รวม บทสวดมนต์ข้ามปี เสริมสิริมงคล สวดเองได้ที่บ้าน
สวดเสริมสิริมงคลเองได้ที่บ้านของคุณ รวมบทสวดมนต์ข้ามปี ที่สำคัญ เชื่อกันว่า มีพุทธานุภาพ เป็นที่รักของเทวดา มนุษย์ ป้องกันสิ่งไม่ดี
ช่วงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่นี้ นอกจากการไปท่องเที่ยวพักผ่อน หลาย ๆคน เข้าวัดทำบุญเสริมสิริมงคล แต่ในขณะที่อีกหลายคน อาจจะกังวลเกี่ยวสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ที่แม้การฉีดวัคซีนจะได้รับการนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง แต่การรวมตัวกันของกลุ่มคนจำนวนมาก อาจจะสุ่มเสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัสโควิดได้ ดังนั้น จึงได้ขอรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ของวัดต่าง ๆ ที่ได้ให้ข้อมูลว่า บทสวดมนต์ที่จะแนะนำต่อไปนี้ เป็นพระคาถา ที่ควรจะนำมาเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อเป็นการเสริมสิริมงคลให้กับตนเองและครอบครัว
พุทธชัยมงคลคาถา พาหุงมหากาฯ คาถาแห่งชัยชนะ
พุทธชัยมงคลคาถา หรือบทสวดพาหุงมหากา เป็นบทสวดที่ชาวพุทธส่วนใหญ่รู้จักและนิยมสวดกันอย่างกว้างขวาง นำมาเผยแพร่โดย หลวงพ่อจรัญ หรือ พระธรรมสิงหบุราจารย์ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี บทสวดนี้มีปรากฏในคัมภีร์ชั้นฎีกา ชื่อฎีกาพาหุง เป็นบทสวดกล่าวสรรเสริญชัยชนะที่เป็นมงคลของพระพุทธเจ้า 8 ครั้ง คือ
1. ชนะพญามารและเสนามาร ด้วยพระบารมี 30 ทัศ มีทานบารมีเป็นต้น
2. ชนะอวฬวกยักษ์ ที่เหี้ยมหาญด้วยขันติธรรม
3. ชนะช้างตกมันที่เมามายวิ่งมาดุจไฟป่าด้วยเมตตาธรรม
4. ชนะจอมโจรองคุลิมาลด้วยการวางกุสโลบายด้วยฤทธิ์
5. ชนะหญิงที่ใส่ร้ายป้ายสี ด้วยความสงบนิ่ง
6. ชนะนักโต้วาทีฝีปากกล้าด้วยพระปัญญาที่ยอดเยี่ยม
7. ชนะนาคเกเรอันธพาลด้วยการส่งพระสาวกไปปราบ
8. ชนะพรหมที่มีความเห็นผิดด้วยญาณวิธี
บทสวดพาหุงมหากานี้ ในรัชสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดให้เขียนคาถานี้ไว้ในธงเฉลิมพลประจำกองทหารอาสา เพื่อสร้างขวัญกำลังแก่เหล่าทหารหาญที่ไปร่วมออกรบ หลวงพ่อจรัญได้เล่าจากนิมิตของท่านว่า คาถาพาหุงมหากานี้สมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้วแต่งขึ้นถวายแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งพระองค์ทรงภาวนาเป็นคาถาประจำพระองค์ ทั้งในยามปกติและยามออกรบ ทำให้พระองค์มีชัยเสมอมา
พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคลานิ.
มาราติเรกมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันติสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคลานิ.
กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคลานิ.
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคลานิ.
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคลานิ.
ทุคคาหะทิฏฐิพุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณะคะเทนะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคลานิ.
เอตาปิ พุทธะชัยมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ.
*เม แปลว่า แก่เรา สวดให้แก่ตัวเรา เต แปลว่า แก่ท่าน หมายถึงสวดให้ผู้อื่น
ชยปริตร บท มหากาฯ บทสวดขอให้บังเกิดชัยชนะและความสำเร็จในทุกกิจการงาน
มะหาการุณิโก นาโถ
หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรตวา ปาระมี สัพพา
ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เม ชะยะมังคะลัง.
ชะยันโต โพธิยา มูเล
สักยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง อะหัง วิชะโย โหมิ
ชะยามิ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก
สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง
อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ.
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง
สุขะโณ สุมุหุตโต จะ
สุยิฏฐัง พ๎รัห๎มะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง
วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง
ปะณิธีเต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตวานะ
ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ
สัพพะมงคลคาถา สวดเพื่อขอความสิริมงคล และความสวัสดี จากพระรัตนตรัยและเทวดา
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ
สะทา โสตถี ภะวันตุ เม.
