองหลวงพ่อโดยคณะศิษย์จัดขึ้น เป็นงานใหญ่มาก เจ้าใหญ่นายโตทางกรุงเทพฯออกไปในงานมากมายเช่น พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยก็เป็นศิษย์ของท่าน มีความเคารพนับถือหลวงพ่อเป็นอย่างมาก จึงได้เครื่องรางของหลวงพ่อไว้ครบ เสื้อยันต์ (ลงยันต์โดยพระพิลาปป่า มีกำลังมหาศาล อิทธิฤทธิ์มาก) นอกจากนี้ยังมีผ้าประเจียด ลงชานหมาก ตะกรุด ลูกอม หมอนธง มหารูด หนังหน้าผากเสือ เป็นต้น
พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธโชติ) วัดเทวสังฆาราม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
หลวงปู่ดี พุทธโชติ วัดเทวสังฆาราม ศิษย์ผู้สืบทอดวิชาจากหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว และหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ ท่านโดดเด่นทางด้านเมตตามหานิยมดังมีคำขวัญของชาวเมืองกาญจน์ว่า ถ้าเจ้าชู้ต้องวัดเหนือ ถ้าเป็นอ้ายเสือต้องวัดใต้ วัดเหนือก็หมายถึงหลวงปู่ดี วัดเหนือนั่นเอง
พระครูยติวัตรวิบูล (พรต จนทโสภะ) วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
พระครูยติวัตรวิบูล หรือหลวงพ่อพรต จนฺทโสภะ อัตโนประวัติบันทึกไว้ว่า เป็นคนกรุงเทพมหานคร เกิดเมื่อปี พ.ศ.2421ได้ศึกษาร่ำเรียนจากโรงเรียนทหารบก เมื่อศึกษาสำเร็จแล้วได้รับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้ร่วมทัพในการปราบฮ่อ กลับมาได้รับพระราชทานยศเป็นร้อยโท
เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2441ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ปีระกา เวลา 14.25 น. ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพมหานคร มีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระกัลยาณุคุณ (กล้ำ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระธรรมเจดีย์ (อุ่ม) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า จนฺทโสภะ จำพรรษาที่วัดมหาพฤฒารามศึกษาวิชาทั้งพระธรรมวินัย และวิปัสสนากรรมฐานจนมีความรู้ความชำนาญแล้ว จึงได้ออกธุดงค์กระทั่งมาถึงวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เห็นว่าเป็นสถานที่สงบ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุงในสมัยหลวงพ่อฉาว เป็นเจ้าอาวาส และได้ฝากตัวเป็ฯศิษย์ นอกจากนี้ หลวงพ่อพรตยังได้ฝากตัวเป็นศิษย์พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน อินฺทสโร) แห่งวัดไชยชุมพลชนะสงคราม ศึกษาวิชาร่วมกับหลวงพ่อดี วัดเทวสังฆราม หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม หลวงพ่อโต วัดคู้บางขันแตก หลวงพ่อก้าน วัดใต้ และหลวงพ่อปิ๋ว วัดหวายเหนียว ต่อเมื่อหลวงพ่อฉาวมรณภาพ หลวงพ่อพรตได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสืบต่อ
พระครูโสภณประชานารถ (นาถ นาคเสโน) วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง อำเภอท่างม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
หลวงพ่อนารถ เกิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2444 ที่บ้านหมู่ 1 ตำบลหุน้ำส้ม อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
เป็นบุตรนายพิมพ์ เพิ่มบุญ และนางสมบุญ เพิ่มบุญ ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนศรีสวัสดิ์ พออ่านออกเขียนได้ก็ต้องออกมาช่วยบิดามารดาทำนา จนเมื่ออายุได้ 29 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2473
มีพระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน) วัดไชยชุมพลชนะสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูยติวัตรวิบูล (พรต) วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดจู วัดไชยชุมพลชนะสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
จากนั้นได้จำพรรษาอยู่ศึกษาวิชากับหลวงพ่อพรต วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง สามารถสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในปี พ.ศ.2485 สอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ.ศ.2486 และสอบนักธรรมเอกได้ในปี พ.ศ.2488
นอกจากนั้นยังได้ศึกษาวิชาจาก "อาจารย์" อีกหลายท่าน หลายวิชา คือ
ศึกษาวิชากับหลวงพ่อเปลี่ยน วัดไชยชุมพลชนะสงคราม ในด้านวิปัสสนากรรมฐาน และไปศึกษาเพิ่มเติมจากหลวงพ่อนาก วัดท่าน้ำตื้น และยังได้มีโอกาสพบหลวงพ่อสด แห่งวัดปากน้ำ ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อสดถึง 2 ครั้ง 2 ครา
ศึกษาวิชาในทางแก้คุณไสยจากคุณแม่มูล และจากนายคำ สุขอุดม ศึกษาวิชาคงกระพัน และแก้คุณไสย จากนายขัน ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณจากนายหมุน ศึกษาตำรายาเกี่ยวกับโรคไตจากนางเลียบ
กล่าวในด้านหน้าที่ด้านสงฆ์ และสมณศักดิ์ของหลวงพ่อนารถ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง เมื่อปี พ.ศ.2494 จากนั้นในปี พ.ศ.2498 ได้รับแต่งตั้งให้เป็น "พระอุปัชฌาย์" เป็น "พระครูชั้นประทวน" เมื่อปี พ.ศ.2507
เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นตรีที่ "พระครูโสภณประชานารถ เมื่อปี พ.ศ.2511 และได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นที่ในนามสมณศักดิ์เดิม เมื่อปี พ.ศ.2515
พระโสภณสมาจารย์ (เหรียญ สุวณณโชติ) วัดหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
พระโสภณสมาจาร (เหรียญ สุวฺณณโชติ) หลวงพ่อเหรียญ เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม (หนองบัว) องค์ต่อจากหลวงปู่ยิ้ม หลวงพ่อเหรียญเป็นภิกษุที่มีบทบาทสำคัญทางด้านพระพุทธศาสนาและการสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ท้องถิ่นมากองค์หนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี
พระโสภณสมาจาร มีนามเดิมว่า เหรียญ รัสสุวรรณ ท่านเป็นบุตรนายโฝ นางแย้ม รัสสุวรรณ หลวงพ่อเหรียญเกิด ณ บ้านหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อแรม 7 ค่ำ เดือนยี่
ปีชวด ตรงกับวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2419 ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และท่านมีอายุยาวนานถึง 5 รัชกาล และมรณภาพเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2503 ขณะที่มีอายุ 84 ปี
ปี พ.ศ.2440 หลวงพ่อเหรียญ เข้าอุปสมบทที่วัดศรีอุปลาราม(วัดหนองบัว) และจำพรรษาจนสิ้นอายุขัย ณ วัดแห่งนี้ ท่านได้เข้าอุปสมบท เมื่ออายุย่างเข้า 22 ปี ณ พัทธสีมาวัดศรีอุปลาราม(วัดหนองบัว) เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2440 เวลา 10.30 น หลวงปู่ยิ้มเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสิงคิบูรณคณาจารย์ (คง ทองสุด) วัดเทวสังฆารามเป็นพระกรรมวาจารย์ พระอาจารย์อยู่ วัดศรีอุปลาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงพ่อหรียญเป็นผู้ที่มีความสนใจในการศึกษาอย่างแท้จริง ท่านมีความรู้จากการศึกษากับหลวงปู่ยิ้ม ทั้งทางด้านภาษาไทย ภาษาขอม วิชาไสยศาสตร์ และแพทย์แผนโบราณ หลวงพ่อเหรียญเป็นผู้ที่มีความรู้ในด้านต่างๆ
หลวงพ่อเหรียญ ได้รับการถ่ายทอดการสร้างวัตถุมงคลจากหลวงปู่ยิ้ม เพราะท่านได้เคยช่วยหลวงปู่ยิ้มลงตะกรุด ลงยันต์ ทำเลขยันต์ ปลุกเศกทำน้ำมนต์ และหลวงปู่ยิ้มยังได้มอบตำราทุกอย่างแก่ท่านอีกด้วย การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อเหรียญสร้างเมื่อท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม และในปี พ.ศ.2497 เมื่ออายุท่านได้ 78 ปี วัตถุมงคลเหล่านั้นได้มาจากการสะสมสิ่งที่ผสม กินเวลาถึง 3 ปี และได้จักทำพิธีปลุกเศก เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือนยี่ ที่เป็นวันเกิดของท่านพอดี วัตถุมงคลที่หลวงพ่อเหรียญสร้างในปี พ.ศ.2497นั้นส่วนหนึ่งได้บรรจุกระดูกหลวงปู่ยิ้มและหลวงพ่อวัดใต้ไว้ด้วย นอกจากท่านจะทำพิธีปลุกเศกด้วยตัวเองแล้วท่านยังได้นิมนต์พระอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักต่างๆอีก รวม 108 รูป มาทำพิธีปลุกเศก และพุทธาภิเศก ณ วัดศรีอุปลาราม เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2497 โดยเริ่มทำพิธีตั้งแต่เวลา 17.00น และเสร็จพิธี เมื่อเวลา 13.00 น.ของวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2497 วัตถุมงมงคลที่สร้างในปี พ.ศ.2497 ประกอบก้วยพระผง 5 พิมพ์ คือ พระร่วงประทานพร พระพุทธชินราช พระขุนแผน พระนางพญา พระสมเด็จ ลูกอมทอง เงิน นาค และทองแดง ตะกรุดทางเมตตาทอง เงิน นาค เชือกคาดเอว ธงค้าขาย สีผึ้ง สิงห์งาช้าง ขันน้ำมนต์ล้างหน้า และพระเนื้อชินท่ากระดาน ว่ากันว่า วัตถุมงคลของหลวงพ่อเหรียญเป็นที่นิยมของประชาชนในท้องถิ่นทั้งในอดึตและปัจจุบัน โดยเฉพาะในวันแรกที่ท่านแจกปรากฎว่าผู้คนมากันแบบมืดฟ้ามัวดินขึ้นไปรอรับกันจนถึงขนาดชานกุฏิพังลงเลยทีเดียว