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ
สะทา โสตถี ภะวันตุ เม.
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ
สะทา โสตถี ภะวันตุ เม.
รัตนสูตร พระคาถาแห่งการขจัดภัยพิบัติและโรคร้าย พบเจอแต่ความสงบสุข
รัตนสูตร หรือรัตนปริตร จัดเป็นหนึ่งในพระปริตร หรือพระคาถาพรรณนาอานุภาพของพระรัตนตรัย โดยได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในพระคาถาหลักของคัมภีร์จตุภาณะวารปาลี หรือตำรารวบรวมพระปริตรที่เป็นที่นิยมสวดสาธยายกันในศรีลังกา รวบรวมขึ้นในช่วงยุคกลางของประวัติศาสตร์พุทธศาสนา หรือในยุคที่พระพุทธศาสนากำลังรุ่งเรืองในลังกา นอกจากนี้ ยังมีอรรถกถาอธิบายพระปริตรนี้ในคัมภีร์ปรมัตถโชติกา อรรกถาขุททกนิกาย
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง
ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง
ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตาฯ
ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
อิทัมปิ พุเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง
ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต
นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง
สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา
จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุฯ
เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ
นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ
ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา
จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ
โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ
คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา
นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ
ตยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ
สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ
จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต
ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง
กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา
อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ
อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค
คิมหานะมาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห
ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร
อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง
วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง
เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา
นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุฯ
กรณียเมตตสูตร สวดแล้วเทวดารักษา ภูตผีปีศาจไม่รบกวน มีเสน่ห์เป็นที่รักของทั้งเทพ มนุษย์
กรณียเมตตสูตร บางครั้งเรียกว่า เมตตปริตร เนื่องจากใช้สวดเป็นพระปริตร เพื่อป้องกัน คุ้มครองภยันตรายต่าง ๆ รวมอยู่ในบทสวด 7 ตำนาน หรือจุลราชปริตร และบทสวด 12 ตำนาน หรือ มหาราชปริตร อีกทั้งยังจัดเป็นมหาปริตร หรือพระปริตรซึ่งมีความสำคัญยิ่งยวด อันประกอบด้วยมงคลสูตร รัตนสูตร และกรณียมเตตสูตร
เว็บไซต์มงคลชีวิตระบุว่า ครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ มีภิกษุหมู่หนึ่ง ประมาณ 500 รูป รับเรียนพระกรรมฐานในพุทธสำนัก แล้วทูลลาไปเจริญสมณธรรมในปัจจันตชนบทแห่งหนึ่ง เข้าพักอยู่ในป่าใหญ่
ในป่านั้นท่านว่ามีรุกขเทวดาสิงอยู่ พอพระเข้าพัก พวกเทวดาก็ต้องหนีไปอยู่ที่อื่น เพราะพระเป็นผู้ทรงศีล พวกเทวดาได้รับความลำบากมาก ต่างก็บ่นกันต่างๆ นานา เดิมก็คิดว่า พระคงจะพักสัก 2-3 คืน แต่พระท่านจะอยู่เจริญสมณธรรม พวกเทวดาปราถนาจะให้ท่านไปโดยอุบาย จึงแสดงภาพหลอกหลอนต่างๆ ส่งเสียงโหยหวนน่าหวาดเสียว ให้ไอ ให้จาม พระภิกษุเหล่านั้นใจไม่ปกติ หวาดกลัวอยู่ ทั้งไอ ทั้งจาม ก็พากันกลับมาเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลให้ทรงทราบ
พระพุทธองค์ทรงแนะให้ภิกษุเหล่านั้นเจริญเมตตา คือ สวดกรณียเมตตสูตรแล้ว ส่งพระเหล่านั้นกลับไปอีก คราวนี้ไปถึงก็เจริญกรณียเมตตสูตร พวกเทวดาได้ฟังพระสูตรนี้แล้วเกิดเมตตาจิต ขวนขวายเพื่อความสุขของพระภิกษุเหล่านั้น พระภิกษุเหล่านั้นได้สัปปายะ เจริญสมณธรรม บรรลุอรหัตเป็นพระอรหันต์ทั่วกัน
กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะสักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานีสันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติสันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธนะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุงสุขิโน วา เขมิโน โหตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสาทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิยา รัสสะกา อะณุกะถูลาทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเรภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตานะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิพยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะมาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเขเอวัมปิ สัพพะภุเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณังอุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตังติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธเอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ .